Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18087
Title: ความสามารถในการอนุรักษ์ความคิดเกี่ยวกับความยาว มวลสารและปริมาณของเหลว โดยวิธีทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด
Other Titles: Acquistion of conservation of length, mass and liquid quantity through cognitive dissonance
Authors: วัลนิกา ฉลากบาง
Advisors: โยธิน ศันสนยุทธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความจำ
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาความสามารถในการอนุรักษ์ความคิดเกี่ยวกับความยาวมวลสารและปริมาณของเหลวในเด็กที่มีอายุระหว่าง 5.5-11 ปี โดยใช้วิธีการฝึกแบบทำให้เกิดความขัดแย้งทางด้านความคิด กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 112 คน ของโรงเรียนวัดหัวลำโพง สังกัดกรุงเทพมหานคร ขั้นตอนในการทำวิจัยเรื่องนี้มี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 (การทดสอบครั้งแรก) กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามจำนวน 4 ชุด เป็นรายบุคคลคือ แบบทดสอบการอนุรักษ์ความคิดเกี่ยวกับมวลสาร แบบทดสอบการอนุรักษ์ความคิดเกี่ยวกับปริมาณของเหลว แบบทดสอบอนุรักษ์ความคิดเกี่ยวกับความยาวของไม้สองอัน และแบบทดสอบการอนุรักษ์ความคิดเกี่ยวกับความยาวของไม้หลายอัน ตามลำดับ หลังจากนั้นผู้ทำการทดสอบจะแบ่งผู้รับการทดสอบตามความสามารถในการอนุรักษ์ออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ กลุ่มละ 28 คน คือกลุ่มที่ไม่มีมโนทัศน์ในการอนุรักษ์ กลุ่มหัวเลี้ยวหัวต่อ กลุ่มที่มีมโนทัศน์ในการอนุรักษ์และกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึก ส่วนผู้ที่ไม่ถูกจัดเข้ากลุ่มดังกล่าวข้างต้น จะทำหน้าที่เป็นผู้สังเกตการณ์ในการฝึก ระยะที่ 2 (ระยะฝึก) นำกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มต่างๆ มาเข้ารับการฝึกโดยให้ตอบคำถามและให้เหตุผลที่ขัดแย้งกับคำตอบและเหตุผลเดิมที่กลุ่มตัวอย่างเคยตอบมาก่อนในการทดสอบครั้งแรก สำหรับกลุ่มหัวเลี้ยวหัวต่อนั้นจะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย กลุ่มละ 14 คน เพื่อรับการฝึกที่ต่างกัน คือ กลุ่มหนึ่งคือได้รับคำตอบที่ถูก ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งได้รับคำตอบที่ผิด ระยะที่ 3 (ทดสอบครั้งที่ 1 หลังการฝึก) หลังการฝึกของแต่ละกลุ่มเสร็จลงเป็นเวลา 15 นาที กลุ่มตัวอย่างจะต้องตอบแบบทดสอบเป็นครั้งที่ 2 ด้วยแบบทดสอบชุดเดียวกับการทดสอบครั้งแรก และกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกก็จะเข้ารับการทดสอบด้วย ระยะที่ 4 (ทดสอบครั้งที่ 2 หลังการฝึก) หลังการฝึกในระยะที่ 2 เสร็จสิ้นลงเป็นเวลา 7 วัน กลุ่มตัวอย่างในทุกๆ กลุ่มก็จะต้องตอบแบบทดสอบเป็นครั้งที่ 3 ข้อมูลที่ได้จากการทดสอบทั้ง 3 ครั้งได้ถูกนำมาวิเคราะห์หาค่ามัชฌิมเลขคณิตและเปรียบเทียบความแตกต่างของค่ามัชฌิมเลขคณิตด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยปรากฏว่า กลุ่มที่ไม่มีมโนทัศน์ในการอนุรักษ์และกลุ่มหัวเลี้ยวหัวต่อที่ได้รับการฝึกให้ตอบคำถามและให้เหตุผลแบบมีมโนทัศน์ในการอนุรักษ์หรือได้รับการฝึกด้วยคำตอบที่ถูกมีความสามารถในการอนุรักษ์ความคิดเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่กลุ่มหัวเลี้ยวหัวต่อที่ได้รับการฝึกให้ตอบคำถามและให้เหตุผลแบบไม่มีมโนทัศน์ในการอนุรักษ์หรือได้รับการฝึกด้วยคำตอบที่ผิดไม่พบความก้าวหน้าของความสามารถในการอนุรักษ์ความคิดเช่นเดียวกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกสำหรับกลุ่มที่ไม่มีมโนทัศน์ในการอนุรักษ์ไม่พบการถอยหลังในความสามารถในการอนุรักษ์ความคิด
Other Abstract: The purpose of this research was to investigate the conserva¬tion of length, mass and liquid quantity in Thai children aged 5.5 to 11 years by using the cognitive dissonance procedure as a training method. Subjects were 112 first, second, third and forth graders from Wat Hualampong School in Bangkok metropolis. There were 4 sessions in this research. Session 1. (Pretest) Each subject was individually pretested on four tests : the conservation of mass, the conservation of liquid quantity, the conservation of length using two sticks, and the conservation of length using several sticks respectively. The subjects were, then, divided into four groups: nonconservers, transitional conservers, conservers and control group. Each group consisted of 28 subjects. Subjects that were not in those four groups served as the observers in the training session. Session 2 (Training Session). Each group except the control group received directions and training from the experimenter with the cognitive dissonance procedure; that is, giving the judgements and reasons contrary to those they gave on the pretest. The transitional conservers were divided into two subgroups and received the different training procedure. One group received correct answers; the other, wrong ones. Session 3 (Posttest 1). Approximately 15 minutes after the training session, each subject was individually posttested on the four tests again. The control group subjects were also posttested in this session. Session 4 (Posttest 2). Approximately 7 days after the train¬ing session, again each subject was individually posttested on the four tests. Data of each test was analysed by the Arithmetic Mean and the comparison of the arithmetic means by the t-test. The results of this research were that the nonconservers and the transitional conservers who were given the correct answers signifi¬cantly gained conservation. The transitional conservers who were given the wrong answers, and the conservers did not significantly lose conser¬vation. The control group did not make progress in conservation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18087
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannika_Ch_front.pdf344.59 kBAdobe PDFView/Open
Wannika_Ch_ch1.pdf501.7 kBAdobe PDFView/Open
Wannika_Ch_ch2.pdf321.12 kBAdobe PDFView/Open
Wannika_Ch_ch3.pdf371.78 kBAdobe PDFView/Open
Wannika_Ch_ch4.pdf257.94 kBAdobe PDFView/Open
Wannika_Ch_ch5.pdf266.92 kBAdobe PDFView/Open
Wannika_Ch_back.pdf455.29 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.