Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17930
Title: ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับสัมฤทธิผลทางการเรียนระหว่างนักเรียน ที่มีผลสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงและต่ำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ห้า ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Selected factors related to learning achievement between high and low achievers at the mathayom suksa five level in Bangkok Metropolis
Authors: วัลลภา จันทร์เพ็ญ
Advisors: วัชรี ทรัพย์มี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: watcharee@chula.ac.th
Subjects: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษานิสัยในการเรียนทัศนคติต่อการเรียนและความรับผิดชอบของนักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงและนักเรียนมีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำ แล้วสร้างสมการทำนายผลสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงและต่ำจากตัวทำนายที่ดีที่สุด พร้อมทั้งทำการสำรวจลักษณะของเพื่อนที่คบ และการใช้เวลาของนักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงและต่ำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม.5) สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา ในส่วนกลาง เขตกรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 320 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มนักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูง 160 คน ในจำนวนนี้เป็นนักเรียนชาย 55 คน นักเรียนหญิง 105 คน และกลุ่มนักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำ 160 คน เป็นนักเรียนชาย 80 คน นักเรียนหญิง 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสำรวจนิสัยในการเรียนและทัศนคติต่อการเรียน (The Surver of Study Habits and Attitudes) ซึ่ง ศรีสมร พุ่มสะอาด พัฒนามากจากแบบสำรวจของบราวน์และโฮลท์ซแมน (Brown and Holtzman) และแบบสำรวจอีก 3 ฉบับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองมีดังนี้คือ แบบสำรวจความรับผิดชอบ แบบสำรวจลักษณะของเพื่อนที่ครบ และแบบสำรวจการใช้เวลา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ร้อยละ t-tests และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นๆ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. นักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงมีนิสัยในการเรียน ทัศนคติต่อการเรียนดีกว่านักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำ และนักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงมีความรับผิดชอบสูงกว่านักเรียนที่มีผลสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำ 2. นิสัยในการเรียน ทัศนคติต่อการเรียน และความรับผิดชอบมีความสัมพันธ์กับสัมฤทธิผลทางการเรียนทั้งกลุ่มที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงและต่ำในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3. นิสัยในการเรียน ทัศนคติต่อการเรียน และความรับผิดชอบร่วมกันพยากรณ์สัมฤทธิผลทางการเรียนของนักเรียนทั้งสองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4. นักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงพบว่า กลุ่มตัวทำนายที่ดีที่สุดคือทัศติต่อการเรียน และความรับผิดชอบ ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของสัมฤทธิผลทางการเรียนได้ร้อยละ 18.16 (R^2= 0.1816) สำหรับนักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำ ตัวทำนายที่ดีที่สุดคือนิสัยในการเรียน ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของสัมฤทธิผลทางการเรียนได้ร้อยละ 37.18 ( R^2= 0.3718) 5. นักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูง ส่วนมากครบเพื่อนสนิทที่มีลักษณะดังนี้คือ สนใจการเรียน มีความรับผิดชอบการงานดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี กระตือรือร้น เป็นกันเอง คุยสนุกตลบขบขัน ร่าเริง ชอบช่วยเหลือผู้อื่น รักความเจริญก้าวหน้าและมีเหตุผล ตามลำดับ สำหรับนักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำ ส่วนมากครบเพื่อนสนิทที่มีลักษณะดังนี้คือ ร่าเริง เป็นกันเอง มีมนุษยสัมพันธ์ดี คุยสนุกตลบขบขัน เปิดเผยกล้าแสดงออก ทำอะไรตามสบาย ชอบสังคม มีความจริงใจ และชอบร้องเพลงตามลำดับ 6. การใช้เวลาโดยเฉลี่ยของนักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงและต่ำ พบว่า 6.1ในรอบ 1 วันของวันธรรมดา นักเรียนใช้เวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ นักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูง ใช้เวลาในการเรียนร้อยละ 41.17 ในการนอนร้อยละ 30.90 ในการพักผ่อนหย่อนใจร้อยละ 8.26 ช่วยทำงานบ้านร้อยละ 5.42 ในการเดินทางไปและกลับจากโรงเรียนร้อยละ 5.21 ในการรับประทานอาหารร้อยละ 5.21 และอาบน้ำแต่งตัวร้อยละ 3.82นักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำ ใช้เวลาในการเรียนร้อยละ 32.64 ในการเรียนร้อยละ 30.13 ในการพักผ่อนหย่อนใจร้อยละ 15.21 ช่วยทำงานบ้านร้อยละ 6.39 ในการรับประทานอาหารร้อยละ 5.56 และอาบน้ำแต่งตัวร้อยละ 4.17 6.2 ในรอบ 1 วันของวันหยุด นักเรียนใช้เวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ ดังนี้นักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูง ใช้เวลาในการนอนร้อยละ 37.15 ในการเรียนร้อยละ 21.39 ในการพักผ่อนหย่อนใจร้อยละ 18.53 ช่วยทำงานบ้านร้อยละ10.97 ในการรับประทานอาหารร้อยละ 5.76 อาบน้ำแต่งตัวร้อยละ 3.75 และเดินทางออกนอกบ้านร้อยละ 2.43 นักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำ ใช้เวลาในการนอนร้อยละ 38.19 ในการพักผ่อนหย่อนใจร้อยละ 30.56 ช่วยทำงานบ้านร้อยละ 12.29 ในการรับประทานอาหารร้อยละ 6.25 ในด้านการเรียนร้อยละ 5.90 อาบน้ำแต่งตัวร้อยละ 3.96 และเดินทางออกนอกบ้านร้อยละ 2.85
Other Abstract: The purpose of this study were a) to compare study habits, study attitudes and responsibility between high and low achievers. c) to construct multiple regression equations for predicting the academic achievement of high and low achievers. c) to investigate traits of closed-friends and d) to investigate the use of time of high and low achievers. The subject of this study included 320 mathayomsuksa V student from schools in the Bangkok Metropolis. The subjects were divided into two groups : 160 high Achievers ( 55 boys, 105 girls ) and 160 low achievers ( 80 boys, 80 girls ). The instruments employed in this study were a) a survey of study habits and study attitudes. b) a survey of responsibility. c) a survey of the traits of closed-friend. d) a survey of use of time. The data were analyzed by computing percentages, t-tests and the Multiple Regression Analysis. The major findings of the study were as follow: 1. High Achievers had better study habits, study attitudes and responsibility than low achievers. 2. There were correlations between study habits, study attitueds, responsibility and academic achievement of the two groups, significant at the .01 level. 3. Using study habits, study attitudes and responsibility as predictors, the multiple correlation between these three pre¬dictors and academic achievement was found to be significant at the .01 in the two groups. 4. For high achievers the best predictors of academic achievement were study attitudes and responsibility ( R^2= 0.1816 ) For low achievers the best predictor of academic achievement was study habits (R^2= 0.3718 ) 5. High achievers chose friends interested in learning, had good responsibility, had good human relationships, enthusiastic, friendly, humorous, cheerful, helpful, progressive and rational. Low achievers chose friends who were cheerful, friendly, had good human relationships, humorous, open, assertive, easy going sociable, sincere and who like to sing. 6. In average the use of time for high and low achievers were as follows: 6.1 On ordinary days, High Achievers spent 41.17 percentages for studying, 30.90 for sleeping, 8.26 for resting, 5.42 for helping to do housework, 5.21 for travelling between house and school, 5.21 for eating and 3.82 for taking a bath and dressing up. 6.2 On holidays, High Achievers spent 37.15 percentages for sleeping, 21.39 for studying, 18.53 for resting, 10.97 for helping to do housework, 5.76 for eating, 3.75 for taking a bath and dressing up and 2.43 for travelling. Low achievers spent 38.19 percentages for sleeping, 30.56 for resting, 12.29 for helping to do housework, 6.25 for eating, 5.90 for studying, 3.96 for taking a bath and dressing up and 2.85 for travelling.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17930
ISBN: 9745635219
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wallapa_Ch_front.pdf464.99 kBAdobe PDFView/Open
Wallapa_Ch_ch1.pdf541.31 kBAdobe PDFView/Open
Wallapa_Ch_ch2.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Wallapa_Ch_ch3.pdf646.78 kBAdobe PDFView/Open
Wallapa_Ch_ch4.pdf687.22 kBAdobe PDFView/Open
Wallapa_Ch_ch5.pdf765.77 kBAdobe PDFView/Open
Wallapa_Ch_back.pdf957.52 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.