Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17052
Title: ความคิดเห็นของศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารและครูประถมศึกษา เกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดในเขตการศึกษา 6
Other Titles: Opinions of supervisors, administrators and elementary school teachers concerning educational supervision in elementary schools under the Provincial Primary Education Office in Education Region 6
Authors: ถวิล วรรณปะเก
Advisors: วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: weerawat.u@chula.ac.th
Subjects: การนิเทศการศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ในเขตการศึกษา 6 เกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา ทางด้านต่าง ๆ คือ คุณลักษณะของผู้นิเทศ บทบาทและหน้าที่ของผู้นิเทศ ทักษะที่จำเป็นของผู้นิเทศ และกระบวนการนิเทศการศึกษา 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นในการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษาระหว่าง ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ในเขตการศึกษา 6 สมมุติฐานของการวิจัย ความคิดเห็นของศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ในเขตการศึกษา 6 ไม่แตกต่างกันในด้านต่อไปนี้ คือ 1. คุณลักษณะของผู้นิเทศ 2. บทบาทและหน้าที่ของผู้นิเทศ 3. ทักษะที่จำเป็นของผู้นิเทศ 4. กระบวนการนิเทศการศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้วิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ในเขตการศึกษา 6 ทุกคนจำนวน 80 คน ครูประถมศึกษา 441 คน ครูใหญ่และผู้ช่วยครูใหญ่ 72 คน จากโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ในเขตการศึกษา 6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประเมินค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และ S-method ของเซฟเฟ่ (Scheffe’) สรุปผลการวิจัย ความคิดเห็นเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา ของศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารและครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดในเขตการศึกษา 6 พบว่าเห็นด้วยเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้นิเทศ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ทักษะด้านกระบวนการหมู่พวก ทักษะด้านการบริหารบุคคล ทักษะด้านการประเมินผล และกระบวนการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา ทั้งสามกลุ่มมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับสมมุติฐานการวิจัย เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของผู้นิเทศ พบว่าทั้งสามกลุ่มมีความคิดเห็นไม่แน่ใจและทั้งสามกลุ่มมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับสมมุติฐานการวิจัย เกี่ยวกับทักษะด้านความเป็นผู้นำ ปรากฏว่า ศึกษานิเทศก์และผู้บริหาร มีความคิดเห็นด้วย แต่ครูประถมศึกษามีความคิดเห็นไม่แน่ใจ ระหว่างศึกษานิเทศก์กับผู้บริหาร และระหว่างผู้บริหารกับครูประถมศึกษามีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามปรากฏว่ามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ระหว่างศึกษานิเทศก์กับครูประถมศึกษา The purposes of the study
Other Abstract: The purposes of the study 1. To study the opinions of supervisors administrators and elementary school teachers under the Provincial primary education office in education region 6 concerning educational supervision in elementary schools as follows : characteristics of supervisor; and duties and roles of supervisor; necessary supervisor skills; and supervision process in elementary schools. 2. To compare the opinions among supervisors administrators and elementary school teachers concerning educational supervision in elementary schools under the Provincial Primary Education office in Education region 6. Hypothesis There is no significant difference among the opinions of supervisors, administrators, and elementary school teachers concerning characteristics of supervisor, duties and roles of supervisor, needed supervisory skills, and supervision process in elementary school. Procedures of the study The sample used in this study consisted of all 80 supervisors of the office of provincial primary education in education region 6, some 441 school teachers, and all 72 principals and assistant to the principals from the elementary schools under the same office of provincial primary education. The study tool was a rating-scale questionnaire. The statistical techniques used for data analysis including percentage, arithmetic mean, standard diviation, one-way analysis of variance, and S-Method by Scheffe were employed. The research findings The opinions on educational supervision in elementary schools of supervisors, administrators, and school teachers under the provincial education office in education region 6 were found to be congruent concerning characteristics of supervisor, human relation skill, group process skill, personnel administrator skills, measurement skill and supervision process in elementary school. No significant differences among the opinions of the three-group on those issues were found. These findings accepted the research hypothesis. Concerning the duties and roles of supervisors, it was found that the three-group opinions were rated undecided. No significant differences of that issue were found among them. These findings accepted the research hypothesis. Concerning the leadership skill, it was found that the opinions of supervisors and administrators were congruent. But the opinions of elementary school teachers were found undecided. There were no significant differences between the opinions of supervisors and administrators and the opinions of administrators and elementary school teachers. However, there was a significant difference at the 0.05 level between the opinions of supervisors and elementary school teachers. These findings rejected the research hypothesis.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17052
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thawil_Wa_front.pdf489.76 kBAdobe PDFView/Open
Thawil_Wa_ch1.pdf492.96 kBAdobe PDFView/Open
thawil_Wa_ch2.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
thawil_Wa_ch3.pdf445.38 kBAdobe PDFView/Open
thawil_Wa_ch4.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
thawil_Wa_ch5.pdf644.25 kBAdobe PDFView/Open
Thawil_Wa_back.pdf718.63 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.