Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18616
Title: ความต้องการของเยาวชนที่มีต่อรายการโทรทัศน์ เพื่อการศึกษานอกโรงเรียนภาคกลางวัน
Other Titles: The needs of youth for daytime nonformal educational television
Authors: ดลฤดี ยั่งยืน
Advisors: วิจิตร ภักดีรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: โทรทัศน์เพื่อการศึกษา
โทรทัศน์ -- การจัดรายการ
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย ในการวิจัยเรื่องความต้องการของเยาวชนที่มีต่อรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษานอกโรงเรียนภาคกลางวัน ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ ดังนี้ 1.เพื่อสำรวจความต้องการรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษานอกโรงเรียนภาคกลางวันของเยาวชน 2. เพื่อสำรวจความสนใจของเยาวชนเกี่ยวกับประเภทและรูปแบบของรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษานอกโรงเรียนภาคกลางวัน 3. เพื่อศึกษาแนวโน้มในการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษานอกโรงเรียนภาคกลางวันของหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา 4. เพื่อเป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับรายการโทรทัศน์พิจารณาจัดรายการ โทรทัศน์เพื่อการศึกษานอกโรงเรียนภาคกลางวัน การดำเนินการวิจัย ใช้วิธีการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดรายการของสถานีโทรทัศน์ทั้ง ๔ สถานี และเจ้าหน้าที่ผลิตรายการของหน่วยงานที่ผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เกี่ยวกับนโยบายในด้านการผลิต รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาภาคกลางวัน นอกจากนั้นได้ส่งแบบสอบถามไปยังเยาวชนที่มีอายุ ๑๐ – ๑๘ ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร รวม ๔๐๐ คน โดยสุ่มตัวอย่างจากศูนย์เยาวชน ๑๒ เขต และในโรงเรียนที่มีการเรียน ๒ ผลัด เขตละ ๑ โรงเรียน แล้วนำแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติหาค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย 1. เยาวชนมีความคิดเห็นว่า ปริมาณรายการโทรทัศน์ศึกษาที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอกับความต้องการ 2. ในการจัดรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาภาคกลางวัน เยาวชนมีความต้องการดังนี้ ๒.๑ รายการควรมีความยาวประมาณ ๑ ชั่วโมง ๒.๒ เนื้อหาสาระของรายการ ควรเป็นความรู้ทั่วไปที่สามารถนำไปสัมพันธ์กับบทเรียนได้ ๒.๓ ความรู้ที่ควรจัดมากที่สุดคือ ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ๒.๔ ประเภทของรายการที่ควรจัดคือ ประเภทรายการถาม – ตอบปัญหา ๓. ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาที่เป็นหน่วยงานของราชการ มีความคิดเห็นว่าควรจะจัดรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาภาคกลางวันอย่างยิ่ง โดยเฉพาะรายการโทรทัศน์ เพื่อการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชน และรายการสำหรับแม่บ้าน ส่วนผู้ผลิตรายการที่เป็นเอกชนมีความคิดเห็นว่า ควรจะจัดรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในภาคกลางวันเมื่อสถานีโทรทัศน์และผู้ผลิตรายการมีความพร้อมอย่างเต็มที่ สถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง ๗ สี และสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง ๓ อสมท. มีนโยบายจะออกอากาศในภาคกลางวันอย่างแน่นอน ถ้ารัฐบาลเลิกใช้มาตรการประหยัดการใช้พลังงาน และรายการที่ควรจะออกอากาศคือ รายการประเภทความรู้ ส่วนสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๙ อสมท. และสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง ๕ ยังไม่มีนโยบายในการออกอากาศภาคกลางวัน ทุกสถานีได้พยายามที่จะส่งเสริมรายการประเภทความรู้ให้มีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชน และทุกสถานีมีความคิดเห็นว่า ถ้าได้มีการจัดรายการโทรทัศน์ในภาคกลางวันแล้วจะช่วยเสริมความรู้ต่าง ๆ ให้แก่ประชาชนได้เป็นอย่างดี และทำให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
Other Abstract: Purpose : The purposes of this thesis are as follow : 1. To survey the youth’s requirement for daytime nonformal educational Television programs. 2. To survey the youth’s interest regarding types and formats of the daytime Nonformal educational Television programmes. 3. To study the trends of the agencies responsible in the production of the daytime nonformal educational Television programmes. 4. To provide the guideline for the agencies responsible in decision making about what the daytime nonformal educational Television programmes should look like. Proceduer : The data was collected from the interviews and the questionnaires. The interviewings of programme organizers of the 4 Television stations in Bangkok and of educational television programmes producers were to survey the policies in the production of daytime nonformal educational television programmes. In addition, questionnaires were sent to the 500 youths of age between 10–18 in Bangkok. The questionnaire data were analysed by statistical means of percentage and average means. Results : 1. The youths have more need for educational television programmes . 2. The youths’ needs are as follow : 2.1 The timing should be one hour. 2.2 The programme’ s content should be general knowledge that can be applied to formal education. 2.3 Scientific programme is needed. 2.4 The type of programme that should be presented is quiz-programme. 3. The government agencies responsible for the production of educational television programmes have strongly given their support for the daytime programmes, especially those programmes for children and housewives. On the other hand, the programme producers on the private sector think that these daytime programmes should be produced and telecast at the time when both the programme producers and the television stations are really ready. Channel 7 and Channel 3 have a definite plan to telecast daytime programme if the energy crisis is over. Types of programme they will telecast will be those emphasizing on education. Every television stations has already made an effort to promote the educational programme, especially those for children. In addition they think that daytime programmes will enrich the various groups of audience with the knowledge and entertainment. Furthermore, these programmes will also enable the children to use their-time in a more useful way.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18616
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Dolludee_Yu_front.pdf317.69 kBAdobe PDFView/Open
Dolludee_Yu_ch1.pdf469.25 kBAdobe PDFView/Open
Dolludee_Yu_ch2.pdf577.1 kBAdobe PDFView/Open
Dolludee_Yu_ch3.pdf240.49 kBAdobe PDFView/Open
Dolludee_Yu_ch4.pdf465.61 kBAdobe PDFView/Open
Dolludee_Yu_ch5.pdf261.92 kBAdobe PDFView/Open
Dolludee_Yu_back.pdf412.77 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.