Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20861
Title: ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคมและวัฒนธรรมในชุมชนวัดเกต เชียงใหม่
Other Titles: Social and cultural impact of tourism in Wat Ket Community's, Chiang Mai Province
Authors: วิภาดา ศุภรัฐปรีชา
Advisors: พันธุมดี เกตะวันดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
การท่องเที่ยวโดยชุมชน -- ไทย -- เชียงใหม่
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน -- ไทย -- เชียงใหม่
การมีส่วนร่วมทางสังคม -- ไทย -- เชียงใหม่
ชุมชนวัดเกต (เชียงใหม่)
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมในชุมชนวัดเกต เชียงใหม่จากมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 3 กลุ่มคือ ประชาชนในพื้นที่ ผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ และจัดลำดับความสำคัญของผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรม พร้อมทั้งศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการท่องเที่ยวภายในชุมชนวัดเกต เพื่อให้ได้ข้อสรุปถึงมาตรการเพื่อลดผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยว เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ประชาชนในพื้นที่ ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และนักท่องเที่ยวจำนวน 783 ราย และสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบ Chi-square การประมาณค่า (Rating Scale) ตามมาตรวัดของ Likert การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance : ANOVA) โดยวิธี Tukey’s Multiple Comparisons ผลการศึกษาพบว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 3 กลุ่มมีความเห็นว่าผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคมและวัฒนธรรมในชุมชนวัดเกต เชียงใหม่อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการจัดลำดับความสำคัญของผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 3 กลุ่มมีความเห็นเหมือนกันทั้งหมดกล่าวคือผลกระทบทางบวกพบว่าทำให้คนในชุมชนมีความภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเองมากขึ้น และมีการสืบสานฟื้นฟูประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนมากขึ้น นอกจากนั้นแล้วยังสามารถนำรายได้จากการท่องเที่ยวมาพัฒนาพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และอาคารเก่าที่มีคุณค่าภายในชุมชน แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเห็นในด้านข้อเสียของการท่องเที่ยวด้วย กล่าวคือ เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมมากขึ้น ประเพณีและวัฒนธรรมถูกทำให้กลายเป็นสินค้ามากขึ้น ทำให้วิถีชีวิตของคนในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น มีการย้ายถิ่นเข้ามาในชุมชนมากขึ้น และมีเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับโอกาสและผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว ส่วนการศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวพบว่า มีความพึงพอใจต่อการจัดการท่องเที่ยวภายในชุมชนวัดเกตอยู่ในระดับมาก และการหาแนวทางลดผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นชุมชนควรมีการกำหนดแนวทางการอนุรักษ์และการพัฒนาการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับข้อจำกัดทางด้านกายภาพของชุมชน ควรสร้างความตระหนักให้แก่คนในชุมชนเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของสังคมและวัฒนธรรมของตนเอง ควรเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริง โดยไม่ควรมุ่งเน้นทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว
Other Abstract: This thesis explores, from the points of views of 3 groups of stakeholders which are community and entrepreneurs as well as governmental authorities, the social and cultural impacts of tourism on Wat Ket Community in Chiang Mai, Thailand; and ranks those impacts in terms of importance. In addition, the study also investigates tourist’s satisfaction with tourism offers in Wat Ket Community. The result expected also includes the measures to alleviate the identified negative impacts. Research tools applied in this thesis are questionnaires and in - depth interviews with samplings of community, entrepreneurs, governmental authorities, and tourists , totalling 783 persons. Research statistics are percentages, means, standard deviations, Chi-square test, rating scales of Likert’s scale, Analysis of Variance: ANOVA by Tukey’s Multiple Comparisons. The study reveals that the 3 groups of stakeholders perceive that tourism has moderate impacts upon Wat Ket Community’s social and cultural aspects. With regards to socio-cultural positive impacts, the 3 groups of stakeholders agree that first and foremost, tourism enhances cultural pride. Secondly, tourism places a value on preservation of local culture and customs. Thirdly, the income generated by tourism is directly used to develop historically significant areas and buildings. On the other hand, the 3 groups also have some reservations about tourism; namely, the demonstration effect, the commoditization of culture, changes in the traditional way of life, in-migration and exclusion of a certain group of local people. Furthermore,The study illustrates that tourists satisfaction is ranked high. To lessen the negative impacts, the community should come up with conservation and development measures with regards to physical restraints and cultural assets of the area. Tourism policy should be set with socio-cultural purposes in mind and not simply to boost tourism or the economy, while genuinely involving stakeholders.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการทางวัฒนธรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20861
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.424
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.424
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
vipada_su.pdf4.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.