Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15732
Title: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคลมชักภาคใต้
Other Titles: Factors related to quality of life in epilepsy patients in sounthern region,Thailand
Authors: พธูจิต วังสโรจน์
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: hchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th
Subjects: ลมบ้าหมู
ลมบ้าหมู -- ผู้ป่วย
คุณภาพชีวิต
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านภาวะสุขภาพ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคลมชัก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคลมชัก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคลมชัก ที่รักษาด้วยการรับประทานยากันชักและไม่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศูนย์ภาคใต้ จำนวน 150 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินระดับความง่วงนอนในเวลากลางวัน แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และแบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคลมชัก ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงโดยทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคได้ เท่ากับ .80, .93, .83 และ .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคลมชักอยู่ในระดับปานกลาง( X-bar = 65.49, S.D. = 16.24) 2. ผู้ป่วยโรคลมชักส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (63.3%) ว่างงาน (30.0%) รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน 5,001-10,000 บาท (42.0%) รูปแบบการชักเป็นแบบชักทั่วตัว (59.3%) ระยะเวลาที่เป็นโรคลมชักต่ำกว่า 10 ปี (59.3%) ทั้งนี้ไม่มีอาการชักเกิดขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ (72.7%) และ 12 เดือน (45.3%) ไม่มีภาวะง่วงนอนที่ผิดปกติ (64.7%) ผู้ป่วยโรคลมชักครึ่งหนึ่ง (50%) มีความเหนื่อยล้าเล็กน้อย และส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้า (54.0%) 3. เพศ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคลมชักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (η=1.000) ในขณะที่ระดับการศึกษา รูปแบบของการชัก ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคลมชัก (η=.987, .997 ตามลำดับ) ความถี่ของการชักช่วง 2 สัปดาห์และ 12 เดือน มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคลมชัก (η=.1.000 และ .998 ตามลำดับ) อายุที่เริ่มชักและระยะเวลาที่เป็นโรคลมชัก ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคลมชัก (r=.124 และ -.150 ตามลำดับ) ทั้งนี้ภาวะง่วงนอนง่ายผิดปกติในเวลากลางวัน ความเหนื่อยล้า และภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคลมชัก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=-.253, -.546 และ -.585 ตามลำดับ).
Other Abstract: To investigate quality of life, factors related to quality of life in epilepsy patients in southern region, Thailand. The sample consisted of 150 epilepsy patients who had diagnosis, take antiepileptic drug and no epilepsy surgery. The instruments were questionnaires regarding demographic, sleepiness scale, fatigue scale, depression scale and quality of life in epilepsy. All questionnaires were tested for content validity and reliability with Cronbach’s Alpha Coefficients, which were .80, .93, .83 and .90, respectively. Statistical methods of frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation, t-test and One-way ANOVA were used to analyze the data. The major findings were as followed: 1. Quality of life in epilepsy patients was at medium level (X-bar= 65.49) 2. Most of the epilepsy patients were male gender(63.3%), unemployed (30.0%), having the average income per month of the parents between 5,001 - 10,000 baht (42.0%), Generalized epilepsy (59.3%) duration of epilepsy was <10 years (59.3%), seizure-free was 2 weeks (72.7%) and 12 months (45.3%), were depression (54.0%), no excessive daytime sleepiness (64.7%), 50% had low fatigue. 3. Sex was correlated to quality of life at p-value < .05(η=1.000). Educational level and Type of Epilepsy (η=.987 and .997respectively) Seizure frequency were correlated to quality of life. (η=.1.000 and .998, respectively) Age at diagnosis and Duration of epilepsy were no correlated to quality of life (r=.124 and -.150, respectively). Excessive daytime sleepiness, Fatigue and Depression were positively correlated to quality of life at p-value < .05 (r=-.253, -.546 and -.585, respectively).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15732
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.842
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.842
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patuchit_wa.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.