Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16654
Title: Estimating freight origin destination matrices using combined commodity flow survey and roadside survey data
Other Titles: การประมาณตารางจุดต้นทางปลายทางการขนส่งสินค้า โดยใช้ข้อมูลร่วมจากการสำรวจการเคลื่อนย้ายสินค้าและข้อมูลสัมภาษณ์ริมทาง
Authors: Wirach Hirun
Advisors: Sompong Sirisoponsilp
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Engineering
Advisor's Email: ssompon1@chula.ac.th
Subjects: Commercial products -- Transportation
Trucking
Freight and freightage
Issue Date: 2009
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The paucity of available data was limiting studies of freight flow in Thailand. To overcome this problem, commodity flow survey (CFS) and comprehensive freight transportation by truck using roadside survey (RS) were launched to collect comprehensive freight flow data throughout the kingdom of Thailand. Since these two surveys were pioneering and due to budgetary limitations, the resulting data are still incomplete and must be adjusted. The need to produce a freight origin destination matrix using available data from CFS and RS led to the objectives of this research. This research has two main objectives. The first is to develop a methodology for combining CFS and RS. The second is to develop a method for filling gaps in the origin destination matrix based on the Adaptive Neuro Fuzzy Inference System (ANFIS) approach. The methodology to combine these two data sources was developed which uses the strengths of each method, the CFS distribution pattern and the RS marginal total. The first method is Trip Length Distribution Adjusting (TLDA), which uses adjustments to CFS trip length distribution to meet RS marginal total. The second method is Gravity Model Approach (GMA), which uses CFS friction functions to adjust RS data matrix. The method was calibrated using two difference sources of roadside survey. The results indicated that the adjusted volumes of the two data sources agreed despite being collected at different times and by different authors, and that the differences between the total adjusted volumes were quite small. It can therefore be concluded that the developed method can be used to adjust the data. For the second component, a model using BOX-COX transformation and Adaptive Neuro Fuzzy Inference system (ANFIS) was developed and verified against a convention gravity model. Two types of model, using convention gravity variables and using socio-economic variables, were developed. The results showed that the ANFIS model outperformed both the conventional gravity model and the BOX-COX model. These results proved the performance of the adaptive neuro fuzzy inference system for modeling complex system and its ability to model freight trip distribution.
Other Abstract: จากข้อจำกัดของข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่งผลให้การศึกษาด้านการขนส่งสินค้าในประเทศไทยมีไม่มากนัก เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวรัฐบาลจึงได้ดำเนินโครงการสำรวจการเคลื่อนย้ายสินค้า และสำรวจการขนส่งสินค้าทางถนนด้วยรถบรรทุกโดยการสัมภาษณ์ริมทาง เพื่อรวบรวมข้อมูลการขนส่งสินค้าทางถนนในประเทศไทย แต่เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นโครงการใหม่ที่ยังไม่เคยริเริ่มในประเทศไทย รวมทั้งข้อจำกัดด้านงบประมาณ จึงส่งผลให้ข้อมูลที่รวบรวมได้ยังไม่สมบูรณ์และจำเป็นต้องได้รับการปรับแก้ สืบเนื่องจากความต้องการพัฒนาฐานข้อมูลต้นทางปลายทางการขนส่งสินค้าจากข้อมูลที่มีอยู่ในประเทศไทย ได้แก่ ข้อมูลสำรวจการเคลื่อนย้ายสินค้าและข้อมูลการสัมภาษณ์ริมทาง ดังนั้นการวิจัยนี้จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 2 ประเด็นคือ การพัฒนาวิธีการรวมข้อมูลการเคลื่อนย้ายสินค้าและข้อมูลการสัมภาษณ์ริมทาง และการพัฒนาวิธีการเพื่อแก้ปัญหาเซลว่างในตารางต้นทางปลายทางการขนส่ง โดยใช้วิธีการอะแด๊ปทีฟนิวโรฟัซซี่อินเฟอร์เร็นซีสเต็ม งานวิจัยนี้ได้พัฒนาวิธีการรวมข้อมูล 2 วิธี โดยใช้ข้อดีของข้อมูลทั้งสองประเภท โดยวิธีที่ 1 ได้แก่ วิธีการแจกแจงการเดินทางตามระยะทาง ซึ่งใช้การปรับการกระจายการเดินทางตามระยะทางของข้อมูลการเคลื่อนย้ายสินค้า เพื่อปรับปริมาณการขนส่งให้เท่ากับปริมาณการขนส่งรวมของข้อมูลการสัมภาษณ์ริมทาง สำหรับวิธีที่ 2 ได้แก่ วิธีการแบบจำลองแรงโน้มถ่วง ซึ่งใช้ฟังก์ชั่นความยากลำบากในการเดินทางของข้อมูลการเคลื่อนย้ายสินค้า ในการปรับข้อมูลการสัมภาษณ์ริมทาง การทดสอบวิธีการทั้งสองใช้การทดสอบกับสองชุดข้อมูลที่สำรวจต่างเวลาและหน่วยงานที่สำรวจ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า วิธีการทั้งสองให้ค่าปรับแก้ที่ใกล้เคียงกันในทั้งสองชุดข้อมูล ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า วิธีการที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับแก้ข้อมูลได้ สำหรับการพัฒนาวิธีการเพื่อแก้ปัญหาเซลว่างในตารางต้นทางปลายทางการขนส่ง งานวิจัยนี้ได้พัฒนาวิธีการใช้ตัวแปลงบ๊อกค๊อกและอะแด๊ปทีฟนิวโรฟัซซี่อินเฟอร์เร็นซีสเต็ม เพื่อเปรียบเทียบกับวิธีแบบจำลองแรงโน้มถ่วง โดยได้ทดลองโดยใช้ตัวแปรมาตรฐานของวิธีแบบจำลองแรงโน้มถ่วง และตัวแปรข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า วิธีการอะแด๊ปทีฟนิวโรฟัซซี่อินเฟอร์เร็นซีสเต็ม ให้ผลการวิเคราะห์ที่ดีกว่าวิธีการใช้ตัวแปลงบ๊อกค๊อกและวิธีแบบจำลองแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นการยืนยันประสิทธิภาพของวิธีการอะแด๊ปทีฟนิวโรฟัซซี่อินเฟอร์เร็นซีสเต็ม ในการจำลองระบบที่ซับซ้อนและสามารถนำมาใช้ในการสร้างแบบจำลองการกระจายการเดินทาง
Description: Thesis (D.Eng.)--Chulalongkorn University, 2009
Degree Name: Doctor of Engineering
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Civil Engineering
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16654
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2083
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.2083
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wirach_hi.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.