Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1728
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพันธวัศ สัมพันธ์พานิช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคกลาง)-
dc.coverage.spatialนนทบุรี-
dc.date.accessioned2006-08-12T16:57:51Z-
dc.date.available2006-08-12T16:57:51Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9746394142-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1728-
dc.description.abstractระบบวนเกษตรแบบสวนบ้าน เป็นระบบวนเกษตรประเภทหนึ่ง ซึ่งมีการพัฒนาจากการปลูกพืชชนิดต่างๆ รอบที่อยู่อาศัย เพื่อการบริโภคเป็นหลัก ซึ่งต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นการผสมผสานระหว่างไม้ผล ไม้ป่า และพืชล้มลุกประเภทต่างๆ เพื่อการบริโภคและการค้า โดยคำนึงถึงความเหมาะสม ความต้องการ และความถนัดของราษฎร์ในแต่ละท้องถิ่น ประกอบกับผลประโยชน์ที่ได้นั้นเป็นผลของปฏิกิริยาที่มีต่อกันระหว่างเศรษฐกิจและนิเวศวิทยาในพื้นที่นั้นๆ พื้นที่สวนบ้านและพื้นที่สีเขียวในเมือง ชานเมืองและเขตปริมณฑล มีคุณค่าและให้ประโยชน์อย่างมากต่อคนเมือง แต่ปัจจุบันได้ถูกคุกคามจากภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของคนเมือง สวนบ้านจึงถูกเปลี่ยนแปลงเป็นพื้นที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ ศูนย์การค้า และการอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งการขยายตัวของเมืองนี้ ทำให้พื้นที่สีเขียวและพื้นที่สวนบ้านที่เคยเป็นชานเมืองและเขตปริมณฑลต้องกลายเป็นเมืองหรือสังคมเมืองไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลพื้นฐานทางด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย การแปลภาพถ่ายทางอากาศ จากแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศปี พ.ศ. 2495, 2510, 2517, 2525, 2530 และปี 2539 และเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ร่วมกับการแปลภาพถ่ายทางอากาศ ถึงการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากผลการศึกษาพื้นที่สวนบ้านในปัจจุบัน พบว่าพื้นที่เกษตรกรรมได้เปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์พื้นที่ไปเป็น พื้นที่พักอาศัยเป็นส่วนใหญ่โดยมีเปอร์เซ็นต์เพิ่มสูงขึ้นจากปี พ.ศ. 2495 ถึง 48.75% ซึ่งปรากฏในรูปแบบของหมู่บ้านจัดสรรอาคารพาณิชย์ และเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่นาในปัจจุบันลดลงถึง 50.9% และพื้นที่ส่วนลดลง 2.85% จากปี พ.ศ. 2495 ส่วนพื้นที่อื่นๆ ได้แก่ สถานที่ราชการ โรงเรียน ศาสนสถานมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์พื้นที่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น การขยายตัวเพิ่มขึ้นของโครงข่ายเส้นทางคมนาคมสายต่างๆ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินที่สูงขึ้นการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรสู่สังคมอุตสาหกรรม การขาดนโยบายควบคุมการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาภัยธรรมชาติ การได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งสิ้น ซึ่งการลดลงของพื้นที่สวนบ้านนี้ก่อให้เกิดผลกระทบตามมามากมายทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาที่สำคัญในปัจจุบัน ดังนั้นรายงานการวิจัยเรื่อง ผลกระทบที่มีต่อระบบวนเกษตรแบบสวนบ้าน บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี อันเนื่องมาจากการขยายตัวของสังคมเมือง จึงเป็นโครงการวิจัยศึกษาที่ต่อเนื่องของ พันธวัศ (2540) เรื่อง เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่มีต่อระบบวนเกษตรแบบสวนบ้านในเมืองและชนบท และผลของการศึกษาวิจัยดังกล่าวทั้งสองโครงการ จะนำไปสู่การจัดเตรียมนโยบายและแนวทางการวางแผนการใช้ที่ดิน รวมทั้งการส่งเสริม การอนุรักษ์ระบบวนเกษตรแบบสวนบ้านและพื้นที่สีเขียว เพื่อป้องกันแก้ไข ปัญหาสภาวะแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้นกับพื้นที่สวนบ้านในเมืองและพื้นที่สีเขียวต่อไปen
dc.description.abstractalternativeHomegarden as an Agroforestry establish and development of plants culture around house hold for main the consumption, until it has change by mixed plants is fruits trees and herbs for consume and commerce. The homegarden to consider in appropriation, needs and experience of farmers in the village, component useful has effective on economy and ecology in fit areas. The urban homegarden and green areas and around city it beneficially be urban people and now, the homegardens to invade from status of economy and society has changed was real estate, housing, department store and industrial etc. Effect of hamegardens to become continue urbanization. The this study to treat on basics data collection, airial photo translation of year in 1952, 1967, 1974, 1982, 1987 and 1996 and field survey in Amphoe muang, Nonthaburi for use analytical to be with airial photo translation. The results showed change from the past to the present. The present of agricultural areas to change to most residence areas increase about 48.75% from year in 1952 and change percentage of paddy field areas descend to 50.9% in the present and 2.85% of an orchard areas from year in 1952. The government site, educate site and a religion site has a little change of Land use. The main factor at change occurrence of agricultural areas and homegarden is increase of communication, transportation, volume of people, price of land, social agriculture to industrial, to be absent from policy in control of land use, problem of nature and the high of education, totally is effective of change. The impacts of urbanization on green area and homegarden agroforestry system in Amphoe muang, Nonthaburi is continue project of Mr. Pantawat (1997) title in comparison of environmental change on urban and rural homgarden as an agroforestry, The both project use to prepare of policy in land use planning, promotion and conservation homgarden as an agroforestry and green areas for protection of environmental problem.en
dc.description.sponsorshipทุนอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดินen
dc.format.extent30803923 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.ispartofการวิจัยนี้เป็นการวิจัยต่อเนื่องจากเรื่อง "เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่มีต่อระบบวนเกษตรแบบสวนบ้าน ในเมืองและชนบท" ของ พันธวัศ สัมพันธ์พานิช-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectระบบวนเกษตรen
dc.subjectสวนบ้าน--นนทบุรีen
dc.subjectวนเกษตร--นนทบุรีen
dc.subjectสังคมเมืองen
dc.subjectเมือง--การเจริญเติบโตen
dc.titleผลกระทบที่มีต่อระบบวนเกษตรแบบสวนบ้าน บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี อันเนื่องมาจากการขยายตัวของสังคมเมือง : รายงานการวิจัยen
dc.title.alternativeImpacts of urbanization on green area and homegarden agroforestry system in Amphoe Muang, Nonthaburi Homegarden as an agroforestry in Thailanden
dc.typeTechnical Reporten
Appears in Collections:Env - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PantawatHome.pdf21.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.