Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18293
Title: พฤติกรรมการสื่อสารกับสังคมประกิตทางการเมืองศึกษาเฉพาะกลุ่มนักศึกษาวิชาการสื่อสาร
Other Titles: Communication behavior and political socialization : A study among communication students
Authors: พัฒนาวดี ชูโต
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การสื่อสารกับสังคม
ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- ทัศนคติ
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทำให้ประชาชนมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย เป็นวิถีทางหนึ่งที่จะทำให้การพัฒนาการเมืองแบบประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้ และสิ่งที่จะช่วยให้ประชาชนมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยได้นั้น ก็คือกระบวนการสังคมประกิตทางการเมือง ที่ทำการถ่ายทอดโดยผ่านตัวแทนประเภท ใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภท การสื่อสารจัดเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคมที่อาจกล่าวได้ว่า คือ กระบวนการสังคมประกิตนั่นเอง ดังนั้นสื่อต่างๆ จึงถือได้ว่าเป็นตัวแทนประเภทหนึ่งของกระบวนการสังคม ประกิตทางการเมือง ที่มีความสำคัญต่อบุคคล การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์จะศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมการสื่อสารกับกระบวนการสังคมประกิตทางการเมืองในเรื่องทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ความสนใจทางการเมือง ความรู้ทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง และความรู้สึกแยกตนเองจากการเมืองโดยนำปัจจัยประชากร ปัจจัยทางเศรษฐกิจ และปัจจัยทางสังคม เข้าร่วมศึกษาไปพร้อมกันด้วย กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย จำนวน 314 คน ได้แก่ นิสิตนักศึกษาวิชาการสื่อสารชั้นปีที่ 3 และ 4 ประจำปีการศึกษา 2523 ของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ วิทยาลัยกรุงเทพ ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ภาควิชาการโฆษณา และการประชาสัมพันธ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ทั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสถาบัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของกลุ่มตัวอย่างทุกสถาบันอยู่ในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยมากที่สุด เมื่อพิจารณารวมทุกสถาบันคือ การเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากหนังสือพิมพ์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือแนวโน้มของครอบครัวแบบ Concept-Orientation ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คือ การเรียนวิชาด้านรัฐศาสตร์ 3 วิชาขึ้นไป โดยมีการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากหนังสือพิมพ์เป็นปัจจัยอันดับรองลงมา ของวิทยาลัยกรุงเทพคือ การนับถือศาสนาอิสลามหรือไม่นับถือศาสนาใด โดยมีการสื่อสารทางการเมืองกับเพื่อนเป็นปัจจัยอันดับรองลงมา ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่คือ การเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากหนังสือพิมพ์ และของมหาวิทยาลัยรามคำแหงคือ ระดับอายุ 22-27 ปี โดยมีการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากหนังสือพิมพ์เป็นปัจจัยอันดับรองลงมา ในเรื่องความสนใจทางการเมืองของกลุ่มตัวอย่างทุกสถาบันนั้น จะอยู่ในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับความสนใจทางการเมืองมากที่สุดของกลุ่มตัวอย่างเมื่อพิจารณารวมทุกสถาบันคือ การสื่อสารทางการเมืองกับเพื่อน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และของมหาวิทยาลัยรามคำแหงคือ การสื่อสารทางการเมืองกับเพื่อน ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คือ การเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากหนังสือพิมพ์ และของวิทยาลัยกรุงเทพคือ การเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากวิทยุ ส่วนความรู้ทางการเมืองของกลุ่มตัวอย่างทุกสถาบัน อยู่ในระดับปานกลางเป็นส่วนใหญ่ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับการมีความรู้ทางการเมืองมากที่สุด เมื่อพิจารณารวมทุกสถาบันคือ การสื่อสารทางการเมืองกับเพื่อน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือ การนับถือศาสนาพุทธ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่คือ การเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากหนังสือพิมพ์ของวิทยาลัยกรุงเทพคือ เพศชาย โดยมีการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากหนังสือพิมพ์ เป็นปัจจัยอันดับรองลงมา และของมหาวิทยาลัยรามคำแหงคือ การสื่อสารทางการเมืองกับเพื่อน สำหรับการมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นปรากฏว่า ทุกสถาบันมีส่วนร่วมทางการเมืองอยู่ในระดับปานกลางเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มีส่วนร่วมทางการเมืองอยู่ในระดับสูงและระดับปานกลางในจำนวนที่เท่ากัน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากที่สุด เมื่อพิจารณารวมทุกสถาบันคือ การสื่อสารทางการเมืองกับเพื่อน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือ การสื่อสารทางการเมืองกับเพื่อน ของวิทยาลัยกรุงเทพ คือ การเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากวิทยุ และของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือการสื่อสารทางการเมืองกับครูอาจารย์ ตัวแปรในเรื่องความรู้สึกแยกตนเองจากการเมือง นับเป็นตัวแปรที่มีลักษณะแตกต่างไปจากตัวแปรอื่นๆ คือถ้าต้องการจะพัฒนาการเมืองแบบประชาธิปไตยแล้ว ควรลดระดับความรู้สึกแยกตนเองจากการเมืองลง ผลการวิจัยพบว่า ทุกสถาบันมีความรู้สึกแยกตนเองอยู่ในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีความรู้สึกแยกตนเองจากการเมืองในระดับปานกลางมากกว่าระดับสูงเล็กน้อย และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามต่อความรู้สึกแยกตนเองจากการเมืองมากที่สุด เมื่อพิจารณารวมทุกสถาบัน คือ การมีตำแหน่งเป็นกรรมการนักศึกษา โดยมีการสื่อสารทางการเมืองกับครูอาจารย์ เป็นปัจจัยอันดับรองลงมา ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือการเป็นสมาชิกชมรมประเภทกีฬาและบันเทิง โดยมีการสื่อสารทางการเมืองกับครูอาจารย์เป็นปัจจัยอันดับรองลงมา ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากนิตยสาร ของวิทยาลัยกรุงเทพ คือการมีตำแหน่งเป็นกรรมการนักศึกษา โดยมีการสื่อสารทางการเมืองกับครอบครัวเป็นปัจจัยอันดับรองลงมา และของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่คือ การสื่อสารทางการเมืองกับครูอาจารย์ สรุปได้ว่า ผลของการวิจัยในครั้งนี้เป็นไปตามแนวความคิดที่ว่า พฤติกรรมการสื่อสารย่อมมีความสัมพันธ์กับการสังคมประกิตทางการเมืองในระดับที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงอาจนำการสื่อสารสื่อมวลชนและสื่อบุคคลไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเมืองแบบประชาธิปไตยได้
Other Abstract: To make people subscribing to the democratic political culture is one way that will leads to the democratic political development. And what will help people having democratic political culture is the political socialization process which will transmit it through one or more than one agents. Communication is a social infrastructure which, it could be said, is simply political socialization process. Thus, the media could be regarded as one type of agent of political socialization process which is of great significance for an individual. The objective of this research is to study the relationship of communication behavior and the political socialization in the democratic political attitudes, political interest, political knowledge, political participation, and political alienation. Simultaneously, the demographic, economic and social factors are also studied in the research work. The samples, consisting of 314 students, were chosen from the 1980 academic year junior and senior students of Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University; School of Journalism and Mass Communication, Thammasat University; School of Communication Arts, Bangkok Collage; Department of Mass Communication, Faculty of Humanities, Chieng Mai University; Department of Advertising and Public Relations, Faculty of Business Administration, Ramkhamhaeng University. The comparison among the institutions is also investigated. The research findings could be concluded as the following:- The democratic political attitudes of the sample groups are mostly in a high level. And the factor which is most positively correlated to the democratic political attitudes, considering all samples, is the exposure to the political information from newspapers. For Chulalongkorn University, the factor most positively correlated to the democratic political attitudes is the “Concept Oriented” type of family communication pattern. For Thammasat University, is having taken more than three political science courses, and secondly, the exposure to the political information from newspaper. For Bangkok College, is the subscription to Islamic religion or none, with the political communication with friends comes in the second place. For Chieng Mai University is the exposure to political information from newspapers. And, finally, for Ramkhamhaeng University is the factor of age between 22 -27, and subsequently, the exposure to political information from newspapers. The political interest of all samples is mostly in high level, and the factor most positively correlated to it is the political communication with friends. The factor for Chulalongkorn University, Chieng Mai University and Ramkhamhaeng University is the political communication with friends, Thammasat University is the political information exposure from newspapers and for Bangkok College is the political information from radio. Regarding to political knowledge variable, all sample groups have political knowledge at the moderate level. And the factor most positively correlated to the political knowledge, examining all sample, is the political communication with friends. For Chulalongkorn sample, the factor having most positively correlated with the political knowledge is the subscription to Buddhism. For Thammasat and Chieng Mai University is the exposure to political information from newspapers. For Bangkok College is the male sex, followed by the exposure to political information from newspapers. And, finally, for Ramkhamhaeng University is the political communication with friends. Concerning the political participation variable, it is resulted that in the most part, the samples from every institution, but Chieng Mai University, moderately participated in political events. (Chieng Mai sample possessed political participation equally both in high and medium levels.) The most positive correlation factor with the political participation, considering over all samples is the exposure to political information with friends. This factor is also resulted in Chulalongkorn, Thammasat and Ramkhamhaeng samples. For Bangkok College, the factor that is most positively correlated with the political participation is the exposure to the political information from radio. And finally, for Chieng Mai University is the political communication with teachers. The political alienation variable is categorized differently from other variables. That is, if the democratic political development is to occur, the political alienation has to be decreased. It is found in the research that the samples from every institution possess the political alienation in a high level, (except Chulalongkorn sample which politically alienated a little bit more in moderate level than in high level.) In overall consideration, the factor the most negatively correlated with the political alienation is subscribing student leaders’ position following by the factor of political communication with teachers. For Chulalongkorn sample, the factor is the membership of Sports and Entertainment Group; followed by political communication with teachers. For Thammasat and Ramkhamhaeng Universities, is the exposure to political information from magazines. For Bangkok College, is having student leaders’ position and, subsequently, political communication with family. Lastly, for Chieng Mai sample, the factor the most negatively correlated with political alienation is political communication with teachers. Hence, it could be concluded that the findings of this research follow the theory which says the communication behaviors’ are correlated to the political socialization in different levels. Therefore, it is worth utilizing communication, either mass or interpersonal communication, in the democratic political development.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18293
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattanawadee_Xu_front.pdf645.79 kBAdobe PDFView/Open
Pattanawadee_Xu_ch1.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Pattanawadee_Xu_ch2.pdf449.57 kBAdobe PDFView/Open
Pattanawadee_Xu_ch3.pdf319.92 kBAdobe PDFView/Open
Pattanawadee_Xu_ch4.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Pattanawadee_Xu_ch5.pdf496.65 kBAdobe PDFView/Open
Pattanawadee_Xu_ch6.pdf758.59 kBAdobe PDFView/Open
Pattanawadee_Xu_ch7.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Pattanawadee_Xu_ch8.pdf625.46 kBAdobe PDFView/Open
Pattanawadee_Xu_back.pdf873.34 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.