Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18198
Title: ผลของการใช้เครื่องมือติดต่อสื่อสารที่มีต่อระดับความวิตกกังวล ของผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
Other Titles: Effects of using communication equipment on the anxiety level of the patients with respiratory aids
Authors: ลดาวัลย์ จารุวนาวัฒน์
Advisors: ประนอม โอทกานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: dpnanom@hotmail.com
Subjects: ผู้ป่วย -- จิตวิทยา
ความวิตกกังวล
การสื่อสาร
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาผลการใช้เครื่องมือติดต่อสื่อสารที่มีต่อระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ใส่ท่อเครื่องช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวและได้รับการใส่ท่อเครื่องช่วยหายใจชนิดที่ใส่ทางปากทั้งเพศชายเพศหญิงระหว่างอายุ 20-60 ปี ที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยหนักแผนกอายุกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลตำรวจ และโรงพยาบาลราชวิถี ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2527 ถึง 17 มกราคม 2528 จำนวน 20 คน จับคู่กลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตัวแปรในเรื่องเพศ อายุ ระดับการศึกษา และการวินิจฉัยโรคแล้วสุ่มตัวอย่าง (Random assignment) ออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ดำเนินการทดลองโดยวัดความวิตกกังวลครั้งแรกของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มภายหลังที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจแล้ว 8-16 ชั่วโมง โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตพฤติกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งได้ทดสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และความเที่ยงของแบบสังเกตพฤติกรรม โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยวิธีของ เพียร์สัน ได้ค่าความเที่ยง .77 เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นให้ผู้ป่วยกลุ่มทดลองติดต่อสื่อสารโดยการใช้เครื่องมือ ติดต่อสื่อสารสำเร็จรูปชนิดกลุ่มปุ่มที่ระบุปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยที่ใส่ท่อเครื่องช่วยหายใจไว้จำนวน 12 คำ ส่วนผู้ป่วยกลุ่มควบคุมให้ติดต่อสื่อสารตามวิธีการปกติที่เคยปฏิบัติหลังจากนั้น 24 ชั่วโมง ทำการวัดความวิตกกังวลของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มอีกครั้ง เปรียบเทียบการวิตกกังวลครั้งแรก และครั้งหลังของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มโดยวิธี Wilcoxon matched-pairs siged-ranks test ผลการเปรียบเทียบพบว่า 1. ความวิตกกังวลก่อนการทดลองของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความวิตกกังวลครั้งหลังของผู้ป่วยกลุ่มควบคุมสูงกว่าครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความวิตกกังวลภายหลังการทดลองของผู้ป่วยกลุ่มทดลองน้อยกว่าความวิตกกังวลก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ความวิตกกังวลภายหลังการทดลองของผู้ป่วยกลุ่มทดลองน้อยกว่าความวิตกกังวลของผู้ป่วยกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าเครื่องมือติดต่อสื่อสารสามารถช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจได้
Other Abstract: The purpose of this experimental research was to study, the effects of using communication equipment on the anxiety level of the patients with mechanical respiratory aids. The research samples were 20 male and female patients who had respiratory failure, aging between 20 - 60 years old and were treaten by orotracheal intubation in Medical Intensive Care Unit, Chulalongkorn Hospital, Police Hospital and Rajavithi Hospital. The samples were selected by using matching techniques concerning sex, age, education and medical diagnosis. By random assignment, the samples were devided into control and experimental group. The Pretest - Posttest Control Group Design was utilized in this study. The instrument for experiment was communication equipment. The instrument for collecting data were interview and observational schedule which developed by researcher. The instruments were also tested for content validity and reliability. The data was analysed by wilcoxon matched - pairs signed - ranks test. The results of experiment were as follows. 1. Before the experiment, there was no statistically significant different between the anxiety of the control and experimental group at the .05 level. 2. There was statistically significant different between the anxiety of the pretest and posttest in control group at the .05 level. 3. There was statistically significant different between the anxiety of pretest and posttest in experimental group at the .01 level. 4. After the experiment, there was statistically significant different between the anxiety of the control and experimental group at the .01 level. The study indicated that the communication equipment can be utilized effectively in lessen the anxiety of the patients with respiratory mechanical aids.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18198
ISBN: 9745643866
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ladawan_Ch_front.pdf308.66 kBAdobe PDFView/Open
Ladawan_Ch_ch1.pdf277.87 kBAdobe PDFView/Open
Ladawan_Ch_ch2.pdf633.36 kBAdobe PDFView/Open
Ladawan_Ch_ch3.pdf282.74 kBAdobe PDFView/Open
Ladawan_Ch_ch4.pdf231.25 kBAdobe PDFView/Open
Ladawan_Ch_ch5.pdf300.99 kBAdobe PDFView/Open
Ladawan_Ch_back.pdf452.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.