Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1564
Title: การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้สื่อยั่วยุของคนไทย : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Attitude and behaviour of using pornographic media on Thao people
Authors: เอื้อมพร คชการ
จงกล ตั้งอุตสาหะ
บุญเทียม เทพพิทักษ์ศักดิ์
เขมิกา ยามะรัต
Email: khemika.y@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
Subjects: สื่อลามกอนาจาร
ทัศนคติ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้สื่อยั่วยุของคนไทย เป็นการศึกษาเชิงพรรณา โดยใช้ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณเก็บจากการสำรวจโดยให้ประชากรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 452 รายเป็นผู้เขียนตอบแบบสอบถามด้วยตนเองระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2546 ข้อมูลเชิงคุณภาพศึกษาโดยการสนทนากลุ่มในประชากรชายหญิงจำนวน 4 กลุ่ม (ชาย 14 ราย หญิง 16 ราย) ระหว่างเดือนกันยายน 2546 วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อสื่อยั่วยุ พฤติกรรมการใช้สื่อยั่วยุและปัญหาของคนไทยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การศึกษาครั้งนี้มีขอบเขตศึกษาเฉพาะสื่อวิดีโอ/ซีดีโป๊ รูปโป๊ทางอินเตอร์เน็ตและสิ่งพิมพ์ยั่วยุอารมณ์ทางเพศ กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 452 ราย มีอายุเฉลี่ย 25 ปี และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 11.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา 59.8% และรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ 36.0% กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รู้จักสื่อยั่วยุ 89.8% และมีความเชื่อว่าคนทั่วไปดูสื่อยั่วยุเป็นเรื่องปกติ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากสื่อยั่วยุ คือ ความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษา ประโยชน์ของสื่อยั่วยุคือช่วยระบายความเครียด และช่วยในการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างก็ยังคิดว่าสื่อยั่วยุมีส่วนไม่ดีคือ ทำให้หมกมุ่นในเรื่องเพศ เสียการเรียน/การทำงานและเสียสุขภาพ ประสบการณ์ครั้งแรกที่ดูสื่อยั่วยุพบว่ามีอายุต่ำกว่า 9 ขวบ 1.2-3.0% โดยสื่อสิ่งพิมพ์ยั่วยุพบอัตราสูงกว่าสื่อชนิดอื่น สำหรับความถี่ในการดูสื่อยั่วยุ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่นาน ๆ ครั้ง ผลกระทบที่เกิดจากการดูสื่อยั่วยุส่วนใหญ่ตอบว่ายั่วยุอารมณ์ทางเพศ และมีบางรายที่อยากรู้อยากลองนำไปเลียนแบบ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ปรึกษาเพื่อน รองลงมา คือ หากิจกรรมอย่างอื่นทำและเลิกดูสื่อยั่วยุ
Other Abstract: The descriptive research's objective is to study the attitudes and behaviors of Thai people living in Bangkok and its metropolitans areas, using pornographic media. The research study uses both quantitative and qualitative data. As for the quantitative data collection, 452 Thai people are requested to fill, their personal information, in the questionnaires by themselves during July-August 2003. While the qualitative data are collected from 4 group discussions, i.e. 2 groups pf men (n=14) and 2 groups of women (n=16) conducted in September 2003. The study's scope focuses on the pornographic media that could be assessed through internet. The average age of 452 subjects is 25 years old, the standard deviation of which 11.3. The 59.8% and 36.0% of the 452 subjects are students and officials respectively. It finds that 89.8% of the 452 subjects have been acknowledged of the pornographic media. They believe that it is normal to all. What they learned from this kind of media is the sex education. Its advantage isfor relaxing tension and help self masturbation. However, they are of the opinions that if engrossed it would lead to their poor education results, having bad health and poor working performance. 12-3.0% of the 452 subjects accept that their first acknowledgement of the pornographic media is below the age of 9 years. Most of the pornographic media they met is that of printing media. However it is found that the subjects are not often using the pornographic media. They accept that seeing sexual media do arousing their desires, some of which are curious to imitate what they leave seen. If having sexual problems, most of them normally consult their friends. Or otherwise, they seek to do other activities instead and / or give up using the pornographic media.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1564
Type: Technical Report
Appears in Collections:Health - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chongkol(att).pdf6.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.