Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19920
Title: ผลของการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมและอารมณ์ต่อการคล้อยตามสิ่งชี้นำในกระบวนการซักถาม
Other Titles: Effects of Assertiveness and Emotion on Interrogative Suggestibility
Authors: ภารดี ศิริสุทธิพัฒนา
Advisors: อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Apitchaya.C@Chula.ac.th
Subjects: การแสดงออก (จิตวิทยา)
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของอารมณ์ที่ส่งผลต่อกระบวนการคล้อยตามสิ่งชี้นำในกระบวนการซักถามของผู้ที่มีบุคลิกภาพการกล้าแสดงออกแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี จำนวน 120 คน เป็นเพศชาย 45 คน และเพศหญิง 75 คนถูกขอให้ทำแบบวัดการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม ดูรูปภาพและเขียนเรียงความเกี่ยวกับประสบการณ์ในอดีตเพื่อเหนี่ยวนำอารมณ์ตามเงื่อนไขที่ได้รับ หลังจากนั้นผู้ร่วมการทดลองจะเข้าสู่การวัดการคล้อยตามสิ่งชี้นำในกระบวนการซักถาม ซึ่งประกอบด้วย การให้ฟังเรื่อง ถามคำถามชี้นำ การให้ผลป้อนกลับทางลบ และการถามคำถามซ้ำอีกครั้ง เพื่อให้ได้คะแนนการยอมเชื่อตามคำถามชี้นำครั้งที่ 1, การยอมเชื่อตามคำถามชี้นำครั้งที่ 2, การเปลี่ยนคำตอบ และการคล้อยตามสิ่งชี้นำโดยรวม (Gudjonsson, 1997) ผลการวิจัยพบว่า 1. บุคคลที่มีอารมณ์ทางลบมีคะแนนการยอมเชื่อตามคำถามชี้นำครั้งที่ 1 และคะแนนการคล้อยตามสิ่งชี้นำโดยรวมไม่แตกต่างกับบุคคลที่มีอารมณ์ทางบวก 2. บุคคลที่กล้าแสดงออกต่ำมีคะแนนการยอมเชื่อตามคำถามชี้นำครั้งที่ 1 และคะแนนการคล้อยตามสิ่งชี้นำโดยรวมมากกว่าบุคคลที่กล้าแสดงออกสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3. บุคคลที่กล้าแสดงออกต่ำเมื่อมีอารมณ์ทางลบมีคะแนนการยอมเชื่อตามคำถามชี้นำครั้งที่ 1 และคะแนนการคล้อยตามสิ่งชี้นำโดยรวมไม่แตกต่างกับบุคคลที่กล้าแสดงออกต่ำเมื่อมีอารมณ์ทางบวก 4. ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมกับอารมณ์ต่อคะแนนการยอมเชื่อตามคำถามชี้นำครั้งที่ 1 แต่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมกับอารมณ์ต่อคะแนนการคล้อยตามสิ่งชี้นำโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to examine the effects of assertiveness and emotion on interrogative suggestibility. One hundred and twenty undergraduate students, 45 males and 75 females, were asked to complete assertiveness questionnaire, see the emotional pictures, and write about their past experience to induce the emotion according to the conditions. Immediately after this, they participated in the interrogative suggestibility procedure which comprises listening to a story, answering to the leading questions, receiving the negative feedback and answering to the repeated leading questions. The procedure results in yield 1, yield 2, shift, and total suggestibility scores (Gudjonsson, 1997). Results show that: 1.There is no significant difference between negative and positive emotion on yield 1 and total suggestibility. 2.Participants who are low in assertiveness are significantly higher yield 1 and total suggestibility than participants who are high in assertiveness (p < .001). 3.For the low assertiveness condition, there is no significant difference between the negative emotion group and the positive emotion group on yield 1 and total suggestibility. 4.There is no significant interaction between assertiveness and emotion on yield 1; however, there is a significant interaction between assertiveness and emotion on total suggestibility (p < .05).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19920
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1358
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1358
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
paradee_s.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.