Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18180
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการปฏิบัติการวางแผนครอบครัวของคู่สมรส ในเขตเมืองและเขตชนบท
Other Titles: The comparative study of family planning practice in urban and rural areas
Authors: จำนรรจา ชัยโชณิชย์
Advisors: มาลินี ชอุ่มพฤกษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การวางแผนครอบครัว
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อการศึกษาเปรียบเทียบการปฏิบัติการวางแผนครอบครัวของคู่สมรสในเขตชนบท เขตเมืองอื่นๆ และกรุงเทพมหานคร ประเทศไทยได้ทำการศึกษาลักษณะทั่วๆ ไปทางเศรษฐกิจ สังคม และประชากร อันอาจมีผลต่อการปฏิบัติการวางแผนครอบครัวของคู่สมรสที่กำลังปฏิบัติการวางแผนครอบครัว คู่สมรสที่จะปฏิบัติการวางแผนครอบครัว และต่อการเลือกใช้วิธีการป้องกันการปฏิสนธิ (แบบชั่วคราว หรือถาวร) โดยมีข้อสมมติฐานดังนี้ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และประชากร น่าจะมีผลต่อการปฏิบัติการวางแผนครอบครัวของคู่สมรสที่กำลังปฏิบัติการวางแผนครอบครัวในแต่ละเขต และปัจจัยดังกล่าวนี้จะมีผลต่อการเลือกใช้วิธีป้องกันการปฏิสนธิแบบใดแบบหนึ่งของคู่สมรสในแต่ละเขตนั้นด้วย ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และประชากร น่าจะมีผลต่อการที่จะปฏิบัติการวางแผนครอบครัวของคู่สมรสที่จะปฏิบัติการวางแผนครอบครัวในอนาคตในแต่ละเขต และปัจจัยดังกล่าวนี้จะมีผลต่อการที่จะเลือกใช้วิธีป้องกันการปฏิสนธิแบบใดแบบหนึ่งในอนาคตของคู่สมรสที่อยู่ในแต่ละเขตนั้นด้วย ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ได้จากโครงการวิจัยต่อเนื่องระยะยาวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และประชากรในประเทศไทย (เขตชนบทรอบที่ 2 และเขตเมืองรอบที่ 2) ดำเนินการโดยสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2515 และ เดือน เมษายน-พฤษภาคม 2516 โดยสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือน และภรรยา และสตรีที่สมรสแล้วในครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่าง ผลการศึกษาปรากฏว่า จำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันมีส่วนสัมพันธ์กับการปฏิบัติการวางแผนครอบครัวของคู่สมรสที่กำลังปฏิบัติการวางแผนครอบครัว และคู่สมรสที่จะปฏิบัติการวางแผนครอบครัวในอนาคต โดยที่มีการปฏิบัติสูงที่สุดในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อศึกษาร่วมกับลักษณะทางเศรษฐกิจ อาชีพของสามีมีความสัมพันธ์กันกับการปฏิบัติการวางแผนครอบครัว ด้านสังคม การศึกษามีส่วนสัมพันธ์กับการปฏิบัติการวางแผนครอบครัว คู่สมรสที่มีการศึกษาสูง มีบุตรน้อย นิยมปฏิบัติการวางแผนครอบครัวมากกว่าคู่สมรสที่มีการศึกษาต่ำและมีบุตรมาก ด้านการทำงานนอกบ้านของสตรี สตรีที่ทำงานนอกบ้านกำลังปฏิบัติการวางแผนครอบครัวมากกว่าสตรีที่ไม่ทำ แต่สตรีที่จะปฏิบัติการวางแผนครอบครัวนั้น สตรีที่ทำงานนอกบ้านจะปฏิบัติน้อยกว่าสตรีที่ไม่ทำ ด้านประชากร อายุมีส่วนสัมพันธ์กับคู่สมรสที่กำลังปฏิบัติการวางแผนครอบครัว และจะปฏิบัติการวางแผนครอบครัว โดยที่คู่สมรสที่อายุมากจะเป็นผู้ที่กำลังปฏิบัติการวางแผนครอบครัว มากกว่าคู่สมรสที่อายุน้อย ขณะที่คู่สมรสที่อายุน้อยจะปฏิบัติวางแผนครอบครัวมากกว่าคู่สมรสที่อายุมาก ในด้านวิธีการปฏิสนธิที่เลือกใช้ พบว่าปัจจัยต่างๆ ไม่มีผลต่อการเลือกใช้วิธีป้องกันการปฏิสนธิ ในเขตชนบทเลือกใช้วิธีชั่วคราวเป็นส่วนมาก สำหรับในเขตเมืองอื่นๆ และกรุงเทพมหานคร ไม่มีความแตกต่างกันในการเลือกใช้วิธีป้องกันการปฏิสนธิ
Other Abstract: The purpose of this study is to observe the family planning practice among married couples in rural and urban areas of Thailand. The study also take into account the effect of economic social and demographic factors on family planning practice among married couples who are using contraceptive; methods and plan to use contraceptive methods and choice of contraceptives used (temporary or permanent forms of contraception). The hypotheses are as follows: - Economic, social and demographic factors are likely to determine family planning practice of married couples who are using contraceptive methods and their choice of contraceptives being used. - Economic, social and demographic factors are likely to determine family planning practice of married couples who plan to use contraceptives and their choice of contraceptived to be used. The data used in this study is taken from the National Longitudinal Survey of Social Economic and Demographic Change in Thailand (second round rural and second round urban), conducted by the Institute of Population Studies, Chulalongkorn University. Both surveys were done respectively during April-May 1972 and 1973. The household head, his wife and all married women in each sample were interviewed. It was found that there is a relationship between number of living children and couples who are practicing family planning and plan to practice family planning. The highest percentage of the practicing is in Bangkok. Taking economic factors into account, husband's occupation significantly related to family planning practice, For the social factors, it appeared that married couples with high education and few number of children practive family planning more than married couples with low education and large number of children. Concerning working women, working women are practicing family planning more than housewives but working women plan to practice less than housewives. One demographic factor significantly related to family planning practice is age. Older couples are practicing family planning more than younger couples whereas younger couples plan to practice more than older couples. In addition, contraceptives choice among married couples, various factors have no influence on contraceptives choice. The methods popularly used by rural couples are temporary methods. No difference in contraceptives used for urban couples.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18180
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chumnuncha_Ch_front.pdf353.11 kBAdobe PDFView/Open
Chumnuncha_Ch_ch1.pdf616.64 kBAdobe PDFView/Open
Chumnuncha_Ch_ch2.pdf491.42 kBAdobe PDFView/Open
Chumnuncha_Ch_ch3.pdf820.69 kBAdobe PDFView/Open
Chumnuncha_Ch_ch4.pdf833.55 kBAdobe PDFView/Open
Chumnuncha_Ch_ch5.pdf350.11 kBAdobe PDFView/Open
Chumnuncha_Ch_back.pdf372.28 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.