Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17065
Title: การใช้วิธี "โลกแคบ" ศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารของผู้ป่วยกามโรค กรณีศึกษา ณ ศูนย์กามโรคเขต 1 สระบุรี
Other Titles: The use of the "Small World" method in the study of communicative behavior of venereal disease patients : a case study at regional V.D. center I Saraburi
Authors: เตือนใจ เพทยสุวรรณ
Advisors: ศิริชัย ศิริกายะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sirichai.S@chula.ac.th
Subjects: ศูนย์กามโรคเขต 1 สระบุรี
กามโรค -- ไทย
การสื่อสาร
สาธารณสุข -- บริการสารสนเทศ
พฤติกรรมการแสวงหาความช่วยเหลือ -- ไทย
ผู้ป่วย -- ไทย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงพฤติกรรมการสื่อสารในระหว่างผู้ป่วยกามโรคว่ามีขอบข่ายในการเชื่อมโยงมากน้อยเพียงใด และเพื่อความเข้าใจถึงลักษณะปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพทางเศรษฐกิจสังคม ระดับความผูกพัน ที่มีส่วนสัมพันธ์ในพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกามโรคของผู้ป่วยและผู้ร่วมสื่อสาร ประชากรที่ได้ศึกษาทั้งหมด 92 ราย คือ ผู้ป่วยกามโรคที่มารับการตรวจรักษาที่ศูนย์กามโรค และผู้ป่วยทั้งหมดนี้เป็นผู้ที่เคยมารับบริการที่ศูนย์กามโรคนี้ก่อนหน้านี้แล้ว ในการวิจัย ผู้วิจัยได้ตั้งสมมุติฐานของการวิจัยไว้ 6 ประการ คือ 1. พฤติกรรมการสื่อสารในระหว่างผู้ป่วยกามโรค เป็นไปในลักษณะ “โลกแคบ” (Small world) 2. การแสวงหาสารสนเทศเกี่ยวกับสถานบริการและหญิงอาชีพพิเศษ ผู้ป่วยจะมีการสื่อสารกับบุคคลที่มีสภาพทางเศรษฐกิจสังคมคล้ายคลึงกันมากกว่าผู้ที่มีสภาพแตกต่างกัน 3. ผู้ป่วยจะมีการแสวงหาสารสนเทศเกี่ยวกับสถานบริการและหญิงอาชีพพิเศษจากบุคคลที่มีความผูกพันอย่างแน่นแฟ้นมากกว่าผู้ที่มีความผูกพันอย่างผิวเผิน 4. ผู้ป่วยจะมีการแสวงหาสารสนเทศเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล จากบุคคลที่มีสภาพทางเศรษฐกิจสังคมคล้ายคลึงกันมากกว่าบุคคลที่มีสภาพแตกต่างกัน 5. ผู้ป่วยเมื่อต้องการสารสนเทศที่ถูกต้องในเรื่องการรักษาพยาบาล จะมีการสื่อสารกับบุคคลที่มีความผูกพันอย่างผิวเผินมากกว่าผู้ที่ผูกพันอย่างแน่นแฟ้น 6. ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสังคม มีความสัมพันธ์กับปริมาณสารสนเทศ เรื่องกามโรค ที่ผู้ป่วยได้รับ จากการทดสอบสมมุติฐาน ปรากฏว่าสมมุติฐานที่ 1 ได้รับการยืนยันว่าเป็นจริงได้ส่วนหนึ่ง ส่วนสมมุติฐานข้อที่ 2, 3, 4, และ 5 ได้รับการยืนยันทุกข้อ สำหรับสมมุติฐานข้อที่ 6 นอกจากจะได้รับการยืนยันแล้ว ยังพบอีกว่าผลตอบแทนในทางเศรษฐกิจสังคมมีความสัมพันธ์กับปริมาณสารสนเทศ เรื่องกามโรคที่ผู้ป่วยได้รับในเชิงปฏิฐานอีกด้วย จากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยได้เสนอแนะให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมกามโรคให้ความสนใจในการแพร่กระจายสารสนเทศที่เป็นความรู้เรื่องกามโรคออกสู่ประชาชนโดยผ่านสื่อมวลชนให้มากขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้รับการสนเทศที่ถูกต้องได้มากขึ้นและสะดวกขึ้นและเพื่อให้ลักษณะความเป็นเรื่องในลักษณะ “ต้องห้าม” ของกามโรคลดลง และได้เสนอแนะให้เห็นประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรบุคคลให้เป็นประโยชน์ในการกระจายสารสนเทศ คือผู้ขายยาและผู้ป่วยกามโรค โดยเน้นถึงการส่งสารสนเทศที่ถูกต้องในการควบคุมป้องกันกามโรคที่ถูกต้องให้แก่บุคคลเหล่านี้ เพื่อให้แพร่กระจายต่อไปในชุมชนและในกลุ่มบุคคลที่ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีในงานควบคุมกามโรคต่อไป
Other Abstract: The major purposes of this study were: To understand communication behavior among venereal disease patients, and to understand the relationship between communication behavior of venereal disease patients and secio-economic condition and also the dyadic tie of patients. The total population for this study contained 92 venereal disease patients visiting the Saraburi regional V.D. Center I. Only those who had received treatment at this center were selected. Six hypotheses were formulated and tested in this study. 1. The communication behavior among the patients is possibly under a “Small world” condition. 2. The patients find out the information on service and girls for entertainment from the homophylous dyads rather than of the heterophylous one. 3. The patients find out the information on service and girls for entertainment from the closely related dyads rather than those of with distant relationship. 4. The patients find out information concerning medical treatment from the homophylous dyads rater than from the heterophylous ones. 5. The patients get the more proper information of medical treatment from the dyads with distant relationship rather than those with close tie. 6. There will be a significant relationship between capacity of the proper information of medical treatment and socio-economic benefit. The results of the testing of all hypotheses indicated that hypothesis I was partly confirm, hypotheses 2,3,4,5 and 6 were confirmed. The result of hypothesis 6 testing also indicated that there is a positive association. According to the result of this study the researcher suggested that those who concerned with venereal disease control have to realize the importance of information processing through mass media for the people can perceive easily, and for reducing the “Taboo” of venereal disease. Also the researcher suggested that the government can make use of human resources such as pharmacist and the patients as a media of information, that will be helpful for the venereal disease control activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17065
ISBN: 9745660329
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tuanchai_De_front.pdf501.44 kBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_De_ch1.pdf765.89 kBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_De_ch2.pdf831.54 kBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_De_ch3.pdf962.82 kBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_De_ch4.pdf448.65 kBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_De_ch5.pdf527.78 kBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_De_ch6.pdf504.66 kBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_De_ch7.pdf669.98 kBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_De_ch8.pdf449.66 kBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_De_back.pdf567.91 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.