Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20028
Title: ปัจจัยในการออกแบบระบบแสงในอาคารเพื่อเพิ่มความรู้สึกสว่าง
Other Titles: Interior lighting design factors to increase brightness sensation
Authors: เอนก ธีระวิวัฒน์ชัย
Advisors: สุนทร บุญญาธิการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: soontorn@asia.com, Soontorn.B@Chula.ac.th
Subjects: อาคาร -- การส่องสว่าง
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การรับรู้ความสว่างเป็นหนึ่งในประสาทสัมผัสทั้ง 5 ที่สำคัญของมนุษย์ มีสัดส่วนการรับรู้ผ่านดวงตาถึงร้อยละ 70 ของระบบประสาทสัมผัสของมนุษย์ จากการสำรวจระบบแสงสว่างในอาคาร พบว่าอาคารที่มีระดับแสงสว่างตามมาตรฐาน IES หรือสูงกว่า ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อการผลิตแสงสว่างในระดับที่สูง แต่ผู้ใช้อาคารกลับรู้สึกมืด ดังนั้นเป้าหมายการวิจัยเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยในการออกแบบระบบแสงสว่างในอาคารเพื่อเพิ่มความรู้สึกสว่าง และค้นหาแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในใหม่ ที่จะลดการใช้พลังงาน กรณีศึกษาสำรวจตัวอย่างพื้นที่ในอาคารเทียบเครื่องบินและอาคารผู้โดยสาร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นอาคารขนาดใหญ่ และใช้พลังงานระดับที่สูง แต่พบว่าเกิดปัญหาความรู้สึกมืดต่อระบบแสงสว่าง การวิจัยเริ่มจาก การสำรวจและสอบถาม เพื่อหาข้อดีและข้อเสียของสถาปัตยกรรมภายในที่มีต่อการรับรู้ความสว่าง เก็บค่าความสว่างในพื้นที่รอบและส่วนขอบจอรับภาพดวงตาที่ส่งผลต่อความรู้สึกเห็นภาพ ตรวจสอบช่องเปิด การควบคุมลำแสง และอัตราส่วนความจ้า การสำรวจพบว่าอาคารใช้วัสดุภายในที่มีสีเข้ม มีค่าการดูดกลืนแสงสูง แสงสะท้อนเข้าจอรับภาพดวงตาได้เพียงร้อยละ 20 ผนังกระจกไม่สามารถควบคุม อัตราส่วนความจ้าของภายในและภายนอกได้ เมื่อผู้โดยสารผ่านพื้นที่ต่างๆ เกิดแสงจ้ารบกวน เป็นสาเหตุให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตาในระดับที่สูง จากนั้นทำการทดสอบความรู้สึกสว่างด้วยการจำลองมาตราส่วน 1:20 เพื่อนำผลที่ได้จากการทดสอบไปปรับปรุงสถาปัตยกรรมภายใน และทดสอบด้วยโปรแกรม Dialux การวิจัยพบว่าสามารถใช้ปริมาณแสงให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้โดยควบคุมสภาพภายในสถาปัตยกรรม 3 ประการ คือควบคุมอัตราส่วนความจ้าให้สม่ำเสมอ, อัตราส่วนความเปรียบต่างไม่เกิน 1:3 และใช้สีผนังที่สว่าง สามารถลดปริมาณแสงประดิษฐ์ได้ 5 เท่า ในระดับความสว่างที่ต่ำกว่าที่มาตรฐาน IES แต่ผู้โดยสารมีความพอใจและรู้สึกสว่าง ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและลดภาระระบบปรับอากาศจากความร้อนของดวงโคมได้ร้อยละ 20
Other Abstract: Brightness sensation (perception) is one of the most important on five senses which contains around 70% of all the body's sensory receptors. From the interior brightness system survey, it was found out that though the building was designed with the IES brightness standard or higher with high capacity of electrical consumption and utilization , it still dark in the building. Therefore, the objective of this survey is to the analyze Interior Lighting Design Factors to Increase Brightness Sensation while and also to search for a new design implementation to make an effective brightness system design while saving electric energy consumption for the interior lighting system. This sample survey of selected area is located in the concourse within a mega scale-building, the passenger terminal building of Suvarnabhumi Airport, Bangkok. This study case emphasizes on a problem of brightness sensation and interior lighting system within the concourse of passenger terminal with high electricity usage for lighting system. The study begin from surveying the advantages and disadvantages of architectural interior design which has an impact on the brightness sensation, Also the physical vision within the scope of fovea vision and peripheral vision are investigated by conducting satisfaction questionnaire survey of the airport user’s brightness sensation, inspection of void and opening, light beam control and glare ratio. Based on these survey, The experiment of brightness sensation is implemented with interior design mock up model on the scale of 1:20 in order to use the analytical test results as a reference for architectural interior design improvement and Dialux program Testing. Moreover, in this study, the research team found that the utilization of lamp brightness will be maximized if we could control 3 interior design factors such as. Constant glare light ratio, limitation of contrast ratio not exceeding than 1:3, And using bright painted wall color. Furthermore, the artificial lighting could be reduced to five times within the brightness level lower than the IES standard, But the users are satisfied and fell the sufficient brightness. It leads to electricity saving and reduces 20% of heat contribution from lighting
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20028
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1827
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1827
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anake_te.pdf11.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.