Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1565
Title: ความรู้และทัศนคติต่อการติดสารเสพย์ติด และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องของเด็ก และเยาวชนที่ต้องโทษ : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Knowledge and attitudes towards drug abuse and related antisocial behaviour of juvenile delinquents
Authors: วิภา ด่านธำรงกูล
อุษณีย์ พึ่งปาน
ศศิธร แจ่มถาวร
Email: Vipa.D@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
Subjects: ยาเสพติด--ไทย
การติดยาเสพติด--ไทย
ยาเสพติดกับเยาวชน--ไทย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงลักษณะสภาพความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อมทางสังคมและพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนที่ต้องคดีสารเสพย์ติดและคดีอื่น ๆ ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง จำนวนตัวอย่างที่ศึกษา 687 ราย เป็นชาย 564 ราย จากสถานฝึกอบรมชาย 4 แห่ง ได้แก่ บ้านเมตตา บ้านมุทิตา บ้านกรุณาและบ้านอุเบกขา และหญิง 1 แห่ง จากสถานฝึกอบรมบ้านปราณี จำนวน 123 ราย เป็นผู้ต้องโทษคดีสารฯ ร้อยละ 23 ที่เหลือเป็นคดีอื่น ๆ กลุ่มที่ศึกษาเป็นเด็กและเยาวชน อายุระหว่าง 8-24 ปี ร้อยละ 80 เป็นผู้ที่มีงานทำ บางส่วนหารายได้พิเศษจากการลักขโมยหรือขายสารฯ ก่อนถูกจับร้อยละ 16 กำลังศึกษาอยู่ ครึ่งหนึ่งของเด็กฯมาจากต่างจังหวัด ร้อยละ 22 อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด เด็กฯร้อยละ 40 รายงานว่าอาศัยอยู่กับพ่อและแม่ และร้อยละ 23 ของกลุ่มนี้รายงานว่า พ่อแม่เคยทะเลาะกันในช่วง 1 เดือนก่อนถูกจับ ร้อยละ 60 รายงานว่าพ่อดื่มสุราประจำ คนในครอบครัวร้อยละ 26 เคยต้องโทษ พบว่าเด็กฯหญิง มีความกลุ้มใจมากต่อการถูกดุว่ากล่าว ขณะที่เด็กฯชายจะกังวลเรื่องการทะเลาะวิวาทเป็นส่วนใหญ่ เด็กฯคดีสารฯ และคดีอื่นๆ เคยถูกจับมาก่อน ร้อยละ 50 และ 30 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการต้องโทษครั้งนี้ เด็กฯชายคดีสารฯ ถูกตัดสินลงโทษต่ำกว่า 1 ปี มากกว่าเด็กฯหญิง 2 เท่า ร้อยละ 66 และ 30 ทั้งนี้เนื่องจากครึ่งหนึ่งของเด็กฯหญิงต้องคดีขายสารฯ เด็กฯชายและหญิงดคีสารฯ ร้อยละ 5 และ 38 ไม่เคยใช้สารฯเลย ส่วนคดีอื่น ๆ ประมาณครึ่งหนึ่งเคยใช้สารฯ เด็กฯส่วนมากจะเริ่มจากสารที่หาได้ง่ายในสังคม เช่น สารระเหย ไปจนถึงสารชนิดที่มีฤทธิ์ร้ายแรงมากและหางายในกลุ่มผู้เสพ เช่น เฮโรอีน ชนิดที่นิยมใช้คือ สารระเหยและกัญชา อายุที่เริ่มใช้อยู่ระหว่าง 14-16 ปี สาเหตุหลักคืออยากทดลอง ผู้ที่เคยใช้มากกว่าร้อยละ 85 ไม่เคยรักษาเพื่อหยุดใช้สารฯ เด็กฯชายและหญิงรายงานว่าเคยอดเองเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ร้อยละ 27 และ 24 ตามลำดับ เด็กฯส่วนใหญ่รายงานว่าสารฯเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะทำให้เสียสุขภาพร่างกายและจิตใจ เด็กฯไม่เคยใช้สารฯจะรู้จักสารระเหยในอัตราสูงสุด รองลงมาได้แก่ กัญชา เด็กฯประมาณ 1 ใน 3 เคยดื่มสุรา สาเหตุของการดื่มครั้งแรกระหว่างชายและหญิงต่างกัน เด็กฯชายร้อยละ 5 รายงานว่าติดสุรา ประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กฯชายมีประสบการณ์ดื่มสุราก่อนใช้สารฯอย่างน้อย 1 ปี และ 1 ใน 3 ใช้ในช่วงอายุเดียวกัน พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ศึกษา เด็กฯทั้งชายและหญิงประมาณร้อยละ 60 รายงานว่าเคยมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 80 มีประสบการณ์ครั้งแรกเมื่ออายุ 14-16 ปี นอกจากนี้เด็กฯชาย หญิง ร้อยละ 77 และ 43 เคยมีคู่นอนมาแล้วมากกว่า 1 คน เด็กฯร้อยละ 8 รายงานว่าใช้ถุงยางทุกครั้งขณะมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้พบว่า กลุ่มที่เคยใช้สารฯ จะมีประสบการณ์ทางเพศในอัตราที่สูงกว่ากลุ่มไม่เคยใช้ 2 เท่าทั้งชายและหญิง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กชายอายุ 7-14 ปี มากกว่า 8 เท่า กล่าวโดยสรุปแล้วการที่เด็กฯกลุ่มนี้มีพฤติกรรมต่าง ๆ ก่อนวันอันสมควร เช่น พฤติกรรมทางเพศ และหรือมีพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาของสังคมโดยส่วนรวม เช่น พฤติกรรมการใช้สารฯ น่าจะมีสาเหตุจากปัจจัยหลายประการประกอบกันและจากข้อมูลที่ศึกษา บ่งว่าปัจจัยจากสภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อม น่าจะมีอิทธิพลค่อนข้างมากที่เอื้อให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ
Other Abstract: This study intends to describe the demographics, social environment and behaviour of the juvenile convicted from drug offense and other misdemeanor and resided in the rehabilitation homes of the Central Observation and Protection Centre. The sample included 564 boys in Metta, Muthita, Karuna and Ubekha Home and 123 girls in Pranee Home. Half of the samples were indicted on property crime, 23% from drug offense and the rest were from other crime. The sample group age ranged from 8-24 years. Eighty percents had occupation at home of arrest. Some were involved in illicit drug sale and/or theft/robbery. A small number, 16%, were students. About half were originally from provincial area and about 22% resides in Bangkok slum community. Less than half, 40%, still lived with both parent. However, about 23% of these reported frequent quarrel between parents. Regular drinking of liquor of father and conviction of family members were reported by 60% and 26% of the samples respectively. It is interesting that girl tendto report worry about reprimand from parent while boy tend towards worrying on parent quarrelling. Previous conviction was admitted by 50% of drug offenders and 30% of other convictions. Sentence for less than 1 year in prison was more common in boy, 66%, than girl, 30%. This was actually due to the prevailing offense on illicit drug sale among girls. Denying ever use addictive drugs was found in 5% of the boys and 38% of the girls drug offenders while about half of other crime admitted ever use. Those who reported ever use addictive drug apparently started using substance highly available, inhalant, first then proceed to try stronger substances such as ganja and heroin. Substances commonly used were inhalant and ganja. Age started using drug vary between 14-16 years. Curiosity was the most common reason for first use. User group frequently, 85%, had never received treatment for substance abuse. However, 27% and 24% of the boys and girls respectively reported frequent short self abstinence. Most of the group knew that addictive substance use is not right and deteriorating to physical and mentle health. Cases that reported no substance use commonly knew that inhalant was addictive and to a lesser extent ganja. One third of the samples had experience liquor drinking. Reason for first drinking was different between boys and girls. Liqour dependence was admitted by about 5% of the boys. Half of the boys that had drinking experience started one year before using addictive substance and about 1/3 started in the same age. About 60% of boys and girls reported having sexual relation. First experience occurred at age between 14-16 years. Among these, 77% and 43% of the boys and girls respectively had more than one partners. Only 8% of the cases reported using condom with every sexual relationship. Prevalence of sexual relationship among drug users of both sex was twice as much as those of none druguse. Most remarkable for male drug users age 7-14 years the prevalence was eight folds to none druguse. In conclusion, experience on sexual relation and substance abuse at an early age in this group apparently stem from multiple causes. This study indicates that causes from social environment probably form quite a strong conducive encouragement in inititating these behaviour.
Description: ข้อมูลทั่วไป : สภาพความเป็นอยู่และครอบครัว ; การศึกษาและพฤติกรรมในโรงเรียน ; สังคม สภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย -- ลักษณะการต้องโทษ -- การใช้สารเสพติด : ประสบการณ์ใช้สารเสพย์ติด ; การใช้สารเสพย์ติดในระยะ 30 วัน ก่อนต้องโทษ ; การหยุดใช้สารเสพย์ติด ; ความรู้และทัศนคติการใช้สารเสพย์ติด ; การดื่มสุราและลักษณะประชากร ; การดื่มสุราและการใช้สารเสพย์ติด -- การมีเพศสัมพันธ์ -- การมีเพศสัมพันธ์และการใช้สารเสพย์ติด -- การศึกษาเฉพาะกรณีและตัวอย่างกรณีศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1565
ISBN: 9746348183
Type: Technical Report
Appears in Collections:Health - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
vipaD(ABS).pdf7.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.