Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19739
Title: การเปรียบเทียบผลการฝึกความอดทนแบบอนากาศนิยม ด้วยความหนักของงานสูงสุด โดยใช้ระยะเวลาต่างกัน
Other Titles: A comparision of anaerobic training with maximal intensity by various durations
Authors: อุไร พรหมมา
Advisors: เจริญทัศน์ จินตนเสรี
เฉลิม ชัยวัชราภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
cchalerma@loxinfo.co.th
Subjects: สมรรถภาพทางกาย
การออกกำลังกาย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการฝึกความอดทนแบบอนากาศนิยมด้วยความหนักของงานสูงสุด โดยใช้ระยะเวลาต่างกัน 3 แบบ คือ 20 วินาที 30วินาที และ 40 วินาที กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนย่านที่มีสุขภาพแข็งแรง และไม่เป็นนักกีฬาหรือผู้ที่อยู่ในระหว่างการฝึกซ้อมกีฬาใด ๆ จำนวน 40 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม กลุ่มทดลองทุกกลุ่มทำการฝึกด้วยการถีบจักรยานวัดงานที่จัดความฝืดให้มีแรงกดสายพาน 0.067 กิโลปอนด์ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยใช้อัตราเร่งสุดสุดในกลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกเที่ยวละ 20 วินาที กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกเที่ยวละ 30 วินาที กลุ่มทื่ 3 ฝึกเที่ยวละ 40 วินาที ซึ่งทุกกลุ่มจะมิปริมาณงานต่อสัปดาห์เท่ากัน และกลุ่มควบคุมไม่มีการฝึกใด ๆ รวมระยะเวลาการฝึกทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ ทดสอบความสามารถของทุกกลุ่มก่อนและหลังการฝึก 4 รายการคือ สมรรถภาพแบบอนากาศนิยมด้วย วินเกต แอนแรโรบิค เทสต์ (Wingate Anaerobic test) วิ่งเร็ว 300 เมตร วิ่งเร็ว 80เมตร และยืนกระโดยสูบแตะผนัง 10 ครั้ง นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One_Way Analysis of Co_Varianee) และเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีของดันคัน (Duncan’s New Multiple Range Test)ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถภาพอนากาศนิยมแบบเฉลี่ย สมรรถภาพอนากาศนิยมแบบสูงสุด และความสามารถในการวิ่งเร็วระยะทาง 300 เมตร ในทุกกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ.05 แต่สมรรถภาพที่เพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. ไม่มีความแตกต่างของความสามารถในการวิ่งเร็วระยะทาง 80 เมตร ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การเพิ่มความสามารถของการยืนกระโดดสูงแตะผนัง 10 ครั้ง เพิ่มขึ้นในกลุ่มทดลองแบบใช้เวลาฝึก 20, 30 วินาทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเพิ่มขึ้นในระหว่างกลุ่มทดลองใช้เวลาฝึก 20 วินาที มากกว่ากลุ่มที่ใช้เวลาฝึก 40 วินาทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าการฝึกทั้ง 3 แบบสามารถเพิ่มความอดทดแบบอนากาศนิยมทั้งแบบเฉลี่ยและแบบสูงสุดและเพิ่มสมรรถภาพทางกีฬาชนิดที่ใช้ความอดทนแบบอนากาศนิยมได้ แต่ยังไม่เห็นความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ของผลเพิ่มในการฝึกทั้ง 3 แบบ นอกจากการยืนกระโดดสูงแตะผนัง
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effect of anaerobic training and to compate the anaerobic training with maximal intensity among various durations (20, 30 and 40 second). The selected subjects was forty healthy male students which never attended any exercise program They were divided into 4 groups namelyG_c ,G_1 ,G_2 and G_(3 ,) G_c was the control group which was given no training program. G_1, G_(2 ,)and G_(3 ) were given training program by all-out sprint against resistance of 0.067 kgm per kb body wight on Bicycle Ergometer for a period of 6 weeks. The durations of each all-out sprint were 20 second for G_(1 )group, 30 second for G_2and 40second for G_(3 ), but total durations per week were equal in all grouss. Subjects were given the pre-test and post-test on anaerobic capacity measured by Wingate Anaerobic Test, 300 - meter sprint, 80-meter sprint, and 10 verti-cal jumps. The obtained data were, then, analyzed in terms of means and standard deviations. Also, the one-way analysis of co-variance was employed to determine if there existed any significant differences. The Duncan’s ne multiple range test was used as the follow test. The results indicated that:1.Mean anaerobic capacity, peak anaerobic capacity and 300-meter sprint performance of subject in the experimental groups were significantly increased higher than those of the control group at the .01, and levels. However, there were no significant differences among the experimental groups. 2.There were no significant differences among all of the four groups at the .05 level, in 80-meter sprint. 3. The ability of 10n vertical jumps of subjects in the experimental groups, G_1 (20 sec) and G_(2 )(30 sec) was significantly increased at the .05 ;eve;/ Om addition, the increasing ability of G_1 (20 sec) was significantly higher than of the G_3 (40 sec) at the .05 level. In conclusion anaerobic training with maximal intensity by various durations improved anaerobic capacity, 300 meter sprint and vertical jump performance significantly but there was no obvious difference among each other except the vertical jump performance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19739
ISBN: 9745648135
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Urai_Pr_front.pdf433.38 kBAdobe PDFView/Open
Urai_Pr_ch1.pdf327.9 kBAdobe PDFView/Open
Urai_Pr_ch2.pdf748.95 kBAdobe PDFView/Open
Urai_Pr_ch3.pdf311.42 kBAdobe PDFView/Open
Urai_Pr_ch4.pdf419.66 kBAdobe PDFView/Open
Urai_Pr_ch5.pdf407.75 kBAdobe PDFView/Open
Urai_Pr_back.pdf582.73 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.