Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2012
Title: การศึกษากิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง เพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านของสถานบริการสาธารณสุข เขตกรุงเทพมหานคร : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: A study of nursing services activities in chronically ill patients for continuing care at home of health services institutes, Bangkok Metropolitan area
Authors: ประนอม รอดคำดี
ยุพิน เนียมแสง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ผู้ป่วยเด็ก--การดูแล
การดูแลแบบต่อเนื่อง
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมพยาบาลเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านสำหรับผู้ป่วยเด็กที่มีความผิดปกติหรือความพิการของหัวใจแต่กำเนิด ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยทารกแรกเกิดที่มีความผืดปกติของหัวใจและหน่วยทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤต จำนวน 90 คน จากโรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 7 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร และบิดามารดาหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก จำนวน 10 คน ที่นำเด็กมารับการตรวจตามนัดที่คลินิค โรคหัวใจแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลวชิรพยาบาล และจากการสังเกตสมัมภาษณ์บิดามารดาหรือผู้ดูแลเด็กที่บ้าน จำนวน 9 ราย เครื่าองมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบทดสอบพัฒนาการเด็ก วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1. การปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการดูแลเด็กต่อเนื่องที่บ้านตามการรายงานของพยาบาลอยู่ในระดับปฏิบัติบ่อยครั้งทุกขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล โดยขั้นตอนของการประเมินผลการพยาบาล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และขั้นตอนการปฏิบัติการพยาบาลตามแผนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในขั้นตอนการประเมินปัญหาและวินิจฉัยการพยาบาล ข้อที่รายงานว่ามีการปฏิบัติสูงสุด คือ "ประเมินปัญหาผู้ป่วยเด็กจากการสังเกตลักษณะอาการทางกาย" เช่นเดียวกับขั้นตอนการวางแผนการพยาบาล ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ "วางแผนการพยาบาลโดยคำนึงถึงความต้องการด้านร่างกาย" ขั้นตอนการปฏิบัติการตามแผน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ "ใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการพยาบาลเด็ก" มีค่าเฉลี่ยเท่ากันกับ "ประสานงานกับแพทย์และบุคลากรในทีมสุขภาพ" ขั้นตอนการประเมินผลการพยาบาล ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ "รายงานผลการประเมินผลการพยาบาลโดยบันทึกในรายงาน" 2. การให้คำแนะนำเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ด้านการเจริญเติบโตและพัฒนาการพยาบาลจำนวนร้อยละ 91.3 ให้คำแนะนำ "ให้ยาเด็กถูกขนาดและเวลาอย่างเคร่งครัด" ด้านการดูแลเมื่อเด็กมีอาการผิดปกติ พยาบาลจำนวนร้อยละ 81.3 ให้คำแนะนำ "ดูแลเด็กเมื่อมีไข้ โดยเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น" ผลการสัมภาษณ์พ่อแม่และหรือผู้ดูแลเด็ก ส่วนใหญ่จะให้ข้อมูลสอดคล้องกันว่า พยาบาลส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการให้ยาเด็กให้ถูกขนาดตรงเวลา และการนำเด็กไปรับภูมิคุ้มกันโรค และพาไปพบแพทย์ตามนัด 3. การเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน จำนวน 9 ราย พบว่า ครอบครัวที่มีเด็กป่วยด้วยโรคหัวใจเรื้อรังที่บ้าน ทำให้บิดามารดาและผู้เลี้ยงดูมีความครียด โดยเฉพาะด้านการเจ็บป่วยของเด็กและเศรษฐกิจ เพราะต้องใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเด็กในระยะยาว การดูแลเด็กของครอบครัวเป็นไปตามปัจจัยสิ่งแวดล้อมประกอบ ซึ่งได้แก่ ฐานะครอบครัว ความรู้ของบิดามารดา ผู้ช่วยเหลือในการดูแลเด็ก เป็นต้น จากการศึกษา พบว่า บิดา-มารดา และบุคคลในครอบครัวให้ความสนใจดูแลเด็กป่วยมาก และตามใจทุกอย่าง ซึ่งส่งผลให้การดูแลบุตรคนอื่นลดลง ผู้ดูแลเด็กยังขาดความรู้ในการดูแลเด็ก โดยเฉพาะ ความรู้ในการดูแลด้านจิตใจเด็ก และการกระตุ้นพัฒนาการ ผู้วิจัยเสนอแนะให้มีการศึกษาการสนับสนุนทางสังคม ของครอบครัวต่อการเลี้ยงดูเด็กป่วยด้วยโรคหัวใจแต่กำเนิด และผลกระทบของการมีบุตรป่วยด้วยโรคหัวใจ ที่มีผลต่อการเลี้ยงบุตรคนอื่นในครอบครัว
Other Abstract: This study purpose was to investigate nursing service activities for continuing care at home given to pediatric patients with congenital heart disease admitted in governmental hospitals in Bangkok Metropolitan area. The samples were 90 professional nurses working in newborn intensive care unit in 7 hospitals, and parents or caretakers of 10 pediatric patients who came to heart clinic for follow up at Ramathibodi Hospital and Vachira Hospital. Furthermore, home for 9 patients to observe and interview their parents were also done. Instruments used in this study were self administered questionnaire for staff nurses and structured interview for parents or caretakers. The data were analysed using means, standard deviation and percentage. The research results were: 1. Nusring service activities for continuing car at home as reported in every phase of nusring process were at "high" level. The Assessment Phase, the item with highest mean was "Assessing the pediatric patients' problem from their physical signs"., and the Planning Phase, the ite with the highest mean was "Plan the nursing care plan concerning the patient's physical needs". The intervention Phase, the two items with highest mean were "Apply academic ability in providing nursing care.", and "working cooperatively with physicains and health team personel". The Evaluation Phase ; the item with highest mean was "Report the nursing care evaluation in nurse's note" 2. Giving advice for continuing care at home. Growth and Development part., most of the nurses report "Observe and concern child's high and weight." For medication part, most of the nusers report. "Advise the parents to give medicine at right dose and time to the child". For caring the child with abnormal synptom, most of the nurses report "Advise the parents to sponge the child with warm water" The parents who had been interviewed reported that the advice most of the nurses given to them were "Give medicine to the child at right dose and right time" "Take the child for immunization and to heart clinic for follow up." 3. For home visits, the parents reported that, they were anxiety about the children's illness. Economic problem was also enphasis, due to longterm care. Factors related to child care were : family economic status, parent's education, social support etc. Many families paid much attention to the sick children, even our protect, and take less care for the other children in the family. There were lack of knowledge for psychological care and care for child developments.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2012
Type: Technical Report
Appears in Collections:Nurse - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pranom58285.pdf8.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.