Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16556
Title: ผลของการออกกำลังกายด้วยฟิตบอลที่มีต่อความอ่อนตัว การทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของเด็กออทิสติก
Other Titles: Effects of fit ball exercise on flexibility, balance and muscular strength of the autistic children
Authors: อรัญญา บุทธิจักร์
Advisors: สมบูรณ์ อินทร์ถมยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Somboon.I@Chula.ac.th
Subjects: เด็กออทิสติก
สมรรถภาพทางกาย
การออกกำลังกายสำหรับเด็ก
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกาย ด้วยฟิตบอลที่มีต่อความอ่อนตัว การทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของเด็กออทิสติก ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เด็กออทิสติก ที่มีภาวะออทิสซึ่มอยู่ในระดับที่มีอาการน้อย มีความผิดปกติด้านพัฒนาการตามเกณฑ์การวินิจฉัยจากแพทย์ เป็นกลุ่มที่ไม่มีความพิการทางสมองซ้ำซ้อน มีอายุอยู่ระหว่าง 14 -18 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ที่สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร จำนวน 12 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนแบบฝึกออกกำลังกายด้วยฟิตบอล จำนวน 8 แผน เครื่องมือวัด ได้แก่ เครื่องวัดความอ่อนตัว (Sit and reach) แบบทดสอบการยืนทรงตัว (Stork stand) แบบทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Sit-ups) ทำการทดลอง 8 สัปดาห์ มีการทดสอบก่อนการทดลองกับหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างของคะแนนค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบด้วยค่าเอฟ (F-test) โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One way ANOVA with repeated measures) เมื่อพบความแตกต่างจึงใช้การการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของแอล เอส ดี โดยการทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบความอ่อนตัว ก่อนการทดลองกับหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 กับหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ก่อนการทดลองกับหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบการทรงตัว ก่อนการทดลองกับหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 กับหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ก่อนการทดลองกับหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ก่อนการทดลองกับหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 กับหลังทดลองสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ก่อนการทดลองกับหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This research was a quasi-experimental research. The purposes of this research were to study and compare the effects of fit ball exercise on flexibility, balance and muscular strength of the autistic children before and after training. The autistic children were serviced at the Department of Mental Health ,Rachanukul Institute, Ministry of Public Health ,Bangkok. The subjects had 14-18 years old randomly by purposive sampling. This experiment was administered by researcher. The experimental tools was fit ball exercise program. The data were analyzed in term of the means, standard deviations and F-test, one way analysis of variance with repeated measures and multiple comparisons by LSD method and were also employed to determine the significantly difference test at the .05 level by testing from Sit and Reach Test, Stock Stand Test, and Sit -Ups Test. The experimental group was trained in 8 weeks, and the data were collected and statistically analyzed before training, after training in 4 weeks, and after training in 8 weeks. The results were as follows : 1. After training in 4 weeks and after training in 8 weeks the mean of flexibility test was significantly difference better than before training at the .05 level. There was no significantly difference in flexibility between after in 4 weeks and after in 8 weeks at the .05 level. 2. After training in 8 weeks the mean of balance test was significantly difference better than before training at the .05 level. There was no significantly difference in balance test between before training and after training in 4 weeks and after training in 8 weeks at the .05 level. 3. After training in 8 weeks the mean of muscular strength test was significantly difference better than before training at the .05 level. There was no significantly difference in muscular strength test between before training and after training in 4 weeks at the .05 level
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16556
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.565
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.565
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
arunya_bu.pdf4.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.