Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20824
Title: มาตรการทางกฏหมายในการบำบัดรักษาและแก้ไขปรับปรุงผู้ติดยาเสพ ติดให้โทษ
Other Titles: Legal measures for the treatiment and rehabilitation of drug addicts
Authors: ปิ่น ศรีเมือง
Advisors: ไชยยศ เหมะรัชตะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ยาเสพติด -- การควบคุม
กฎหมายยาเสพติด
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับยาเสพติดทางด้านการป้องกัน การปราบปรามและการบำบัดรักษา รวม 3 ประการถือได้ว่าเป็นปัญหาอันยิ่งใหญ่ของทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการบำบัดรักษาและแก้ไขปรับปรุงผู้เสพติด เป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า กล่าวคือการสูญเสียกำลังของชาติจากผู้ที่หลงเป็นทาสยาเสพติดมีมากขึ้นประกอบกับในด้านมาตรการต่างๆ รวมทั้งมาตรการทางกฎหมายที่แก้ไขปรับปรุงผู้เสพติดก็ยังหาวิธีการอันเหมาะสมที่แท้จริงไม่ได้ฉะนั้นการวิจัยนี้จึงมีความมุ่งหมายที่จะทำการหามาตรการทางกฎหมายของประเทศที่ประสบกับปัญหาทางด้านนี้มาทำการเปรียบเทียบหามาตรการทางกฎหมายที่ดีเพื่อเป็นหลักเกณฑ์ควบคุมไปกับมาตรการอื่นๆ เป็นการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคดังกล่าว ยาเสพติดมีมากมายหลายชนิดจัดประเภทได้ 4 ประเภท คือ ประเภทกดประสาท ประเภทกระตุ้นประสาท ประเภทหลอนประสาท และประเภทออกฤทธิ์ผสมแต่ละประเภทมีฤทธิ์อำนาจในการทำลายแตกต่างกันไป ในสมัยก่อนมนุษย์มีความเชื่อว่ายาเสพติดมีคุณประโยชน์ในด้านดีประการเดียว แต่บัดนี้กลับสร้างปัญหาขึ้นเป็นอย่างมาก แต่ละประเทศจึงได้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาโดยการปรึกษาหารือ ประชุมกันมีสนธิสัญญา อนุสัญญา เพื่อควบคุมยาเสพติดและภาคีสมาชิกได้นำหลักการต่างๆ ไปบัญญัติไว้ในกฎหมายภายในประเทศของตนและทำการศึกษาถึงสมุฏฐานที่แท้จริงจึงพบว่าสาเหตุที่ทำให้เป็นผู้ติดยาเสพติดกันมากเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการด้วยกัน เช่นสาเหตุจากตัวผู้กระทำความผิด สาเหตุทางด้านสิ่งแวดล้อม สภาพและปัญหาสังคมตลอดจนสาเหตุทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งนานาประเทศมีสาเหตุคล้ายคลึงกันในการทำให้บุคคลเป็นผู้เสพติดและนอกจากนี้อายุ เพศ การศึกษา และอาชีพก็มีส่วนเป็นอย่างมาก ที่ช่วยผลักดันให้มีการเสพยาเสพติด จะเห็นได้ว่าภัยที่เกิดจากผู้ติดยาเสพติดนั้นมีมาก เพราะบางครั้งผู้เสพติดอาจไปก่ออาชญากรรมทางอาญาอีก เช่น ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย และอุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นต้น ผู้เสพติดนี้ถือได้ว่าเป็นผู้กระทำผิดทางอาญา ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกระบวนการยุติธรรม โดยเริ่มต้นจากพนักงานตำรวจ พนักงานอัยการ ผู้พิพากษา และฝ่ายราชทัณฑ์ เป็นผู้ดำเนินงานสืบสวนสอบสวน ส่งฟ้อง พิจารณา พิพากษาคดี ลงโทษผู้เสพติดและพ้นโทษปล่อยตัวไปในที่สุด ซึ่งกระบวนการตามขั้นตอนนี้มีบุคคลหลายฝ่ายได้เสนอแนวความคิดในเรื่องการจัดตั้งศาลพิเศษสำหรับทำการพิจารณาพิพากษาคดียาเสพติดโดยเฉพาะ เหมือนศาลแรงงานหรือศาลปกครอง แต่อย่างไรก็ตามในขณะนี้ยังมิได้มีโครงการจัดตั้งศาลดังกล่าวขึ้นมา ส่วนวิธีการแก้ไขปรับปรุงผู้เสพติด ได้แบ่งแยกผู้เสพติดเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทแรกเป็นการบำบัดรักษาผู้เสพติดที่สมัครใจขอสมัครทำการบำบัดรักษาตามมาตรา 94 พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ผู้เสพติดจะถูกส่งไปยังสถานพยาบาลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำการบำบัดรักษาผู้เสพติด โรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยซึ่งทำการรักษาและมีสภาพฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยในปัจจุบันคือ โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ผู้เสพติดจะได้รับการบำบัดรักษาและแก้ไขปรับปรุงตามวิธีการของแพทย์จนกระทั่งหายขาด และได้รับหนังสือรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ที่รัฐมนตรีกำหนด จึงจะได้รับการยกเว้นโทษ อีกประเภทหนึ่งคือ ผู้เสพติดที่ไม่สมัครขอเข้ารับการบำบัดรักษา ได้แก่ผู้เสพติดที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่จับกุมและนำตัวมาดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม ถ้ามีความผิดจริงฝ่ายราชทัณฑ์จะนำตัวไปลงโทษตามกฎหมาย และพิจารณาส่งไปทำการบำบัดรักษา ณ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษตามควรแก่กรณี สำหรับมาตรการทางกฎหมายในการบำบัดรักษาและการแก้ไขปัญหาผู้เสพติดนานาประเทศรวมทั้งประเทศไทย ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการที่จะแก้ไขปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับผู้เสพติดนั้นจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนซึ่งหลายประเทศถือเป็นแบบมาตรฐานเป็นมาตรการที่ดีและเหมาะสมดังนี้ 1. ระยะเตรียมการก่อนเข้าบำบัดรักษา 2. การบำบัดรักษาผู้เสพติดขั้นถอนพิษยา 3. การฟื้นฟูสมรรถภาพและจิตใจ 4. การติดตามผลภายหลังการบำบัดรักษา ขั้นตอนทั้ง 4 ประการนี้ ประเทศที่มีปัญหาเกี่ยวกับผู้เสพติดได้นำมาใช้และประสบความสำเร็จพอสมควร เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย ปากีสถาน ตุรกี และ มาเลเซีย เป็นต้น สำหรับการแก้ไชปัญหาผู้เสพติดของประเทศไทยยังมิได้ดำเนินการสมบูรณ์ครบทั้ง 4 ขั้นตอน ทั้งนี้เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดยังไม่รัดกุมเพียงพอที่จะบังคับให้ผู้เสพติดอยู่ทำการรักษาจนครบกำหนด การประสานแนวความคิดเกี่ยวกับงานบำบัดรักษาของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่มีมาตรการนำตัวผู้สงสัยว่าเสพติดมาทำการตรวจสอบ การเตรียมการก่อนการรักษาและการติดตามผลภายหลังการรักษายังมิได้ดำเนินงานอย่างจริงจัง การแก้ไขปรับปรุงผู้เสพติดในขณะถูกคุมขังของพนักงานตำรวจหรือศาลขณะนี้ยังไม่มีวิธีใดเลยและเจ้าพนักงานที่ดำเนินการบำบัดรักษาและแก้ไขปรับปรุงผู้เสพติดต้องมีอำนาจพอสมควรเป็นต้น นอกจากนี้อุปสรรคที่เกี่ยวข้องอาจได้แก่งบประมาณ บุคคลผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ตลอดจนสถานที่และอุปกรณ์สำหรับทำการบำบัดรักษาผู้เสพติดจะต้องมีพร้อมและครบถ้วนถ้าหากสามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคแต่ละอย่างตามขั้นตอนและร่วมมือกันอย่างจริงจังด้วยกันทุกฝ่ายแล้วดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายในการบำบัดรักษาและแก้ไขปรับปรุงผู้เสพติดที่กล่าวมา การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับผู้เสพติดก็จะประสบผลสำเร็จในที่สุด
Other Abstract: At present, a narcotic problem comprises three aspects altogether, i.e. prevention, suppression and rehabilitation. This problem is a main concern for every country, particularly in the cure and rehabilitation dimension. It is a severe obstacle to general development of the country, i.e. the country has to lose most of its manpower due to narcotic addiction. The different measures to counteract this including laws are not really suitable for problem-solving. So this research is geared toward ascertaining some legal measures which have successfully been used by the countries experiencing this problem. A comparison is thus made to mete out good legal measures complementing other ones so as to overcome the aforesaid obstacle. There are four main kinds of narcotic which are depressants, stimulants, hallucinogens and mixed sorts. Each kind has different destructive power to humankind. In the old days, people all believed that narcotic produced merely good effects. On the contrary, it now creates a good many problems instead. Each country thus makes a co-operation in order to solve this problem by holding various conferences, making numerous treaties and pacts to regulate narcotic. The member countries have applied a lot of principles obtained from those conferences and treaties to enact their own laws concerning narcotic. Many studies have discovered that the increasing number of narcotic addicts is due to multifarious aliases such as the problems of the offenders themselves, environmental milieu, social as well as economic problems. Besides these, the factors concerning age, sex, education and occupations also play an important role to worsen this problem. All countries in the world. have similar causes of the problem. It is evident that dangers caused by drug addicts are numerous. They often commit crimes again and again such as offences about theft, life injuries, car accidents and so on. Drug addicts are deemed as criminal offenders and thus fall into the judicial process inevitably. The process begins with policemen, then public prosecutors, judges and finally the Correc¬tions officers who conduct investigation and suing and take legal proceedings to punish or at times acquit those offenders. As to this process, people from various walks of life have proposed to set up a special court dealing directly with this matter like a labor court or an administrative court. However, no project has so far been drafted for this purpose. As to the treatment for drug addicts, they are demarcated into two categories. The first one is the treatment for those who voluntarily apply for it according to the article 94 of Narcotic Act 2522 B.E. The drug addicts of this category will be whisked off to Thanyarak Hospital, the biggest drug-addict treatment centre in Thailand. They will be cured and rehabilitated with correct medical methods until the symptom is killed. When they get a letter of guarantee from the authority concerned, they will be exempt from legal punishment. The other category is that drug addicts do not voluntarily apply for the treatment. They have been arrested and taken legal action against according to the judicial process. If their offences are proved true, legal proceedings will be taken against them by the Corrections officers and they will be sent to be cured at a special place for treatment if necessity prevails. As for legal measures to cure and rehabilitate drug addicts, the international community including Thailand has agreed that to cope with all the problems concerning drug addicts entails some standard-cum-suitable measures to be taken as follows: 1. Pre-admission period. 2. Withdrawal. treatment. 3. Rehabilitation. 4. Follow-up study All the four measures are accomplished to a. certain degree by those countries which have a narcotic problem such as the U.S.A., Japan, India, Pakistan, Turkey and Malaysia, etc. As for Thailand, the four measures are still not completely carried out due to various obstacles. These are the insufficient strictness of legal measures, lack of co-ordination among the authorities concerned, lack of effec¬tive measures to investigate would-be drug addicts, the preparation for the cure and the follow-up study which have not still been carried out so far. Presently, no methods are found effective for rehabili¬tating drug prisoners during imprisonment. However, the authorities dealing with the cure and rehabilitation of drug addicts must have certain legal power to do their job. Besides these, the obstacles concerned may be the deficient budget, lack of experts or specialists on drug addiction as well as of places and instruments for the cure and rehabilitation. If these obstacles can be overcome and all the four measures can be really carried out with good co-operation from all concerned, to solve the narcotic problem will certainly materialize in the long run.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20824
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pin_Sr_front.pdf739.72 kBAdobe PDFView/Open
Pin_Sr_ch1.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Pin_Sr_ch2.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Pin_Sr_ch3.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Pin_Sr_ch4.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Pin_Sr_ch5.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Pin_Sr_ch6.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open
Pin_Sr_ch7.pdf827.17 kBAdobe PDFView/Open
Pin_Sr_back.pdf353.11 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.