Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19756
Title: การใช้คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสร่วมกับเซลลูเลสในการดึงหมึกพิมพ์เฟล็กโซกราฟีฐานน้ำ
Other Titles: The use of carboxymethyl cellulose with cellulase in deinking of flexographic water-based ink
Authors: ธนาวุธ ลิ้มพานิชย์
Advisors: สุดา เกียรติกำจรวงศ์
สมพร ชัยอารีย์กิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: ksuda@chula.ac.th
Somporn.Ch@Chula.ac.th
Subjects: เซลลูโลส
การพิมพ์เฟล็กโซกราฟี
การดึงหมึกพิมพ์
เซลลูเลส
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการใช้คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสร่วมกับเซลลูเลสในการดึงหมึกพิมพ์เฟล็กโซกราฟีฐานน้ำสีดำออกจากกระดาษปอนด์ การทดลอง (ตอนแรก) เริ่มจากการหาปริมาณคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสที่เหมาะสม โดยมีการใช้คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส 4 ระดับ คือร้อยละ 0, 0.1, 0.2 และ 0.3 ของน้ำหนักเยื่อแห้ง จากการทดลองพบว่าปริมาณคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสที่เหมาะสมคือร้อยละ 0.2 ของน้ำหนักเยื่อแห้ง จากนั้นจึงนำค่าที่ได้ไปใช้ในการทดลองตอนที่สองต่อไป ซึ่งเป็นการศึกษาถึงผลของการใช้คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสร่วมกับเซลลูเลสที่มีต่อประสิทธิภาพของการดึงหมึกเฟล็กโซกราฟีออกจากกระดาษโดยตัวแปรในการศึกษามี 3 ตัวแปร และแต่ละตัวแปรจะมีการศึกษา 2 ระดับ ได้แก่ร้อยละ 0 และ0.2 คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสของน้ำหนักเยื่อแห้ง ร้อยละ 0.1 และ 0.3 เซลลูเลสของน้ำหนักเยื่อแห้งและระยะเวลาที่ให้เซลลูเลสทำปฏิกิริยากับเยื่อ (10 และ 40 นาที) โดยปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาประสิทธิภาพจของการดึงหมึกออกได้แก่ ค่าความขาวสว่าง ค่าปริมาณหมึกที่เหลืออยู่ ค่าดรรชนีความแข็งแรงต่อแรงดึงค่าดรรชนีความแข็งแรงต่อแรงฉีก ค่าสภาพระบายได้ และปริมาณผลผลิตที่ได้ ซึ่งจากการทดลองพบว่าเมื่อใช้ปริมาณคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสและปริมาณเซลลูเลสเพิ่มขึ้น รวมถึงเพิ่มระยะเวลาที่ให้เอนไซม์ทำปฏิกิริยา ส่งผลให้เยื่อมีค่าความขาวสว่างเพิ่มขึ้นและค่าปริมาณหมึกที่เหลืออยู่ลดลง กระดาษมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ปริมาณคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสและปริมาณเซลลูเลสเพิ่มขึ้น หากแต่ความแข็งแรงมีแนวโน้มลดลงเมื่อทิ้งให้เอนไซม์ทำปฏิกิริยากับเยื่อนานขึ้น ตัวแปรที่ส่งผลต่อค่าสภาพระบายได้ของเยื่อมากที่สุดคือปริมาณเซลลูเลสที่ใช้ โดยเมื่อใช้ปริมาณเซลลูเลสเพิ่มขึ้น มีแนวโน้มทำให้เยื่อมีค่าสภาพระบายได้สูงขึ้น อย่างไรก็ตามตัวแปรทั้งสามไม่มีผลต่อปริมาณผลผลิตที่ได้
Other Abstract: The objectives of this survey study were threefold: (1) to examine the relationship between corporate image, perceived service quality, perceived fit, and attitude toward the extension, (2) to examine the relationship between perceived service quality, perceived fit, and attitude toward the extension, and (3) to compare the relationship between the different levels of perceived fit and attitude toward the extension. Questionnaires were used to collect data from 403 men and women, aged 20-45 years old in Bangkok. Discount store and fast food restaurant were chosen as the representatives of tangible, possession processing service and tangible, people processing service, respectively. The findings illustrated that corporate image was partially, positively correlated with perceived service quality, perceived fit, and attitude toward the extension. Similarly, perceived service quality was positively correlated with perceived fit and attitude toward the extension partially. Meanwhile, as tested, high and low levels of perceived fit were significantly related to consumer’s attitude toward the extension.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19756
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.270
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.270
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanawut_li.pdf8.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.