Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17085
Title: ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของความเพียรในการทำการบ้านวิชาสถิติธุรกิจ : การวิเคราะห์โดยใช้โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ
Other Titles: Antecedents and consequences of efforts in doing business statistics homework : an analysis using multilevel structural equation model
Authors: กันต์ฤทัย คลังพหล
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
ศิริชัย กาญจนวาสี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.T@chula.ac.th
Sirichai.K@Chula.ac.th
Subjects: การวิเคราะห์พหุระดับ
การบ้าน
สถิติธุรกิจ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาและวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของความเพียรในการทำการบ้านวิชาc โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติธุรกิจ คุณภาพของการบ้านวิชาสถิติธุรกิจ ความมีจิตสำนึก แรงจูงใจในการทำการบ้านวิชาสถิติธุรกิจ และความเพียรในการทำการบ้านวิชาสถิติธุรกิจของนักศึกษาที่มี เพศ สถานภาพทางการศึกษา ชั้นปี และสาขาวิชาต่างกัน 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของความเพียรในการทำการบ้านวิชาสถิติธุรกิจ และ 3) เพื่อประมาณค่าขนาดอิทธิพลปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของความเพียรในการทำการบ้านวิชาสถิติธุรกิจในโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 1,427 คน จาก 40 ห้องเรียน ได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบ้านที่มีอิทธิพลต่อความเพียรในการทำการบ้านวิชาสถิติธุรกิจและแบบสอบวิชาสถิติธุรกิจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows, EVANA และ MPLUS version 5.21 ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติธุรกิจของนักศึกษาและผลสัมฤทธิ์ระดับห้องเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ทุกตัวแปรองค์ประกอบทั้งสองระดับมีคะแนนความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการทำการบ้านอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด ยกเว้น องค์ประกอบความมีจิตสำนึกระดับนักศึกษา และองค์ประกอบการรับรู้คุณภาพของการบ้านวิชาสถิติธุรกิจทั้งระดับนักศึกษาและระดับห้องเรียนที่มีคะแนนความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับรู้คุณภาพของการบ้านวิชาสถิติธุรกิจอยู่ในระดับมาก 2. โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของความเพียรในการทำการบ้านวิชาสถิติธุรกิจมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X² = 230.094, df = 88, X²/df = 2.61, RMSEA = 0.034, CFI = 0.981, TLI = 0.968, SRMR[subscript W] = 0.028, SRMR[subscript B] = 0.064) 3. ขนาดอิทธิพลของตัวแปรองค์ประกอบในระดับนักศึกษาที่มีขนาดอิทธิพลมากที่สุดคือ อิทธิพลของความมีจิตสำนึกของนักศึกษาที่มีต่อความเพียรในการทำการบ้านวิชาสถิติธุรกิจของนักศึกษา (0.667) รองลงมาคืออิทธิพลของคุณภาพการบ้านวิชาสถิติธุรกิจของนักศึกษาที่มีต่อแรงจูงใจในการทำการบ้านวิชาสถิติธุรกิจของนักศึกษา (0.620) และอิทธิพลของแรงจูงใจในการทำการบ้านวิชาสถิติธุรกิจที่มีต่อของความเพียรในการทำการบ้านวิชาสถิติธุรกิจของนักศึกษา (0.219) ตามลำดับ ขนาดอิทธิพลของตัวแปรองค์ประกอบในระดับห้องเรียนที่มีขนาดอิทธิพลมากที่สุดคืออิทธิพลของคุณภาพการบ้านวิชาสถิติธุรกิจของห้องเรียนที่มีต่อแรงจูงใจในการทำการบ้านวิชาสถิติธุรกิจของห้องเรียน (0.954) รองลงมาคืออิทธิพลของความเพียรในการทำการบ้านวิชาสถิติธุรกิจนักศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติธุรกิจของห้องเรียน (0.925) และอิทธิพลของแรงจูงใจในการทำการบ้านวิชาสถิติธุรกิจของห้องเรียนที่มีต่อความเพียรในการทำการบ้านวิชาสถิติธุรกิจของห้องเรียน (0.833)
Other Abstract: This research aimed to develop and validate the antecedents and consequences of homework effort in business statistics course: multilevel structural equation model with three sub-objectives as follows: 1) to compare the averages of business statistics achievement, quality of business statistics homework, conscientiousness, motivation in to do business statistics homework and business statistics homework effort of students with different gender, educational status, academic grade class and education major. 2) to develop and test the proposed multilevel structural equation model of antecedents and consequences of homework effort in business statistics and 3) to estimate effect of antecedents and consequences of homework effort in business statistics. The sample, randomly selected using multi-stage sampling, consisted of 1,427 students from five campuses of Rajabhat University, drawn from 40 classes. The two research instruments were questionnaire measuring the factors affecting homework effort and the test of business statistics. Data analyses using Spss for windows, EVANA and MPLUS version 5.21. The findings were summarized as follows: 1) The average of business statistics achievement in student level and classroom level were moderate. The homework behavior average of all factor in student level and classroom level were moderate excepted conscientiousness‘s student and the perception of business statistics homework quality both student level and classroom level were high. 2) The proposed multilevel structural equation model of antecedents and consequences of homework effort in business statistics fited with the empirical data set (X² = 230.094, df = 88, X²/df = 2.61, RMSEA = 0.034, CFI = 0.981, TLI = 0.968, SRMR[subscript W] = 0.028, SRMR[subscript B] =0.064) 3) The most effect factor in student level was the effect of conscientiousness on business statistics homework effort (0.667), the effect of business statistics homework quality on business statistics homework motivation (0.620), the effect of business statistics homework motivation on business statistics homework effort (0.219) respectively. The most effect factor in classroom level is the effect of business statistics homework quality on business statistics homework (0.954), the effect of business statistics homework effort on business statistics achievement (0.925) and the effect of business statistics homework motivation on business statistics homework effort (0.833) respectively
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17085
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.621
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.621
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanreutai_kl.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.