Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16762
Title: การรับรู้เกี่ยวกับประเทศชั้นนำของโลก และแนวทางในการคัดเลือกข่าวต่างประเทศในหนังสือพิมพ์ และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ไทย
Other Titles: Perception about elite countries and approaches in selecting foreign news in newspapers and online newspapers
Authors: เพ็ญพงศ์ สุขโชคศิริชัยพร
Advisors: พิรงรอง รามสูต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Pirongrong.R@chula.ac.th
Subjects: ข่าวหนังสือพิมพ์
หนังสือพิมพ์
หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับประเทศชั้นนำของโลกของนักข่าวที่ทำหน้าที่ในการคัดเลือกข่าวต่างประเทศ ในหนังสือพิมพ์และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ไทย รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ดังกล่าว และเพื่อศึกษาแนวทางในการคัดเลือกข่าวต่างประเทศ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับประเทศชั้นนำของโลก ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อการคัดเลือกข่าวต่างประเทศของนักข่าวในโต๊ะต่างประเทศของหนังสือพิมพ์ และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ก็คือ การสำรวจความคิดเห็น การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ ผลการวิจัยพบว่า 1.นักข่าวที่ทำข่าวต่างประเทศในหนังสือพิมพ์ และหนังสือพิมพ์ออนไลน์นั้นมีการรับรู้ว่า ประเทศชั้นนำของโลก 5 อันดับแรกได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ และรัสเซีย ขณะที่คุณสมบัติของประเทศชั้นนำของโลก 5 อันดับแรก คือ ฐานะทางเศรษฐกิจ อิทธิพลทางการเมือง อิทธิพลทางการทหาร อิทธิพลทางภาษา รวมทั้งอิทธิพลทางวัฒนธรรม และอิทธิพลทางสังคม 2.ปัจจัยความแตกต่างด้านอายุ สาขาที่จบการศึกษา และประสบการณ์ทำงานส่งผลต่อการรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติความเป็นประเทศชั้นนำของโลก 3.เกณฑ์ในการคัดเลือกข่าวต่างประเทศของหนังสือพิมพ์ และหนังสือพิมพ์ออนไลน์แทบจะไม่แตกต่างกัน โดยประเภทข่าวที่นักข่าวหนังสือพิมพ์ และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ข่าวความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการเมืองระหว่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับคุณค่าข่าวด้านความใกล้ชิดมากที่สุดเหมือนกัน 4.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคัดเลือกข่าวต่างประเทศในหนังสือพิมพ์มากที่สุดคือ ความสนใจของผู้อ่าน ขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคัดเลือกข่าวต่างประเทศในหนังสือพิมพ์ออนไลน์มากที่สุดคือ สถานการณ์โลกในขณะนั้น นักข่าวที่ทำข่าวต่างประเทศมุ่งแต่จะเลือกทำข่าวที่เร้าความสนใจของผู้อ่านเพื่อผลประโยชน์ทางการตลาดเป็นสำคัญ โดยอาจละเลยหน้าที่ของสื่อมวลชนในฐานะที่ต้องเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบางประเทศ โดยเฉพาะในประเด็นที่ส่งผลกระทบในเชิงโครงสร้างต่อประชาชนคนไทยให้ได้รับรู้เข้าใจ ซึ่งอาจนำไปสู่วิกฤตการนำเสนอข่าวสาร
Other Abstract: This research has the following objectives: to study the perception about elite countries by reporters in charge of foreign news in Thai newspapers and online newspapers; to study factors influencing the perception; to study the approaches in selecting foreign news particularly those concerning elite countries; and to study factors influencing the selection of foreign news in foreign news desks. The study uses these methods – survey, non-participatory observation, in-depth interview. The study has these findings: 1)Foreign news reporters in both print newspapers and online newspapers perceive the following countries to be elite countries of the world, in that respective order, survey, non-participant observation, and informal interview; 2)These factors -- age, educational field, and professional experience – influence the perception about elite country attributes; 3)Criteria in selecting foreign news in both print newspapers and online newspapers are quite similar. The types of news that receive the most importance, in the respective order, are international relations news and international politics while proximity is given the most emphasis as news value; 4)Based on informal interview, the factor that has received the most importance in print newspaper is readers’ interest, and current world situation, in online newspaper. The study also finds that foreign news reporters tend to highlight sensational news mainly for sales reasons. In so doing, they may have neglected the role of responsible media as informer of important international events. In particular, those issues with complicated backgrounds that may have multi-faceted implications and may lead to structural violence are usually omitted for the sake of convenience in reporting
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16762
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1100
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1100
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Penpong_su.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.