Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1965
Title: ผลของการเตรียมจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันโดยใช้ทฤษฎีทางการพยาบาลของนิวแมนต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กของผู้ดูแล
Other Titles: The effect of discharge planning for pediatric patients with acute diarrhea using the neuman systems model on childcare behaviors of caregivers
Authors: มลวิภา เสียงสุวรรณ, 2516-
Advisors: วราภรณ์ ชัยวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Waraporn.Ch@Chula.ac.th
Subjects: เด็ก -- การดูแล
ท้องร่วง -- ผู้ป่วย -- การดูแล
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการเตรียมจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันโดยใช้ทฤษฎีทางการพยาบาลของนิวแมน ต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กของผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ดูแลของผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันจำนวน 40 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบบังเอิญ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมตามระยะเวลาของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยกลุ่มตัวอย่าง 20 คนแรกจัดเป็นกลุ่มควบคุม ส่วน 20 คนหลังเป็นกลุ่มทดลอง ทำการจับคู่ระหว่างกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองด้วย ระดับการศึกษา และประสบการณ์การดูแลเด็กโรคอุจจาระร่วงของผู้ดูแล ในกลุ่มทดลอง ผู้ป่วยเด็กจะได้รับการเตรียมจำหน่ายโดยใช้ทฤษฎีทางการพยาบาลของนิวแมน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการเตรียมจำหน่ายตามปกติ วัดพฤติกรรมการดูแลเด็กของผู้ดูแลในวันที่ 2 ภายหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล โดยใช้แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลเด็กของผู้ดูแลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ข้อมูลที่รวบรวมได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และสถิติเชิงสรุปอ้างอิง Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการดูแลเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันของผู้ดูแลกลุ่มที่ได้รับการเตรียมจำหน่ายโดยใช้ทฤษฎีทางการพยาบาลของนิวแมน ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการเตรียมจำหน่ายตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยเพิ่มเติมพบว่า ผู้ดูแลของผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในกลุ่มที่ได้รับการเตรียมจำหน่ายโดยใช้ทฤษฎีทางการพยาบาลของนิวแมน มีความพึงพอใจต่อบริการพยาบาลที่ได้รับทั้งในด้าน การมีส่วนร่วมในการดูแล ด้านการดูแลอย่างต่อเนื่อง และด้านประสิทธิผลของการดูแล
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of discharge planning for pediatric patients with acute diarrhea using the Neuman systems model on childcare behaviors of caregivers. Subjects were composed of 40 caregivers of pediatric patients with acute diarrhea, assigned to a control group and an experimental group based on sequence of hospitalization. The first 20 caregivers were assigned to the control group, and the last 20 caregivers were in the experimental group. Subjects in these two groups were match paired by education level and caregivers' experience of caring for children with acute diarrhea. The experimental group received discharge planning using the Neuman systems model. The control group received routine discharge planning. Childcare behaviors of caregivers were measured on the second day after discharge by the childcare behaviors interview developed by the researcher. Data were analyzed by descriptive statistics and inferential statistics, paired T-test. It was found that childcare behaviors of the caregivers of pediatric patients with acute diarrhea using the Neuman systems model was significantly better than that the caregivers of pediatric patients receiving routine discharge planning, at the level of .05. In addition, caregivers of pediatric patients with acute diarrhea received discharge planning using the Neuman systems model were satisfied with the received nursing care in caregivers' participation, continuity of care, and the effectiveness of care dimensions
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1965
ISBN: 9741763778
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Molvipa.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.