Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17922
Title: ความตรงตามสภาพและความเที่ยงของแบบสอบสีของลูเชอร์ ในการจำแนกสัมฤทธิผลทางการเรียน และการกระทำความผิดของวัยรุ่น
Other Titles: Concurrent validity and reliability of the luscher color test in classifying academic achievement and juvenile delinquency
Authors: วนิดา พชระนันท์
Advisors: สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: sompoch.l@chula.ac.th, isompoch@hotmail.com
Subjects: วัยรุ่น -- จิตวิทยา
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อที่จะหาค่าความตรงตามสภาพและความเที่ยงของแบบสอบสีของ ลูเชอร์ ในการจำแนกวัยรุ่นที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูง ที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำ และที่กระทำความผิด กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 ที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงสุด 30 คน และต่ำสุด 30 คน ของโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคมและผู้กระทำผิดจากบ้านเมตตาและบ้านปราณี 30 คน ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างเลือกสีของลูเชอร์ทีละคน และเลือก 2 ครั้ง และนำรูปแบบการเลือกสีมาแปลงเป็นคะแนน ซึ่งผลปรากฏว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการเลือกสีของกลุ่มวัยรุ่นที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูง แตกต่างจากค่าเฉลี่ยของกลุ่มวัยรุ่นที่กระทำความผิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ไม่มีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนการเลือกสีระหว่างกลุ่มวัยรุ่นที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูง และที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำ 3) ไม่มีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนการเลือกสีระหว่างกลุ่มวัยรุ่นที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำและกลุ่มวัยรุ่นที่กระทำความผิด จากการหาค่าความเที่ยงสอนแบบซ้ำ พบว่า ได้ค่าสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ 0.83, 0.84 และ 0.74 สำหรับกลุ่มวัยรุ่นที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูง, ที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำ และที่กระทำผิดตามลำดับ
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the concurrent validity and the reliability of The Luscher Color Test in classifying high and low academic achievement students and juvenile delinquents. The Subjects included 60 m.s.4-5 students from Yannawetwithayakom School, 30 of them with the highest GPA and 30 with the lowest GPA of their group and 30 juvenile delinquents from Ban Meta and Ban Pranee. The Luscher Color Test was administered to all the subjects. The Patterns of color selection were converted to color scores by using Sulun's Scoring Scale. The color scores were analysed. Results showed that 1). There was significant difference of color scores between high academic achievement students and juvenile delinquents; 2) There was no significant difference between high and low academic achievement students; 3) There was no significant difference between low academic achievement students and juvenile delinquents. The test-retest reliability of color scores of each group were calculated. The reliability of the color scores of high, low academic achievement students and juvenile delinquents were .83, .84 and .74 respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17922
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vanida_Pa_front.pdf325.48 kBAdobe PDFView/Open
Vanida_Pa_ch1.pdf433.18 kBAdobe PDFView/Open
Vanida_Pa_ch2.pdf336.48 kBAdobe PDFView/Open
Vanida_Pa_ch3.pdf313.94 kBAdobe PDFView/Open
Vanida_Pa_ch4.pdf343.91 kBAdobe PDFView/Open
Vanida_Pa_ch5.pdf257.93 kBAdobe PDFView/Open
Vanida_Pa_back.pdf457.11 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.