Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2014
Title: ภาวะโภชนาการของเด็กระดับประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร : รายงานผลการวิจัย
Authors: ประนอม รอดคำดี
ทัสสนี นุชประยูร
นภา ศิวรังสรรค์
พวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์
พนิดา ดามาพงศ์
Email: Napa.S@Chula.ac.th
Puangtip.C@Chula.ac.th
Panida.D@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์. ภาควิชาชีวเคมึ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: เด็ก--โภชนาการ
โภชนาการ
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ การศึกษาภาวะโภชนาการของเด็กระดับประถมศึกษาในโรงเรียนในเขตกรุงเพทมหานคร โดยพิจารณาจากการเจริญเติบโตด้านน้ำนหักและส่วนสูง อาหารที่รับประทานในรอบ 24 ชั่วโมง และอากาแสดงทางคลีนิคเนื่องจากภาวะการขาดอาหาร ตัวอย่างประชากร คือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ทำการสุ่มตัวอย่างโรงเรียนตามสังกัดในทุกอนามัยภาค โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้จำนวนโรงเรียน 51 โรงเรียน แล้วทำการสุ่มห้องเรียนโดยการสุ่มตัอย่างแบบง่ายอย่างมีระบบ ให้ได้นัเรียนจำนวนร้อยละ 50 ในต่ละห้องเรียนรวมจำนวนตัวอย่างประชากรที่ศึกษาด้านน้ำหนัก ส่วนสูง และนำมาตรวจร่างกายเพื่อหาอาการแสดงทางคลีนิคจากภาวะการขาดอาหาร 5,131 คน และในจำนวนนี้เฉพาะประถมปีที่ 5 และ 6 จำนวน 1,877 คน ใช้ในการศึกษาอาหารที่รับประทาน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบผฟอร์มบันทึกผลการวัดน้ำหนักและส่วนสูง แบบฟอร์มสัมภาษณ์อาหารที่รับประทาน และถ้วยตวงมาตรฐานและแบบฟอร์มบันทึกผลการตรวจร่างกาย การรวบรวมข้อมูล ด้านน้ำหนักและส่วนสูง ใช้เครื่องชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงชนิดบีมบาลาซสเกล ที่ปรับให้ได้มาตรฐานทุกครั้งก่อนใช้ เครื่องเดียวกันโดยตลอด ผู้ทำการชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีแล้ว การสัมภาษณ์อาหาร กระทำอย่างเป็นสัดส่วนเป็นรายบุคคลในที่สงบเงียบ การกะปริมาณให้บอกเป็นปริมาณถ้วยตวงมาตรฐานที่จัดวางไว้ให้ ด้านการตรวจร่างกาย ตรวจโดยแพทย์และพยาบาลผู้ขำนาญ การวิเคราะห์ข้อมูล ด้านน้ำหนัก ตามอายุคำนวณหาค่าเฉลี่ยเป็นกิโลกรัมเศษทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง และส่วนสูงตามอายุ คำนวณหาค่าเฉลี่ยเป็นเซ็นติเมตร ทศนิยมหนึ่งตำแหน่งและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ภาวะโภชนาการใช้น้ำหนักเทียบส่วนสูง เทียบกับมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก น้ำหนักเทียบส่วนสูง ต่ำกว่า 90% ของมาตรฐานถือว่ามีภาวะทุโภชนาการ คำนวณหาค่าร้อยละของจำนวนประชากรที่มีภาวะโภชนาการปกติและทุโภชนาการด้านอาหารที่รับประทาน นำข้อมูลมาแปลค่าเป็นปริมาณพลังงานเป็นแคลอรี่และปริมาณโปรตีนเป็นกรัม ที่ได้รับในหนึ่งวันหาค่าเฉลี่ย แล้วนำไปเทียบกับมาตรฐาน RDA ส่วนอาการแสดงทางคลีนิค คำนวณเป็นจำนวนร้อยละของตัวอย่างประชากรที่พบอาการขาดสารอาหาร ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การเจริญเติบโตด้านน้ำหนักและส่วนสูง 1.1 เทียบตามอายุ ค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวและส่วนสูง ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเดียวกันกับเด็กวัยเรียน ที่กองอนามัยวัดเมื่อปี พ.ศ. 2520 1.2 ภาวะโภชนาการ ด้านน้ำหนักเทียบส่วนสูง ตัวอย่าง ประชากร เพศหญิง มีภาวะโภชนาการปกติ คิดเป็นร้อยละ 70.5 ทุโภชนการระดับ 3 ร้อยละ 0.1 เพศชายภาวะโภชนาการปกติ ร้อยละ 73.6 ทุโภชนาการ ระดับ 3 ร้อยละ 0.3 2. อาหารที่รับประทาน 2.1 ค่าเฉลี่ยของปริมาณโปรตีนเป็นกรัม เปรียบเทียบกับมาตรฐาน RDA ตัวอย่างประชากร ร้อยละ 68 ได้รับโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอมีค่าเฉลียอยู่ระหว่าง 50.31 - 70.51 กรัม 2.2 ค่าเฉลี่ยของปริมาณพลังงานเป็นแคลอรี่ พบว่าจำนวนร้อยละ 97.7 ได้รับพลังงานน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน RDA และนักเรียนหญิงได้รับพลังงานน้อยกว่านักเรียนชายในทุกสังกัดของโรงเรียน 3. อาการแสดงทางคลีนิค อาการที่พบมากที่สุด คือ ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก จำนวนร้อยละ 2.93 รองลงมา คือ ภาวะขาดไวตามินบีสอง มีแผลที่มุมปาก ร้อยละ 2.02 อาการผิวแห้ง ผิวเป็นหนังคางคกจากการขาดไวตามินเอ พบร้อยละ 0.65 อาการอื่นพบน้อย
Other Abstract: The purpose of the research was to investigate the school children nutritional status concerning weight/height, 24 hours recall for food intake and clinical signs of malnutrition in elementary schools, Bangkok Metropolis. The samples were 5,131 children from 51 schools drawn by the cluster random sampling technique from schools under auspices of Bangkok Metropolitan Administration, Ministry of Education, and the Private Education Commission . All of 5,131 children were measured for weight and height and investigate for clinical signs, and 1,897 students from the same group in prathom 5,6 were interviewed for 24 hour recall for food intake. The data collection forms to be noted on individual height/weight, food intake and clinic signs developed by the researchers were utilized. Data collecting for individual height/weight measured from the only one standard Detecto beam balanced scale by well trained researchers, and so do the interviewers for 24 hours recall for food intake. The clinical investigators arethe professional nurses and physicains from Faculty of Medicine, Chulalongkorn University. The data analysis for weight/height by age means and standard deviation, the nutritional status compared with WHO standard were analysed by per cent, weight/height within 90-100% standard was concerned as normal nutritional status the lower as undernutrition defined in first, second and third degree malnutrition. The 24 hours recall for food intake were interpreted and analysed in grams of protein and calories of energy, then compared with RDA by means and t-test between boys and girls in different auspices of schools. Clinical signs of malnutrition were analysed by per cent. The results of the study were: 1. Weight/height 1.1 By comparison to Scholl Health Department Classification of Nutritional Standard (1977), weight and height by age closely resemble both in boys and girls. 1.2 It was found that 70.5 per cent of girls and 73.6 per cent of boys had normal nutritional status. About 26.2 per cent of girls and 24.8 per cent of boys had mild or first degree malnutrition. Only 0.1 per cent of girls and 0.3 per cent of boys had serve degree malnutrition. 2. 24 hours food intake: 2.1 Comparison to RDA, 68 per cent of the sample ate adequate grams of protein (50.31-70.54 Gm/day) 2.2 Food intake in calories of 97.7 per cent of the sample were less than standard, the girls' intake in every auspices of schools were less adequate in calories compariosn to boys in the same grade.3. Clinical signs: The most significant clinical signs revealed to the investigators were anemia (2.93 per cent), angular stomatitis from vitamin B[subscript 2] deficiency (2.02 per cent) and follicular hyperkeratosis from vitamin A deficiency (0.65 per cent).
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2014
Type: Technical Report
Appears in Collections:Nurse - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Branom(bkk).pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.