Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20899
Title: ความต้องการด้านสุขภาพอนามัยของวัยรุ่นในระยะตั้งครรภ์
Other Titles: Health needs of adolescents during pregnancy
Authors: ปิยนุช บุญเพิ่ม
Advisors: ประนอม โอทกานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: dpnanom@hotmail.com
Subjects: วัยรุ่น
ครรภ์
อนามัยแม่และเด็ก
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความต้องการด้านสุขภาพอนามัยและความต้องการคำแนะนำของวัยรุ่นในระยะตั้งครรภ์ รวมทั้งหาความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการด้านสุขภาพอนามัย และความต้องการคำแนะนำกับภูมิหลังของวัยรุ่นตั้งครรภ์ซึ่งได้แก่ ระดับการศึกษา ลักษณะครอบครัว สถานภาพการยอมรับการสมรส และระดับเศรษฐฐานะ กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นวัยรุ่นตั้งครรภ์อายุระหว่าง 15-19 ปี ครรภ์แรก อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และวชิรพยาบาลจำนวนทั้งสิ้น 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยได้ทดสอบความตรงตามเนื้อเรื่อง และนำไปลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะคล้ายกลุ่มตัวอย่างประชากรจริง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ และทดสอบค่าไคสแควร์ ( ^2) ผลการศึกษาวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ คือ 1. กลุ่มตัวอย่างได้ให้ความสำคัญอันดับแรกของความต้องการทางด้านร่างกาย คือ “ต้องการให้รูปร่างเหมือนเดิมภายหลังคลอด” ด้านจิตใจ อารมณ์ “ต้องการให้บิดา มารดา ญาติพี่น้องพูดคุยเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ด้วยความยินดี” ด้านสังคม “ต้องการทำงานเพื่อหาเลี้ยงครอบครัวภายหลังคลอดบุตรแล้ว” 2. ความต้องการด้านสุขภาพอนามัย 26 รายการ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับภูมิหลังของกลุ่มตัวอย่างซึ่งได้แก่ระดับการศึกษา ลักษณะครอบครัว สถานภาพการยอมรับการสมรส และระดับเศรษฐฐานะ 3. กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการด้านคำแนะนำอันดับแรกคือ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับสถานภาพการยอมรับการสมรส 4. อาการผิดปกติซึ่งเกิดขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษามากที่สุดคือ อาการวิงเวียนศีรษะและเป็นลม ส่วนความต้องการคำแนะนำเมื่อมีอาการผิดปกติที่ต้องการมากที่สุดคือ อาการแพ้ท้อง อาการที่เกิดขึ้นน้อยที่สุดและต้องการคำแนะนำน้อยที่สุด คือ อาการเส้นเลือดดำที่ขาโป่งพอง
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the health needs/advices adolescents required during the trimester period of pregnancy. The study also aimed to find out relationships between adolescent health needs, their needs for advice, and their bio¬socio-economic backgrounds including marital status acceptance. The sample used in this study were 150 primigravida, are 15 - 19 years, attending antenatal clinics at Rajavithi Hospital, Chulalongkorn Hospital, and Vachirapayaban Hospital. An instrument to collect data was developed by the researcher. It .had been satisfactorily tested for content validity and appropriateness. The data was analysed by percentage and chi-square ( ^2). The results were as followed :- 1. The sample gave priority concerning their figure for physiological needs, the family appreciation of the new comer for psychological needs, and to earn for their living after delivery for socio- economic needs. 2. there were statistical significant relationships between 26 iterms health needs and their bio-socio-economic back ground. 3. The sample wished the most to learn about fetal growth and development. 4. The dizziness and fainting was the complication occurring the most during pregnancy. Other wise the varicose vein was the complication occurring at the least. It was also found that the priority needs for advice was morning sickness.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20899
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyanuch_Bo_front.pdf374.21 kBAdobe PDFView/Open
Piyanuch_Bo_ch1.pdf358.11 kBAdobe PDFView/Open
Piyanuch_Bo_ch2.pdf780.04 kBAdobe PDFView/Open
Piyanuch_Bo_ch3.pdf271.1 kBAdobe PDFView/Open
Piyanuch_Bo_ch4.pdf714.05 kBAdobe PDFView/Open
Piyanuch_Bo_ch5.pdf705.91 kBAdobe PDFView/Open
Piyanuch_Bo_back.pdf588.28 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.