Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18359
Title: การแยกของผสมไลโคพีนและตัวทำละลายโดยเมมเบรนไคโตซาน
Other Titles: Separation of lycopene/solvent mixtures by chitosan membranes
Authors: พราหมณ์ ยอดจันทร์
Advisors: ขันทอง สุนทราภา
ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: khantong@sc.chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ไลโคพีน
ไคโตแซน
Lycopene
Chitosan
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในขั้นตอนการเลือกสารสกัดไลโคพีนจากซอสมะเขือเทศแทนเฮกเซนพบว่า สามารถใช้ แอซีโทนในอัตราส่วนซอสมะเขือเทศต่อสารสกัด เท่ากับ 1 ต่อ 10 โดยปริมาตร ได้ความเข้มข้นสารไลโคพีนเป็น 37.5±3.2 พีพีเอ็ม เมมเบรนไคโตซานที่ศึกษาในงานวิจัยนี้ ประกอบด้วยแบบไม่เชื่อมขวางซึ่งได้จากการอบแห้ง ณ อุณหภูมิ 40, 50 และ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2, 4 และ 6 ชั่วโมง และแบบเชื่อมขวางซึ่งได้จากการนำเมมเบรนแบบไม่เชื่อมขวางแช่ในสารละลายกรดซัลฟิวริกร้อยละ 4 โดยน้ำหนัก เป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่าการเพิ่มอุณหภูมิหรือเวลาในการระเหยตัวทำละลาย หรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีด้วยการเชื่อมขวางทำให้เมมเบรนไคโตซานมีลักษณะสัณฐานวิทยาเป็นเนื้อแน่นขึ้น ความสามารถในการซึมผ่านของเมมเบรนแบบไม่เชื่อมขวางและแบบเชื่อมขวางมีค่าเท่ากับ 0.039 และ 0.006 ลิตร/ตารางเมตร/ชั่วโมง/พีเอสไอ ตามลำดับ เมมเบรนไคโตซานทั้งแบบไม่เชื่อมขวางและแบบเชื่อมขวางเป็นเมมเบรนชอบน้ำแต่ไม่ชอบทั้งแอซีโทนและสารไลโคพีน สารไลโคพีนสามารถแยกออกจากสารละลายไลโคพีน/แอซีโทนได้ด้วยกระบวนการเพอร์แวปพอเรชันแต่ต้องทำให้เมมเบรนบวมตัวด้วยน้ำก่อน โดยเมมเบรนไคโตซานทุกสูตรทั้งแบบไม่เชื่อมขวางและเชื่อมขวางที่ระเหยตัวทำละลาย ณ อุณหภูมิ 40 ถึง 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ถึง 6 ชั่วโมง แยกแอซีโทนออกจากสารละลายไลโคพีนได้ค่าร้อยละการกักกันเท่ากับ 100 หรือค่าแฟกเตอร์การแยกสูงมากเป็นอินฟินิตี โดยเมมเบรนไคโตซานแบบไม่เชื่อมขวางที่ระเหยตัวทำละลาย ณ อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ให้ค่าฟลักซ์แอซีโทนสูงสุดเท่ากับ 0.131±0.004 ลิตร/ตารางเมตร/ชั่วโมง ที่สภาวะระดับสุญญากาศทางด้านเพอร์มิเอตเท่ากับ -1 บาร์ และความเข้มข้นของสารป้อนเท่ากับ 15 พีพีเอ็ม
Other Abstract: Acetone should be used as extracting solvent of lycopene in tomato paste instead of hexane. The lycopene concentration of 37.5±3.2 ppm was obtained by using the tomato to sovent ratio of 1:10. The studied chitosan membranes were uncrosslinked and crosslinked types. The evaporation conditions in preparing uncrosslinked membranes were varied in the temperature range of 40 to 60 ℃ for 2 to 6 h. The crosslinked membranes were obtained by immersing the uncrosslinked membranes in 4% by wt of sulfuric solution for 24 h. It was found that the membrane morphology could be changed from porous to dense structure by increasing evaporation temperature or time or by crosslinking. The membrane permeability of uncrosslinked and crosslinked membranes was 0.039 and 0.006 L/m²/h/psi, respectively. Both uncrosslinked and crosslinked membranes were hydrophilic but not preferred to both acetone and lycopene. The lycopene/acetone mixture could be separated by using water swollen chitosan membrane in pervaporation process. It was found that all studied membranes; i.e., both uncrosslinked and crosslinked membranes prepared at 40 to 60 ℃ for 2 to 6 h, could separate acetone from lycopene solution as permeate with rejection of 100% or separation factor of infinity. The uncrosslinked membrane prepared at 40 ℃ for 2 h provided the highest acetone flux of 0.131±0.004 L/m²/h by operating at -1 bar and 15 ppm feed concentration.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18359
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.317
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.317
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pram_yo.pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.