Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19362
Title: ความหมายของคำว่า được 'ได้' ในภาษาเวียดนาม : การศึกษาตามแนวภาษาศาสตร์ปริชาน
Other Titles: Semantics of được in Vietnamese : a cognitive linguistic study
Authors: โสรัจ เรืองมณี
Advisors: กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Kingkarn.T@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาเวียดนาม
ภาษาศาสตร์
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกความหมายของคำว่า được ในภาษาเวียดนาม วิเคราะห์คุณลักษณะทางความหมายและทางโครงสร้าง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหมาย ต่างๆ และอธิบายกระบวนการทางปริชานที่ใช้สำหรับขยายความหมายออกไปสู่ความหมายต่างๆ เหล่านั้น การวิจัยครั้งนี้ใช้แนวคิดอรรถศาสตร์ปริชาน ผู้วิจัยใช้แนวความคิดในเรื่องของคำหลาย ความหมายอย่างมีหลักการมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจำแนกความหมายต่างๆ ออกจากกัน และใช้ใน แนวคิดในเรื่องของ คำหลายความหมายสี่ประเภทมาใช้ในการวิเคราะห์กระบวนการขยาย ความหมายต่างๆ เหล่านั้น ผลการวิจัยพบว่า คำว่า được ในภาษาเวียดนามนั้น สามารถแบ่งความหมายออกมาได้ เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ความหมายประจำคำ และความหมายทางไวยากรณ์ และมีความหมายรวม ทั้งหมด 12 ความหมาย ได้แก่ (1) ได้มาครอบครอง (2) ชนะ (3) มีเพศสัมพันธ์ (4) ดีแล้ว/ใช้การได้ (5) ได้โอกาสในการกระทำบางสิ่งบางอย่าง (6) กรรมวาจก (7) ทัศนภาวะแสดงความสามารถ (8) ทัศนภาวะแสดงความสามารถที่อ้างอิงจากสถานการณ์แวดล้อม (9) ทัศนภาวะอนุญาต (10) ทัศนภาวะแสดงความเป็นไปได้ (11) การณ์ก่อผล และ (12) การณ์สัมฤทธิ์ผล โดยความหมายที่ (1) ถึง (5) เป็นความหมายประจำคำ และความหมายที่ (6) ถึง (12) เป็นความหมายทางไวยากรณ์ ความหมายต่างๆ ของคำว่า được มีความสัมพันธ์กันแบบเครือข่าย ซึ่งสามารถแสดงได้ ด้วยรูปแบบของการแผ่รังสี มีความหมายที่ (1) เป็นความหมายพื้นฐานและเป็นความหมาย ศูนย์กลาง โดยความหมายทุกๆ ความหมายจะขยายออกมาจากความหมายพื้นฐาน และความหมาย ทางไวยากรณ์ที่ (7) ถึง (12) ขยายออกมาจากความหมายที่ (2) กระบวนการทางปริชานที่ใช้ในการ ขยายความหมายออกมาจากความหมายพื้นฐานนั้นมีอยู่ 2 กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการนามนัย และกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ โดยกระบวนการนามนัยที่ใช้แบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ได้แก่ (1) การนามนัยแบบเน้นผลลัพธ์ (2) การนามนัยโดยใช้บริบท และ (3) การนามนัยแบบเน้น ส่วนประกอบย่อย ส่วนการกลายเป็นคำไวยากรณ์นั้นจะทำให้คำว่า được เปลี่ยนสถานะจาก คำกริยากลายไปประเภททางไวยากรณ์แสดงกรรมวาจก ทัศนภาวะ และ การณ์ลักษณะ
Other Abstract: The purposes of this study are 1) to subcategorize the meanings of được ‘acquire’ 2) to analyze semantic and syntactic properties of the verb 3) to study the relationship between these meanings and 4) to analyze the cognitive processes for meaning extension of the verb. This study is based on the cognitive semantic approach. The theory of Principled Polysemy is applied as criteria for meaning sub-categorization and the theory of Four Categories of Polysemy is used in order to analyze the process of meaning extension. The results show that the meaning of the verb được extends into 2 major types of meanings; 1) lexical meaning and 2) grammatical meaning. They can be divided into 12 minor meanings; (1) to possess the target object (2) to win (3) to have a sex relation (4) to be alright (5) to possess a chance to do something (6) passive marker (7) accomplishment aspect marker (8) achievement aspect marker (9) agent-oriented modality (10) root possibility modality (11) speaker-oriented modality and (12) epistemic modality. The meanings of được are related to one another radially and form as a semantic network. Meaning (1), which is the most basic, is considered to be the central meaning that give rise to meanings (2) – (5), while only meanings (6) – (12) that extend from meaning (2). The meaning extension of the verb is activated by 2 cognitive processes, namely metonymy and grammaticalization. Metonymy plays an important role in bringing about semantic extension of lexical meanings, while grammaticalization causes được to change its status from verb into grammatical marker.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19362
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1775
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1775
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Soraj_ru.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.