Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19470
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุจิตรา สุคนธทรัพย์ | |
dc.contributor.author | อัจรงค์ โพธารมภ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | |
dc.date.accessioned | 2012-05-07T05:41:49Z | |
dc.date.available | 2012-05-07T05:41:49Z | |
dc.date.issued | 2552 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19470 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการใช้เครื่อง ดนตรีไทยประเภทเครื่องสีและเครื่องเป่ากับเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีดและเครื่องตีที่มีต่อระดับความ วิตกกังวลประจำตัวในกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่พักอาศัยอยู่ในหอพักภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งเพศชายและเพศหญิง มีอายุระหว่าง 18-21 ปี จำนวน 54 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงโดยกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมในการวิจัยครั้งนี้จะต้องมีคะแนน ความวิตกกังวลแบบสถานการณ์และความวิตกกังวลประจำตัวจากการตอบแบบสอบถาม The State – Trait Anxiety Inventory (STAI) ตั้งแต่ 45 คะแนนขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุม 1 กลุ่มและกลุ่ม ทดลอง 2 กลุ่ม มีจำนวนเท่ากันกลุ่มละ18 คน ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ฟังเพลงไทยเดิมประเภทเพลงบรรเลงล้วนที่ ใช้เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องสีและเครื่องเป่า กลุ่มทดลองที่ 2 ฟังเพลงไทยเดิมประเภทเพลงบรรเลงล้วนที่ ใช้เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีดและเครื่องตี ทั้งสองกลุ่มฟังเพลงเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้ง ละ 15-17 นาที การฟังเพลงทุกครั้งจะทำการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต ดังนี้ ก่อนการฟัง เพลง หลังฟังเพลงนาทีที่5 นาทีที่10 และนาทีที่ 15 กลุ่มควบคุมให้ดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ ผู้วิจัยจะทำการทดสอบความวิตกกังวลแบบสถานการณ์และความวิตกกังวลประจำตัว ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 1 สัปดาห์ 3 สัปดาห์ 4 สัปดาห์และ 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ ตามวิธีของ แอลเอสดี และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม มีค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลแบบสถานการณ์ และ ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลประจำตัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า กลุ่ม ควบคุมแตกต่างกับกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ระหว่างกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่มไม่พบความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และค่าเฉลี่ยความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว ก่อนการฟัง เพลง หลังฟังเพลงนาทีที่5 นาทีที่10 และนาทีที่ 15 ภายในกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม ลดลงแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การฟังเพลงไทยเดิมสามารถลดระดับความวิตกกังวลของวัยรุ่นได้ และส่งผลต่อความดัน โลหิตขณะหัวใจบีบตัว และความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวลดลงขณะฟังเพลงไทยเดิมอีกด้วย | |
dc.description.abstractalternative | This quasi-experimental research aimed to examine and to compare the effects of Thai classical music listening on trait anxiety among adolescences between various types of Thai musical instruments. Fifty four Chulalongkorn University students who were between 18-21 years old and lived in Chulalongkorn University dormitories were purposively sampled. Moreover, they needed to have 45 points or higher from State-Trait Anxiety Inventory (STAI) in order to be the subject of our study. The samples were then divided into one control group and two experimental groups. Each group was consisted of 18 students. The first experimental group listened to Thai classical music with bowed string and wind instruments, while another group listened to Thai classical music with plucked string and percussion instruments. They listened to the music for 15 -17 minutes twice a week for eight weeks. Heart rate and blood pressure measurement were analyzed before listening and at 5th, 10th and 15th minute. Meanwhile, the control group lived the normal lives. Furthermore, State-Trait Anxiety Inventory (STAI) was tested with these three groups: pre-research stage and 1st, 3rd, 4th and 8th week after the experiment. The data were then analyzed in terms of means, repeated measure ANOVA, LSD’s method and t-test at the .05 level of significance. The result indicated that: 1. The mean scores of the State-Trait Anxiety Inventory (STAI) in both experimental groups were significantly reduced comparing to the mean scores of the control group. 2. The average of systolic and diastolic blood pressure in pre-listening session and after listening during the 5th, 10th and 15thminute were significantly different at the .05 level. According to the research results, listening to Thai classical music was able to reduce the anxiety of adolescence and blood pressure. | |
dc.format.extent | 10381753 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.498 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ความวิตกกังวลในวัยรุ่น | en |
dc.subject | ความวิตกกังวล | en |
dc.subject | เพลงไทยเดิม | en |
dc.title | ผลของการฟังเพลงไทยเดิมที่มีต่อระดับความวิตกกังวลประจำตัวในกลุ่มวัยรุ่น | en |
dc.title.alternative | The effects of Thai classical music listening on trait anxiety among adolescences | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การกีฬา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Suchitra.Su@Chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.498 | - |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ajjarong_po.pdf | 10.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.