Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16702
Title: กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด และภาพลักษณ์ของโทรศัพท์เคลื่อนที่เฮ้าส์แบรนด์
Other Titles: Marketing public relations strategies and house brand mobile phone image
Authors: ปาริชาติ จัดดี
Advisors: พัชนี เชยจรรยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Patchanee.C@chula.ac.th
Subjects: การประชาสัมพันธ์
การตลาด
การรับรู้
ภาพลักษณ์องค์การ
โทรศัพท์เคลื่อนที่
สินค้าเฮ้าส์แบรนด์
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาดของโทรศัพท์เคลื่อนที่เฮ้าส์แบรนด์ (2) เพื่อศึกษาการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่เฮ้าส์แบรนด์ (3) เพื่อศึกษาภาพลักษณ์เกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่เฮ้าส์แบรนด์ (4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่เฮ้าส์แบรนด์ และภาพลักษณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่เฮ้าส์แบรนด์ การวิจัยประกอบด้วยการศึกษาวิจัย 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ศึกษาเรื่อง “กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาดของโทรศัพท์เคลื่อนที่เฮ้าส์แบรนด์" เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกบุคคลที่เกี่ยวข้อง และจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากเอกสาร บทความและงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และส่วนที่ 2 ศึกษาเรื่อง “ภาพลักษณ์เกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่เฮ้าส์แบรนด์” เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากประชาชน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลจำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาดของโทรศัพท์เคลื่อนที่เฮ้าส์แบรนด์ มีการใช้กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด 5 กลยุทธ์ คือ (1) กลยุทธ์การสร้างภาพลักษณ์ (2) กลยุทธ์การใช้สื่อ (3) กลยุทธ์การใช้ผู้มีชื่อเสียง และผู้นำเสนอ (4) กลยุทธ์การสร้างความน่าเชื่อถือ (5) กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ (6) กลยุทธ์มอบสิทธิพิเศษสำหรับสื่อมวลชน ผลการวิจัยในส่วนของภาพลักษณ์พบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่เฮ้าส์แบรนด์ในระดับสูงสุดจากสื่อโทรทัศน์ และระดับต่ำสุดคือ จากสื่อกิจกรรม ด้านการรับรู้ ประชาชนที่มี เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ แตกต่างกันมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่เฮ้าส์แบรนด์ต่างกัน ด้านภาพลักษณ์ ประชาชนที่มี อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ต่างกัน มีภาพลักษณ์แตกต่างกันด้วย ภาพลักษณ์ของโทรศัพท์เคลื่อนที่เฮ้าส์แบรนด์อยู่ในระดับที่เป็นบวก โดยภาพลักษณ์ที่ดีที่สุดคือ โทรศัพท์เคลื่อนที่เฮ้าส์แบรนด์มีความคุ้มค่ากับราคา อันดับสองคือ โทรศัพท์เคลื่อนที่เฮ้าส์แบรนด์มีคุณสมบัติการใช้งานครบครัน อันดับสามคือ โทรศัพท์เคลื่อนที่เฮ้าส์แบรนด์มีความทันสมัย และภาพลักษณ์มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่เฮ้าส์แบรนด์
Other Abstract: This research is a qualitative and quantitative research. The objectives of this research are (1) to study marketing public relations strategies of house brand mobile phone (2) to study perception about the house brand mobile phone (3) to study Image about the house brand mobile phone (4) to study the relationship between perception and image about house brand mobile phone. Research will be divided into 2 parts. Part 1 is qualitative research about "Marketing public relations strategies of house brand mobile phone." The primary data was gathered from in-depth interview while the secondary data was collected from documents, articles, and relevant researches. Part 2 is a survey research about "Image of house brand mobile phone" using questionnaire as a tool to collect the data from public by 400 people who live in Bangkok and Metropolitan area. The result of Part 1 showed that the marketing public relations strategies of house brand mobile phone using 6 strategies (1) Image building strategy (2) Media strategy (3) Celebrity and presenter strategy (4) Credibility strategy (5) Differentiate brands strategies (6) Privilege strategy for media. The research result of part 2 found that the most perception on house brand mobile phone came from television while event activity was the lowest. The public with different gender, age, education and career were different in perception on house brand mobile phone. The public with different age, education, career and income were different in image on house brand mobile phone. Image of house brand mobile phone was in a positive level. The best factors were 1) value and price 2) multifunction and 3) modernization. Furthermore, image of house brand mobile phone correlated with perception on house brand mobile phone.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16702
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.53
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.53
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Parichat_ch.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.