Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19232
Title: โมเดลการจัดลำดับความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของอัตมโนทัศน์วิชาการ อัตมโนทัศน์ไม่ใช่วิชาการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน : การวิเคราะห์กลุ่มพหุ
Other Titles: Causal ordering models of academic self-concept, nonacademic self-concept and academic achievement : a multiple group analysis
Authors: สุนทรพจน์ ดำรงค์พานิช
Advisors: อวยพร เรืองตระกูล
ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
Advisor's Email: Auyporn.R@chula.ac.th
Taweewat.p@chula.ac.th
Subjects: การรับรู้ตนเอง
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบเทียบดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการจัดลำดับความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของอัตมโนทัศน์วิชาการอัตมโนทัศน์ไม่ใช่วิชาการ และผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนที่ใช้องค์ประกอบของอัตมโนทัศน์ที่แตกต่างกัน 2) เพื่อเปรียบเทียบดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการจัดลำดับความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของอัตมโนทัศน์วิชาการ อัตมโนทัศน์ไม่ใช่วิชาการ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยตัวแปรแฝงแต่ละตัวใช้ตัวแปรสังเกตได้แตกต่างกันในด้านคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และภาษาไทย 3) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลการจัดลำดับความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของอัตมโนทัศน์วิชาการ อัตมโนทัศน์ไม่ใช่วิชาการ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบและพารามิเตอร์ของโมเดลการจัดลำดับความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของอัตมโนทัศน์วิชาการ อัตมโนทัศน์ไม่ใช่วิชาการ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 820 คน จากโรงเรียน 12 แห่ง ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง 1 ฉบับมีค่าความเที่ยง 0.925 และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4 วิชา คือวิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาวิทยาศาสตร์ และวิชาภาษาไทย มีค่าความเที่ยง 0.865 0.876 0.893 และ 0.897 ตามลำดับ ค่าความยากเฉลี่ย 0.416 0.452 0.490 และ 0.488 ตามลำดับ และมีค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ย 0.425 0.442 0.473 และ 0.460 ตามลำดับ เก็บข้อมูลซ้ำ จำนวน 3 ครั้ง แต่ละครั้งมีระยะเวลาห่างกันประมาณ 4 เดือน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบวัดซ้ำ การตรวจสอบความตรงของโมเดลและการวิเคราะห์กลุ่มพหุด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ว่า 1) ในจำนวนโมเดลสมมติฐาน 3 แบบ โมเดลการจัดลำดับความสำคัญเชิงสาเหตุของอัตมโนทัศน์วิชาการ อัตมโนทัศน์ไม่ใช่วิชาการ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ใช้องค์ประกอบครบ 3 องค์ประกอบมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากที่สุด 2) ในจำนวนโมเดลสมมติฐาน 12 แบบ โมเดลการจัดลำดับความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของอัตมโนทัศน์วิชาการ อัตมโนทัศน์ไม่ใช่วิชาการ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาภาษาอังกฤษมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากที่สุด 3) ผลการพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดล พบว่า โมเดลมีค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืน คือ ค่าไค-สแควร์ = 629.84 องศาอิสระ = 398 ค่า p = 0.000 CFI = 0.99 GFI = 0.95 AGFI = 0.93 และ 4) โมเดลการจัดลำดับความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของอัตมโนทัศน์วิชาการ อัตมโนทัศน์ไม่ใช่วิชาการ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แปรเปลี่ยนด้านรูปแบบและพารามิเตอร์ ยกเว้นพารามิเตอร์ในเมทริกซ์ความสัมพันธ์ของความคลาดเคลื่อนของตัวแปรสังเกตได้จากการวัดครั้งที่ 1 และความคลาดเคลื่อนของ ตัวแปรสังเกตได้จากการวัดครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3
Other Abstract: The four purposes of this thesis were 1) to compare the goodness of fit index of the causal ordering model of academic self-concept, nonacademic self-concept, and academic achievement with different self-concept factors, 2) to compare the goodness of fit index of the causal ordering model of academic self-concept, nonacademic self-concept, and academic achievement with different observe variables in Mathematics, English, Sciences, and Thai Language, 3) to develop and validate the causal ordering model of academic self-concept, nonacademic self-concept, and academic achievement and, 4) to test the model and parameter invariant between boy and girl group of students. The research sample consisted of 820 grade nine students from 12 schools obtaining from multistage random sampling. The research instrument consisted of Self-concept Questionnaire with reliability of 0.925 and four achievement test of Mathematics, English, Sciences, and Thai Language with reliability of 0.865 0.876 0.893 and 0.897 respectively, mean of item difficulty 0.416, 0.452, 0.490, and 0.488 respectively, and mean of item discrimination 0.425, 0.442, 0.473, and 0.460 respectively. The data were repeatedly collected for three times having approximately four months period. The data analyses were employed descriptive statistics, MANOVA repeated measures, model validation and multiple group analysis using LISREL 8.72 program. The major findings were 1) of all three hypothetical model, the full causal ordering model of academic self-concept, nonacademic self-concept, and academic achievement including 3 factors was best fitted to the empirical data, 2) of all twelve hypothetical model, the causal ordering model of academic self-concept, nonacademic self-concept, and academic achievement in English was best fitted to the empirical data, 3) the model development and validation resulted in chi-square = 629.84, df = 398, p = 0.000, CFI = 0.99, GFI = 0.95, AGFI = 0.93 and, 4) the model was invariant in form and in all parameter matrices and fitted to the empirical data except variance-covariance matrix between error of observed variables measuring the first and the last two measuring of all three factor latent variable in the model.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19232
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.900
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.900
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suntonrapot_d.pdf3.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.