Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2021
Title: ศึกษาสภาวะสุขภาพของคนงานก่อสร้างสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร : รายงานผลการวิจัย
Authors: พวงเพ็ญ ชุณหปราณ
เพ็ญพักตร์ อุทิศ
จิราพร เกศพิชญวัฒนา
Email: Paungphen.C@Chula.ac.th
Penpaktr.U@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: แรงงานสตรี--ไทย--กรุงเทพฯ
แรงงานสตรี--สุขภาพและอนามัย
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาวะสุขภาพด้านร่างกาย จิต และสังคมของคนงานก่อสร้างสตรี ในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อเปรียบเทียบสภาวะสุขภาพของคนงานก่อสร้างสตรี จำแนกตามอายุ สถานภาพการศึกษา จำนวนบุตร ระยะเวลาที่ทำงานก่อสร้าง รายได้ ประเภทของงานที่ทำ และภูมิลำเนาเดิม และเพื่อศึกษาความต้องการการดูแลด้านสุขภาพของคนงานก่อสร้างสตรี กลุ่มตัวอย่างคือ คนงานก่อสร้างสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 397 คน สุ่มโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ในเจตก่อสร้าง 11 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบตรวจร่างกาย และแบบสัมภาษณ์ ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และความสอดคล้องระหว่างผู้สัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ร่วมกับวิธีการของเชฟเฟ่ และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ย โดยการทดสอบค่า t สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ คือ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาวะสุขภาพกาย-จิต และสังคมโดยรวมของคนงานก่อสร้างสตรีอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 1.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .09 2. สภาวะสุขภาพกายของคนงานก่อสร้างสตรีอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 1.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .15 สภาวะสุขภาพจิตของคนงานก่อสร้างสตรีอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 1.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .16 สภาวะสุขภาพทางสังคมของคนงานก่อสร้างสตรีอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 1.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .12 3. เมื่อเปรียบเทียบสุขภาพกาย-จิต และสังคมของคนงานก่อสร้างสตรี พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สภาวะสุขภาพทางสังคม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของสุขภาพกายและจิต โดยสภาวะสุขภาพจิต มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3.1 คนงานก่อสร้างสตรีที่มีอายุน้อยมีสภาวะสุขภาพดีกว่าคนงานก่อสร้างสตรีที่มีอายุมากกว่า 3.2 คนงานก่อสร้างสตรีที่เป็นโสดมีสภาวะสุขภาพดีกว่าคนงานก่อสร้างสตรีที่สมรสแล้ว 3.3 คนงานก่อสร้างสตรีที่จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 6 มีสภาวะสุขภาพดีกว่าคนงานก่อสร้างสตรีที่จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 และไม่ได้รับการศึกษา 3.4คนงานก่อสร้างสตรีที่มีบุตรน้อย มีสภาวะสุขภาพดีกว่าคนงานก่อสร้างสตรีที่มีบุตรมาก 3.5 คนงานก่อสร้างสตรี ที่มีระยะเวลาการทำงานก่อสร้างน้อย มีสภาวะสุขภาพดีกว่า คนงานก่อสร้างสตรีที่มีระยะเวลาทำงานก่อสร้างนาน 3.6 คนงานก่อสร้างสตรีที่รายได้ต่อเดือนสูงมีสภาวะสุขภาพไม่แตกต่างจากคนงานก่อสร้างสตรีที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำ 3.7 คนงานก่อสร้างสตรีประเภทมีฝีมือ (Skill Labour) มีสภาวะสุขภาพไม่แตกต่างจากคนงานก่อสร้างสตรีที่ไร้ฝีมือ (Unskilled Lanoir) 3.8 คนงานก่อสร้างสตรีที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานครมีสภาวะสุขภาพไม่แตกต่างจากคนงานก่อสร้างสตรีที่มีภูมิลำเนาต่างจังหวัด 4. คนงานก่อสร้างสตรีมีความต้องการการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพ ร้อยละ 95 ถึง 99 ต้อการสวัสดิการ เรื่องที่พัก การฝึกอาชีพ และการเพิ่มค่าแรง ร้อยละ 41.3 และร้อยละ 14.4 5. ผลจากการตรวจร่างกายคนงานก่อสร้างสตรี พบว่าคนงานก่อสร้างสตรีเจ็บป่วยด้วยฟันผุร้อยละ 57.70 มีปัญหาทางอารมณ์ร้อยละ 56.8 ปวดศีรษะร้อยละ 24.4 มีความผิดปกติของตากและมีตกขาวร้อยละ 19.9 มีริดสีดวงทวารหนักร้อยละ 17.6 โรคผิวหนังร้อยละ 13.4 มีความผิดปกติของประจำเดือนร้อยละ 12 มีการอักเสบของระบบทางเดินหายใจร้อยละ 8 เป็นไข้หวัดร้อยละ 5.7 มีความผิดปกติของหูร้อยละ 3.4 เป็นความดันโลหิตสูงร้อยละ 1.5 ตัวเหลืองตาเหลืองและเป็นหัดเยอรมันร้อยละ .3 6. สภาพความเป็นอยู่สิ่งแวดล้อม ในการดำรงชีวิตของคนงานก่อสร้างสตรี ยังไม่ได้มาตรฐาน ที่อยู่แออัด คับแคบ ร้อนอบอ้าว มีขยะมูลฝอย น้ำขัง น้ำดื่ม น้ำใช้ไม่ถูกสุขลักษณะ มีแมลงสาบ ยุง และหนู อยู่ในบริเวณที่พัก เขตก่อสร้างขนาดใหญ่ 1 แห่ง มีการจัดที่อยู่อาศัยถูกสุขลักษณะ และเป็นสัดส่วน อีก 10 แห่ง มีสภาพไม่เหมาะสม คนงานในบริษัทใหญ่มีการประกันสังคมให้คนงานก่อสร้าง แต่บริษัทขนาดเล็กไม่มีการประกันสังคมให้แก่คนงาน
Other Abstract: The purposes of this study were to study the physical-mental and social health of women construction labour in the Bangkok Metropolitan Area ; to compare the state of health of women construction labour classified by age, marital status, education. Number of children, construction time, income, type of labour and home town ; and to study their health care needs. The samples were 397 women construction labour selected by purposive sampling from 11 construction sites. The research instruments used were physical examination and interview which has been tested for content validity and the congruent between interviewers. The data was analyzed by using of Percentage, mean, standard deviation, one way analysis of variance, Sheffe's method and t-test. The major findings were: 1. State of health as a whole of women construction labour in the Bangkok Metropolitan Area was at moderate level: mean score was 1.70, standard deviation was .09. 2. State of physical health of women construction labour was at moderate level: mean score was 1.69, standard deviation was .15. State of mental health of women construction labour was at moderate level : mean score was 1.53, standard deviation was .16. State of social health of women construction women labour was at good level: mean score was 1.77, standard deviation was .12. 3. When compared physical, mental and the social health of women construction labour, there was a statistically significant difference at .05 level, the social health had higher score than physical and mental health. Mental health had the lowest score. 3.1 Younger women construction labour had better health the elders. 3.2 Single women construction labour had better health than married women construction labour. 3.3. Women construction labour who finish grade six had better than health than those who finished only grade four and those that had no education. 3.4 Women construction labour with less children had better than ones with more children. 3.5 Women construction labour with less construction time had better health than ones with longer construction time. 3.6 Higher paid women construction labour had no difference health status in comparison with ones who received lower paid. 3.7 Skilled women construction labour had no difference in health status in comparison with unskilled labourers. 3.8 Women construction labour whose home town were in Bangkok had no difference health status in comparison with ones who had home town in other parts. 4. Construction women health care needs were 95 to 99 percent. They also needed shelter, vocational training and an increase of wage which was 41.3 and 14.4 percent. 5. The results from the physical examination found that women construction labour had some prevalent illnesses which were : dental caries 57.70 percent, emotional problems 56.8 percent, headache 24.4 percent, somekinds of abnormality of the eyes and leucorrhea 19.9 percent, rectal hemorrhoid 17.6 percent, skin diseases 13.4 percent, abnormal menstruation 12 percent, respiratory tract infection 8 percent, common cold 5.7 percent, ear abnormality 3.4 percent, hypertension 1.5 percent, jaundice and German Measle .3 percent. 6. Living condition and the environment of women construction labour did not meet good standard. Their dwelling were jammed, narrow and hot. There were piles of rubblish, surrounded by soiled water, an inadequate supply of used and drinking water. There were cockroaches, mosquitoes and rats. Only one big construction site had proper dwelling, the other ten had unproper dwelling. Women construction labour in big companies had health insurance but with small companies they had none.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2021
Type: Technical Report
Appears in Collections:Nurse - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paungphen(Women).pdf20.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.