Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19275
Title: การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการศูนย์บริการการกีฬาธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
Other Titles: State and management problems of Thammasat University Rangsit Sport Center
Authors: ภัควัฒน์ เชิดพุทธ
Advisors: เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Tepprasit.G@chula.ac.th
Subjects: ศูนย์บริการการกีฬาธรรมศาสตร์ -- การบริหาร
การบริหารการกีฬา
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการศูนย์บริการการกีฬาธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และความพึงพอใจในการใช้บริการของสมาชิกศูนย์บริการการกีฬาธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต การศึกษาครั้งนี้ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหาร หัวหน้าแผนกและเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการการกีฬาฯ จำนวน 34 คน และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกศูนย์บริการการกีฬาฯ จำนวน 400 คน และการสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหาร หัวหน้าแผนกจำนวน 6 คนและสมาชิกศูนย์บริการการกีฬาฯ จำนวน 28 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลที่เป็นการสัมภาษณ์ ได้นำมาสรุปเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารศูนย์บริการการกีฬาฯ มีการใช้ทรัพยากรการบริหารโดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับดีทุกด้านได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านการเงินและงบประมาณ ด้านสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกและด้านการจัดการ สภาพกระบวนการวงจรการบริหารศูนย์บริการการกีฬาฯ โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผน ด้านการปฏิบัติอยู่ในระดับดี ส่วนด้านการตรวจสอบและด้านการนำผลการประเมินมาพัฒนาแผน อยู่ในระดับดีมาก 2. ปัญหาการบริหารศูนย์บริการการกีฬาฯ โดยรวมไม่พบปัญหาจากข้อมูลแบบสอบถาม แต่จากการสัมภาษณ์ด้านทรัพยากรการบริหาร พบปัญหาในด้านงบประมาณไม่เพียงพอต่อการบำรุงรักษา ซ่อมแซม ในด้านบุคลากรและสนามไม่เพียงพอในการให้บริการในบางช่วงเวลา และกระบวนการวงจรการบริหารศูนย์บริการการกีฬาฯ มีข้อจำกัดตามระเบียบราชการ จึงปฏิบัติงานได้ไม่คล่องตัว โดยเน้นให้การบริการกับนักศึกษาและบุคลากรของธรรมศาสตร์ก่อนเป็นหลัก จึงทำให้เป็นอุปสรรคในการวางแผนการให้บริการทั่วไปเพื่อหารายได้ 3. ความพึงพอใจในการใช้บริการของสมาชิกศูนย์บริการการกีฬาฯ ในส่วนประสมทางการตลาดอยู่ในระดับพอใช้ เมื่อพิจารณาตามรายด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่ และด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับพอใช้ทุกด้าน
Other Abstract: This research aimed to study the state and management problems of Thammasat University Rangsit Sport Center as well as to study the service satisfaction of its members. The self –constructed questionnaire was the instrument to be used in collecting data. The samples were 34 personnel of the sport center consisting of executives, department managers and officers and 400 members of the sport center. Another instrument was the interview which was used to collect data among a sample group of six persons consisting of executives and department managers of the Sport Center, and a sample group of 28 members of the sport center. Data were then analyzed in term of percentages, means and standard deviation. All results were reported in descriptive format. Results of the study were as follow: 1. The state of resource management (4M’s including man, money, material and management) were overall perceived at good level. However, the overall conditions of PDCA cycle were overall perceived at very good level. In details, Plan and Do were perceived at good level, while Check and Act were perceived at very good level. 2. According to the questionnaire results, there were no management problems in overall perception. However, the interview about management resources showed that the sport center lacked of the administrative budget which affecting insufficient budget for the facilities maintenance. It was also found out that there were also no enough officers and sport facilities for giving services. In terms of PDCA cycle, the management of Thammasat University Rangsit Sport Center did not have enough flexibility to work due to limitations from the bureaucratic procedure. Services were emphasized mainly to Thammasat University students and personnel that limiting in giving services to the public resulting in limiting revenue. 3. The overall aspects of members’ satisfaction (4P’s) were overall perceived at fair level.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19275
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.460
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.460
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pakkawat_se.pdf5.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.