Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19711
Title: กระบวนการบริหารงานกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษในส่วนกลาง
Other Titles: Administrative process of secondary school cluster under the department of general education in central region
Authors: อุไร ชุติเนตร
Advisors: นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Noppong.b@chula.ac.th
Subjects: โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษากระบวนการบริหารงานของกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในส่วนกลาง 7 ด้านคือ การวางแผนงาน การมอบหมายงาน การประสานงาน ความร่วมมือ การรายงาน การติดตามและประเมินผลงาน การงบประมาณ 2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการบริหารงานของกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา ในส่วนกลาง วิธีดำเนินการวิจัย 1.กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกัลป์การบริหารงานของกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในส่วนกลาง จำนวนทั้งสิ้น 412 คน ประกอบด้วย กรรมการบริหารงานกลุ่มโรงเรียน 103 คน ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการ 103 คน และหัวหน้าหมวดวิชา 206 คน 2.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้แบบสอบถามจำนวน 1 ชุด ซึ่งประกอบด้วยแบบตรวจสอบ แบบมาตราส่วนประเมินค่า และแบบสอบถามปลายเปิด โดยเน้นคำถามที่ครอบคลุมถึงกระบวนการบริหารงานกลุ่มโรงเรียนในด้านต่าง ๆ ทั้ง 7 ด้าน ดังได้กล่าวมาแล้ว3.การเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามให้ประชาการจำนวน 412 ฉบับ ได้รับกลับคืนมา 328 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 79.61 แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1.ผลการวิจัยเกี่ยวกับสถานภาพของกรรมการบริหารงานกลุ่มโรงเรียนผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าหมวดวิชา ของกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัยศึกษา ในส่วนกลาง พบว่า กรรมการบริหารงานกลุ่มโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าหมวดวิชา ส่วนใหญ่มีวุฒิปริญญาตรี มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปรับราชการมานานาตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป และดำรงตำแหน่งนั้นๆ มาแล้วส่วนมากตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไป 2.จากการวิจัยถึงกระบวนการบริหารงานกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในส่วนกลางนั้น ปรากฏว่า กรรมการบริหารงานกลุ่มโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการ และหัวหมวดวา ปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์มากในเรื่อง การมอบหมายงานความร่วมมือ และปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์น้อยในเรื่อง การวางแผนงาน การประสานงาน การประสานงาน การรายงาน การติดตามและประเมินผลงาน และการงบประมาณ 3.จากความคิดเห็นของกลุ่มประชากรเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค สรุปได้ว่าในด้านการวางแผนงานของกลุ่มโรงเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในส่วนกลางมักไม่มีการกำหนดวัตถุประสงค์และนโยบายไว้อย่างชัดแจ้งและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอบุคลากรที่ทำงานของกลุ่มโรงเรียนต่างมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานประจำอยู่เต็มมือ ทำให้เกิดปัญหาปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายไม่ได้เต็มที่ และเนื่องจากโรงเรียนซึ่งสังกัดในกลุ่มเดียวกันอยู่กระจัดกระจายและห่างไกล ทำให้การติดต่อประสานงานไม่สะดวก ครูขาดมนุษยสัมพันธ์ จึงไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร ขาดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจึงทำให้การรายงาน การติดตามและประเมินผลงานเป็นไปโดยล่าช้าและขาดหลักเกณฑ์ งบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอ
Other Abstract: Objectives of the Study 1.To study the administrative process of secondary school cluster under the Department of General Education in Central Region in 7 areas: Planning, Delegation, Coordinating Cooperation, Reporting, Follow-put and Evaluation and Budgeting. 2. To study the problems of and obstacles to the administrative process of secondary school cluster under the Department of General Education in Central Region. Research Procedures 1. The total population in this study included 412 persons who are concerned with the administration of secondary school clusters under the Department of General Education in Central Region, consisted of 103 members of administrative committee of secondary school cluster, 103 academic assistants and 206 heads of departments. 2. The instruments used in this study were questionnaires consisting of three parts: a checklist, a rating scale, and open-ended question, covering the 7 areas mentioned above. 3. A total of 412 questionnaires were distributed by mail. Of these, 328 copies or 79.61 percent were returned. The data were then analyses by the use of percentages, arithmetic means, and standard deviations. Conclusions 1. Most members of the administrative committee of secondary school clusters, the academic assistants, and the heads of departments received the Bachelor’s Degree, were 35 Years old or more and had worked of the school for at least 16 years, The three groups of the population that held their present position at least 6 years. 2. The three groups of the population performed the tasks of delegation and cooperation at the high level, of planning, coordination, reporting, follow-up and evaluation, and budgeting at a lower level. 3. The problems and obstacles were as follows: the objectives and policies of the administration of secondary school clusters were not clearly determined, in planning and usually changed. The three groups of the population had responsibilities in their own school clusters, The schools in each cluster were scattered and far from one another, so the task of coordination was hard to perform, and there was a lack of relationship. As a result, the participation from the three groups was not good. The a ministration or secondary school clusters lacked qualified personnel that made the tasks of reporting, follow-up and evaluation were in efficient, and the budget was not enough to cover expenses.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19711
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Urai_Ch_front.pdf512.64 kBAdobe PDFView/Open
Urai_Ch_ch1.pdf688.39 kBAdobe PDFView/Open
Urai_Ch_ch2.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Urai_Ch_ch3.pdf413.25 kBAdobe PDFView/Open
Urai_Ch_ch4.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open
Urai_Ch_ch5.pdf836.87 kBAdobe PDFView/Open
Urai_Ch_back.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.