Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16426
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนทร บุญญาธิการ-
dc.contributor.authorสุธีวัน โล่ห์สุวรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-12-22T11:05:51Z-
dc.date.available2011-12-22T11:05:51Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16426-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractห้องเรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ แต่ห้องเรียนปัจจุบันประสบปัญหา เช่น อากาศร้อน มองสื่อไม่ชัดเจน มีปัญหามุมมอง ขาดความสมบูรณ์ในการฟัง เป็นต้น การแก้ปัญหาโดยทั่วไปจึงใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม การวิจัยนี้จึงศึกษาการนำระบบธรรมชาติเพื่อใช้สร้างห้องเรียนธรรมชาติคุณภาพสูงที่เหมาะสำหรับประเทศไทย รวมถึงปัจจัยด้านเทคนิคการเรียนรู้มีรูปแบบของสื่อเพิ่มขึ้น ความต้องการพื้นฐานที่สำคัญของการเรียนรู้ในห้องเรียนคือ ความสบายด้านความรู้สึกร้อนหนาว ระดับแสงสว่างที่เพียงพอ มุมมองที่เหมาะสม และคุณภาพเสียงที่ดี การวิจัยเริ่มศึกษาตัวแปรกายภาพและความต้องการของกิจกรรมการเรียนรู้ ร่วมกับการสำรวจสภาพห้องเรียนปัจจุบัน จำนวน 12 ตัวอย่าง พบว่าห้องเรียนส่วนใหญ่มีเปลือกอาคารที่ไม่สามารถควบคุมคุณภาพของสภาพแวดล้อมภายในได้ ประกอบกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่รุนแรง ทำให้ห้องเรียนมีปัญหาด้านคุณภาพของสภาพแวดล้อมที่ไม่ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ ผลการศึกษาห้องเรียนธรรมชาติต้นแบบจากผลการวิจัยนำระบบธรรมชาติมาใช้ของกรณีศึกษา 3 กรณี พบว่าห้องเรียนธรรมชาติขนาด 60 ที่นั่ง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต และห้องเรียนธรรมชาติขนาด 80 ที่นั่งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ วิทยาเขตบางคล้า สามารถปรุงแต่งสภาพแวดล้อมให้เข้าสู่เขตสบายแบบกึ่งควบคุมได้ แต่ยังขาดการดูดซับความร้อนของมวลสารและการควบคุมแสงสว่างบริเวณหน้าจอ ส่วนกรณีปรับปรุงห้องเรียนโรงเรียนพูลเจริญวิทยาคมพบว่า สามารถปรับปรุงได้โดยใช้ระบบเครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูงช่วยเสริมปัจจัยธรรมชาติ เนื่องจากปัจจัยเสียงรบกวนจากเครื่องบิน การนำองค์ความรู้จากห้องเรียนดังกล่าวมาสร้างห้องเรียนธรรมชาติต้นแบบขนาด 300 ที่นั่ง ที่ ดีเอ็นเอ รีสอร์ท เขาใหญ่ พบว่าสามารถปรุงแต่งสภาพแวดล้อมด้านความรู้สึกร้อนหนาวเข้าสู่เขตสบายได้ด้วยสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ ป้องกันความร้อนจากภายนอกที่ดี ใช้อิทธิพลของความเร็วลม 1.0-6.4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อิทธิพลการแผ่รังสีจากอุณหภูมิผิวเฉลี่ยที่ต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศ 0.5-1.0 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ไม่เกินร้อยละ 80 ด้านการมองเห็นในเวลากลางวันมีระดับความสว่าง 150-900 ลักซ์ สามารถควบคุมไม่ให้เกิดแสงจ้าระคายเคืองตาและแสงสะท้อนรบกวนการมองเห็น ด้านการได้ยินในสภาพแวดล้อมปกติเสียงรบกวนภายในเท่ากับ 30-35 เดซิเบลเอ มีค่ารีเวอร์เบอร์เรชั่นไทม์เท่ากับ 1.75 วินาที จากการควบคุมการสะท้อนและดูดซับเสียง ผลการวิจัยสรุปว่า ระบบธรรมชาติสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ได้ และสามารถขยายผลสู่รูปแบบการเรียนรู้อื่นต่อไปen
dc.description.abstractalternativeClassroom should enhance learning activities, but current problems are high air temperature, visual, lighting, acoustics. Common solution is to install mechanical and electrical equipments. Applying natural factors in high quality natural classroom fulfill multimedia technology and basic learning factors as thermal, lighting, visual, and acoustics comforts. Architectural factors and learning activity requirements were evaluated as well as 12 classrooms samples. It is found that almost classrooms have poor building envelop. Moreover, bad outside environment conditions affect classroom performance. Applying natural factors to three natural classrooms as pilot tests, it is found that 60-seat natural classroom at Thammasat University, Rangsit Center and 80-seat at Rajabhat Rajanagarinda University, Bang-kla Campus can modify their natural environments into comfort zone most of the time. On the other hands, classrooms at Poolcharoenwitayakom high school improve room conditions using integrated air condition and other natural factors since it locates near airport. Natural factor application results were used to build 300-seat natural classroom at DNA resort, Khaoyai. With appropriate outside environment modification, thermal comfort inside classroom easily comes to comfort zone. Using high insulation material in building envelop, wind velocity 1.0-6.4 km./h. and mean radiant temperature (MRT) of 0.5-1.0℃ can keep comfort condition inside the classroom at all times. Working plane has 150-900 lux during day time without glare and reflected glare. Acoustics property has background noise of 30-35 dBA and reverberation time of 1.75 seconds. It can be concluded that applying natural factors to improve classroom condition can enhance the learning activity which can be simple applied to other classrooms in Thailanden
dc.format.extent12098559 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1397-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectห้องเรียนen
dc.subjectห้องเรียน -- การออกแบบและการสร้างen
dc.subjectสภาพแวดล้อมห้องเรียนen
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen
dc.titleนวัตกรรมการสร้างสรรค์ห้องเรียนคุณภาพสูงด้วยระบบธรรมขาติen
dc.title.alternativeThe innovative design of high quality classroom using natural systemsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorsoontorn@asia.com, Soontorn.B@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1397-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suteewan_lo.pdf11.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.