Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16940
Title: แนวทางการพัฒนาการสัญจรทางน้ำโดยเรือขนส่งมวลชนในคลองกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออกเพื่อเชื่อมกับระบบไฟฟ้าบีทีเอส
Other Titles: Development guidelines for water transportation in Eastern Bangkok's canals linked to the BTS system
Authors: สิริกร มานะสมบูรณ์
Advisors: ระหัตร โรจนประดิษฐ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Rahuth.R@chula.ac.th
Subjects: การขนส่งในเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
รถไฟฟ้า -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การขนส่งมวลชน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การขนส่งทางน้ำ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเดินทางของกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ศึกษาที่คาดว่าจะเกิดการใช้บริการเรือโดยสารในคลองและรถไฟฟ้าร่วมกันได้ ตลอดจนศึกษาถึงการเชื่อมต่อ ปัญหาและอุปสรรคในการเดินทางของกลุ่มตัวอย่างจากการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะที่มีอยู่ในปัจจุบัน พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางในการวางแผนพัฒนาการสัญจรทางน้ำให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับรถไฟฟ้าได้ดียิ่งขึ้น ผลการศึกษาสภาพทางกายภาพพบว่า ในเส้นทางเดินเรือโดยสารคลองแสนแสบมีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่หลากหลาย เช่น พาณิชยกรรม สถาบันการศึกษา และบ้านพักอาศัย เป็นต้น และในเส้นทางเดินเรือโดยสารคลองพระโขนงมีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นบ้านพักอาศัย และศาสนสถานส่วนใหญ่ ความแตกต่างของการใช้ที่ดินจะมีผลต่อปริมาณผู้ใช้เรือโดยสารและความหนาแน่นของการใช้พื้นที่ที่ต่างกัน สำหรับโครงข่ายถนนพบว่า มีถนนสายหลักหลายเส้นที่มีปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วนของการเดินทางทั้งเช้าและเย็นผ่านบริเวณท่าเรือกรณีศึกษา ส่วนระบบขนส่งมีทั้งที่ให้บริการแบบประจำทางและแบบไม่ประจำทาง ทั้งนี้โครงข่ายถนนและระบบขนส่งจะให้บริการเพื่อเชื่อมต่อท่าเรือกรณีศึกษาเข้ากับพื้นที่ส่วนอื่นๆ การศึกษาครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 18 คน ที่ใช้เรือโดยสารในคลองร่วมกับรถไฟฟ้าจุดของการเดินทางเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือบริเวณท่าสะพานอโศกเพชรบุรีกับรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีเพชรบุรีจากการมีเส้นทางการขนส่งที่ตัดกันจึงมีระยะห่างระหว่างตัวระบบขนส่งที่สั้นและสะดวกกับการใช้บริการร่วมกัน การเดินทางเพื่อเชื่อมต่อในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสกับเส้นทางเรือโดยสารแทบจะไม่เกิดขึ้นเลยเพราะขาดจุดที่ตัดกันของเส้นทางการขนส่ง ปัญหาอื่นที่พบในการเดินทางคือ สภาพความคล่องตัวบริเวณเส้นทางสัญจรหรือบริเวณจุดเชื่อมต่อของระบบขนส่ง สำหรับความคิดเห็นในเรื่องการเชื่อมต่อของระบบขนส่ง 2 ระบบในปัจจุบัน กลุ่มตัวอย่างเห็นว่ามีการเชื่อมต่อกันแล้วแต่ยังไม่ดี และคิดว่ามีอัตราค่าโดยสารที่ค่อนข้างแพงแต่ช่วยประหยัดเวลาเดินทางได้แนวทางในการวางแผนพัฒนาการสัญจรทางน้ำโดยเรือโดยสารในคลองให้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าจึงควรทำการปรับปรุงการให้บริการของระบบขนส่งที่เกี่ยวข้องให้มีคุณภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและดึงดูดให้เกิดการใช้บริการที่เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงสภาพแวดล้อมบริเวณเส้นทางสัญจรและพื้นที่ต่อเนื่องที่เป็นปัญหาให้น้อยลงหรือหมดไป รวมถึงการจัดให้มีบริการสาธารณะที่จำเป็นกับการเดินทางเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้เดินทาง สำหรับการวางแผนพัฒนาใดๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตควรต้องคำนึงถึงโครงสร้างพื้นฐานและทำให้เกิดความสอดคล้องกันขึ้นกับระบบขนส่งที่มีอยู่เดิมด้วย
Other Abstract: The objectives of this research are 1) to study samples of travel behavior that use canals linked to the BTS system, 2) to study linkages, problems and obstacles of samples' traveling from currently provided public transportation and 3) to suggest the development guidelines to make water transportation linked to the BTS system more efficient. According to the physical condition of the study areas, there are varities of landuses along Sansaeb canal such as commercial, academic institutes and houses, etc. The areas along Prakanong canal are mostly used for housing and religious places. The difference of landuses and density of those areas influence the number of taxi boat users. Many roads near the case study piers have traffic jam during rush hours. The research also finds that traveling by water transportation linked to the BTS system is not very popular. There is not enough transportation interchange which make the distance between transportation system shorter and more convenient for the users. There are 18 samples who use both taxi boats and the BTS. Asok-Petchaburi bridge pier and MRT Petchaburi station is the most connected Interchange. Beside, there is a problem about traffic near transportation interchange. According to the samples' opinion, the existing road network and transportation system are able to connect the case study piers and other areas but they are still not efficient. Although traveling by the BTS can save the time, transportation fare is quite expensive. The development guidelines for water transportation linked to the BTS system should be adjusted to improve the quality of the connected transportation system which is not only to increase its efficiency but also attract more users. It's also suggested that, needed public services should be provided to travelers for more convenience. Beside, the environment in the traffic ways and connected areas where have problems should be improved. In the future, development planning should be concerned about existing transportation systems
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16940
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.143
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.143
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirikorn_Ma.pdf4.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.