Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17387
Title: การควบคุมกำลังคนในสมัยรัตนโกสินทร์ก่อนการจัดการเกณฑ์ทหาร (พ.ศ.2325-2448)
Other Titles: Control of manpower during the Bangkok Period Prior to the tntroduction of modern conscription
Authors: นันทิยา สว่างวุฒิธรรม
Advisors: บุษกร กาญจนจารี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การเกณฑ์ทหาร
กูย
ไพร่
กำลังคน
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2325-
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับระบบการควบคุมกำลังคนตั้งแต่สมัยเริ่มตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ วิเคราะห์นโยบายของรัฐตลอดจนกลไกและมาตรการต่างๆที่รัฐใช้ในการควบคุม และใช้ประโยชน์จากกำลังคนซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ศึกษาการมอบอำนาจให้มูลนายทั้งในราชธานีและหัวเมืองควบคุมไพร่ การแบ่งแยกไพร่สังกัดมูลนายทั้งไพร่ชายและไพร่หญิงโดยวิเคราะห์ประเภทของไพร่ โดยเฉพาะไพร่ชายตามหน้าที่และตามสังกัดมูลนาย เพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆโดยตรง ตลอดจนการดำเนินพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการยกเลิกระบบการควบคุมกำลังคนแบบเดิม และนำวิธีการควบคุมกำลังคนแบบใหม่มาใช้ จากการวิจัยพบว่า รัฐมีวิธีการควบคุมคนส่วนใหญ่ในราชอาณาจักร คือ คนไทย รวมทั้งลาว มอญ เขมร และญวน ที่อพยพเข้ามาและถูกกวาดต้อนเข้ามาในราชอาณาจักรไว้ด้วยกันภายใต้ระบบไพร่ และอีกพวกหนึ่งคือ ชาวจีน และชาวตะวันตก ซึ่งจัดไว้เป็นพวกคนต่างชาติที่รัฐให้อิสระจากการควบคุม ยกเว้นบางพวกที่เต็มใจเข้าอยู่ในระบบไพร่ด้วย ภายใต้ระบบไพร่รัฐมอบให้มูลนายทั้งเจ้านาย และขุนนางที่มีตำแหน่งในการบริหารราชการแผ่นดิน ควบคุมไพร่ไว้เป็นหมู่ หมวด กอง และกรม โดยใช้มาตรการสักเลกและชำระเลก มูลนายทำหน้าที่เป็นคนกลางในการเรียกเก็บผลประโยชน์จากไพร่ในรูปของการส่งส่วยให้รัฐ และการเกณฑ์แรงงานบังคับ รวมทั้งใช้งานส่วนตัวของมูลนาย กำลังคนจึงเป็นฐานอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมทั้งของรัฐและมูลนาย จากภาวะความจำเป็นเมื่อแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ทำให้รัฐไม่เข้มงวดต่อการควบคุมกำลังคนนัก ปรากฏว่าระบบการควบคุมมีลักษณะยืดหยุ่นในตัวบทกฎหมาย ตลอดจนมีความอะลุ้มอล่วยในการบังคับใช้ในภาคปฏิบัติ รัฐไม่เข้มงวดต่อการแบ่งแยกไพร่ให้คงสังกัดแน่นอน หรือต่อการทำงานตามหน้าที่อย่างตายตัว ทำให้ไม่มีความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างหน้าที่ของไพร่ประเภทต่างๆทั้งไพร่สมและไพร่หลวง ดังที่เข้าใจกันโดยทั่วไป นอกจากนี้รัฐยังให้อิสระแก่ไพร่ในการเคลื่อนย้ายและเดินทาง เป็นที่น่าสังเกตว่ารัฐเพียงแต่วางนโยบายการควบคุมเป็นระบบในลักษณะที่เป็นกรอบอย่างหลวมๆ ภายในกรอบยืดหยุ่นและอะลุ้มอล่วยได้ และมักถูกปรับให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ในขณะเดียวกันผลของการใช้นโยบายดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาความสับสน และไร้ประสิทธิภาพ ปัญหาเหล่านี้สืบเนื่องและทับถมมากขึ้นจนทำให้การควบคุมกำลังคนเป็นภาระของมูลนาย และในสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปและความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีการปฏิรูปในทุกๆด้าน ระบบการควบคุมกำลังคนแบบเดิมจึงหมดประโยชน์ ทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ระบบการควบคุมกำลังคนแบบเดิมจึงถูกยกเลิกไปในที่สุด
Other Abstract: This thesis is a study of the system of the control of manpower since the beginning of the Bangkok period. It analyzes state policy as well as measures used to mobilize and utilize manpower, its main resources. It explains how the mun nai were assigned the control of the phrai in the capital and the central provinces as distinct from those in outlying and remote provinces. The phrai, male and female, were registered into units. The male being the country direct resources were classified into categories according to the nature of their duties. This traditional system of the control of manpower was gradually and eventually abolished by King Chulalongkorn. It is found that the majority of the population Thai and the minorities of Laos, Mon, Khmer and Vietnamese immigrants and captives were all included in a system of control known as the “phrai system”. Chinese and westerners, on the other hand, were regarded as aliens and were thus excluded from this system of control, only with a few exceptions. Within the phrai system, members of the royal family and officials formed the ruling class known as the mun nai and were given the responsibility of controlling the phrai by means of registering, tattooing and grouping them into mu, muad, kong and kom. The duty of the mun nai was to recruit the phrai to supply the state with corvée as well as required produces in place of corvée. The mun nai themselves were given access to phrai’s labour for personal ends. Consequently, manpower became undoubtedly economic, political and social resources and power base for the state and the mun nai. In accordance with the political, social and economic condition during the early Bangkok period, the government allowed a certain degree of leniency and laxity in the control of manpower both in the form of the degrees themselves as well as in their implementation. The phrai were not strictly categorized nor were their duties distinctly divided. Hence there was no clear distinction between the duties of the phrai som and phrai luang as generally believed by historians. Another interesting point is that the phrai were allowed, to a certain extent, to move and travel. Thus, the state had an accommodating policy for the control of manpower which had always been adapted according to changing conditions. However, the policy of leniency and laxity brought about confusion and inefficiency. With changing economic conditions and urgent need for reforms in different fields, the traditional system of control of manpower became futile. Once it was realized that the system had outlived its usefulness, it was eventually abolished.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17387
ISBN: 9745610992
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuntiya_Sw_front.pdf438.61 kBAdobe PDFView/Open
Nuntiya_Sw_intro.pdf278.84 kBAdobe PDFView/Open
Nuntiya_Sw_ch1.pdf842.34 kBAdobe PDFView/Open
Nuntiya_Sw_ch2.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open
Nuntiya_Sw_ch3.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Nuntiya_Sw_ch4.pdf668.3 kBAdobe PDFView/Open
Nuntiya_Sw_ch5.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Nuntiya_Sw_back.pdf828.67 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.