Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1871
Title: การศึกษาอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ตามความต้องการการพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลเลิดสิน
Other Titles: A study of nursing staffing based on nursing care needs in orthopaedic ward : a case study of Lerdsin Hospital
Authors: นงนุช วังชัยศรี, 2515-
Advisors: จินตนา ยุนิพันธุ์
สุวิณี วิวัฒน์วานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Jintana.Y@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: พยาบาล
การจ้างงาน (ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์)
กำลังคน
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลที่ควรจะเป็นตามความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วย และศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาล ในหอ ผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ กรณีศึกษาโรงพยาบาลเลิดสิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 3 กลุ่ม คือ 1) บุคลากรทางการพยาบาลที่ขึ้นปฏิบัติงานในระหว่างการเก็บข้อมูล ได้แก่ พยาบาลประจำการ 11 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 4 คน 2) ผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย1 ระหว่างการเก็บข้อมูล โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 4 ประเภท คือ ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลมากที่สุด ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลมาก ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลปานกลาง และผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลเล็กน้อย และ 3) ผู้บริหารทางการพยาบาลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ จัดอัตรากำลังในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยชุดที่1 แบบบันทึกข้อมูลการจำแนกประเภทผู้ป่วย และคู่มือการจำแนกประเภทผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ ชุดที่2 แบบบันทึกกิจกรรมพยาบาล และคู่มือกิจกรรมพยาบาลออร์โธปิดิกส์ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องของการสังเกต 0.91 และ 0.94 ตามลำดับ ชุดที่3 แบบประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการนำผลการวิจัยไปใช้ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วยประเภทที่ 1, 2, 3 และ 4 ใน 24 ชั่วโมง เท่ากับ 6.25 ชั่วโมง, 5.32 ชั่วโมง, 3.24 และ 2.56 ชั่วโมง ตามลำดับ คำนวณโดยใช้แนวคิดการจัดอัตรากำลังของกองการพยาบาล (2545) ได้จำนวนพยาบาลที่ต้องการ คือ พยาบาลประจำการ 10 คน และ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 9 คน โดยในเวรเช้า ต้องการพยาบาลประจำการ 3 คน และ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 2 คน เวรบ่าย ต้องการพยาบาลประจำการ 3 คน และ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 2 คน เวรดึก ต้องการพยาบาลประจำการ 2 คน และ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 2 คน เวรหยุด ต้องการพยาบาลประจำการ 2 คน และ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 3 คน และคำนวณอัตรากำลังตามแนวคิดของ Swansburg (1996) ได้จำนวนพยาบาลที่ต้องการ คือ พยาบาลประจำการ 10 คน และ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 10 คน โดยในเวรเช้า ต้องการพยาบาลประจำการ 3 คน และ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 2 คน เวรบ่าย ต้องการพยาบาล ประจำการ 3 คน และ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 2 คน เวรดึก ต้องการพยาบาลประจำการ 2 คน และ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 2 คน เวรหยุด ต้องการพยาบาลประจำการ 2 คน และผู้ช่วยเหลือคนไข้ 4 คน 2. ผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดอัตรากำลังของหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสิน มีความเห็นด้วยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้ในการบริหารจัดการด้านอัตรากำลังของหน่วยงานต่อไป
Other Abstract: The present descriptive study was conducted with the aim at determining nursing staffing based on nursing care required for orthopaedic ward of Lerdsin Hospital, together with studying the feasibility of the implementation. The subjects involved in the study were: 1) Nursing personnel including 11 staff nurses and 4 nurse aids. 2) Patients with orthopaedic diseases who were admitted in the Orthopaedic Ward I of Lerdsin Hospital during the time of data collection. The patients were categorized into 4 types according to the intense of care required: critical care needed, maximum care needed, moderate care needed and minimal care needed. 3) The nursing administrators who were involved in staffing management for orthopaedic wards of Lerdsin hospital. According to the study tools, there were 3 sets of tools used including 1) the Patient Classification form and the accompany manual 2) the record relating to nursing activities provided for orthopaedic patients and the accompany manual. The inter-observe reliability indexes for the first and the latter checklist forms were 0.91 and 0.94, respectively. 3) the assessment form focusing on feasibility of the implementation. The findings suggest that: 1) In terms of the average time required for nursing care within 24 hours time frame, the patients with type 1, 2, 3 and 4 needed 6.25, 5.32, 3.24 and 2.56 hours respectively. By using the formula suggested by the Beuru - Nursing Division, Ministry of Public Health (2002), 10 staff nurses and 9 nurse aids were required in total for the orthopaedic ward of Lerdsin hospital; 3 staff nurses and 2 nurse aids for either morning or evening shift, 2 staff nurses and 2 nurse aids for the night one. On holidays, 2 staff nurses and 3 nurse aids were required. In addition, when using the formula suggested by Swansburg (1996), it was found that 10 staff nurses and 10 nurse aids were required in total; 3 staff nurses and 2 nurse aids, for either the morning or evening shift, 2 staff nurses and 2 nurse aids for the night one. But for holidays, 2 staff nurses and 4 nurse aids were needed. 2) The nurse administrators who were involved in staffing management of orthopaedic wards of Lerdsin hospital agreed that the results obtained from the study were applicable to the real practice.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1871
ISBN: 9741734379
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nongnuch.pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.