Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20919
Title: ลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิในการแปล และการทำซ้ำซึ่งหนังสือ
Other Titles: International copyright in respect to right of translation and reproduction of books
Authors: พงษ์ศักดิ์ กิติสมเกียรติ
Advisors: ไชยยศ เหมะรัชตะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ -- การแปล
ลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ
อนุสัญญากรุงเบอร์น
อนุสัญญาลิขสิทธิ์สากล
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ในด้านการคุ้มครองสิทธิของผู้สร้างสรรค์ที่นานาประเทศได้รับรองคุ้มครองด้วยการบัญญัติเป็นกฎหมายภายใน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองลิขสิทธิ์ในขอบเขตของงานวรรณกรรมและศิลปกรรมอย่างเต็มที่เท่าที่ไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของสาธารณะ และเพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างสรรค์งานให้มากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ เป็นการขยายขอบเขตการคุ้มครองลิขสิทธิ์ออกไปยังประเทศอื่นตามพันธกรณีที่ตนผูกพันอยู่ ซึ่งในปัจจุบันมักจะเป็นไปตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งก็คือ อนุสัญญาเบอร์นเพื่อการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม และอนุสัญญาลิขสิทธิ์สากล โดยอนุสัญญาทั้งสองฉบับได้บัญญัติให้ประเทศภาคีแห่งอนุสัญญาจะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในประเทศภาคีแห่งอนุสัญญาอื่นในลักษณะตอบแทนกัน แต่อนุสัญญาทั้งสองนี้ก็มีลักษณะแตกต่างกันในรูปแบบของการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ตามก็ได้คำนึงถึงประเทศกำลังพัฒนาที่จะนำงานสร้างสรรค์ของประเทศพัฒนาแล้วมาใช้ในการพัฒนาประเทศจึงได้ให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่จะสามารถใช้สิทธิในการแปลและการทำซ้ำในระบบออกใบอนุญาต สำหรับประเทศไทยได้เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาเบอร์นอยู่ 2 ฉบับ คือ ฉบับ Berlin Act, ค.ศ. 1908 ซึ่งสำเร็จโดย Berne Convention Protocol ค.ศ. 1914 โดยได้ทำข้อสงวนขอใช้มาตราของฉบับ Berne Convention ค.ศ. 1886 และ/หรือ Paris Act, ค.ศ. 1896 แทน รวม 6 ข้อ ซึ่งมีสิทธิในการแปลและการทำซ้ำด้วย ในภาคสาระบัญญัติ และฉบับ Paris Act, ค.ศ. 1971 ในภาคบริหาร โดยประเทศไทยได้ตรากฎหมายให้งานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของประเทศภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย และกฎหมายประเทศนั้นได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่นๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว หรืองานอันมีลิขสิทธิ์ขององค์การระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทยร่วมเป็นสมาชิกอยู่ด้วย ให้ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขในพระราชกฤษฎีกา แต่เนื่องจากพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2526 ได้ประกาศใช้ภายหลังพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ดังนั้นในช่วงระยะเวลาที่มิได้มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา จึงต้องนำบทบัญญัติของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาใช้บังคับกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศด้วยเพราะพระราชกฤษฎีกาเป็นเพียงเงื่อนไขในรายละเอียดที่เกี่ยวกับข้อจำกัดหรือข้อยกเว้นการคุ้มครองเท่านั้น ซึ่งหากไม่มีพระราชกฤษฎีกาก็สามารถนำพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 มาบังคับใช้ได้ และทั้งเจตนารมณ์ของกฎหมายก็ต้องการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ และในทำนองเดียวกันกับงานอันมีลิขสิทธิ์ขององค์การระหว่างประเทศ ก็จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 เพราะมิได้บัญญัติเงื่อนไขแห่งการคุ้มครองไว้ในพระราชกฤษฎีกาแต่ประการใด นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีพันธกรณีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศอยู่ตามสนธิสัญญาทางไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหรัฐอเมริกาเนื่องจากประเทศไทยใช้ทฤษฎีที่ถือว่า สนธิสัญญาจะไม่มีผลบังคับเป็นกฎหมายภายในทันทีจึงไม่อาจนำไปใช้บังคับเช่นกฎหมายภายในได้ ทั้งไม่อาจนำมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 มาบังคับใช้ได้ แต่ในบางกรณีศาลยุติธรรมก็ได้เคยวินิจฉัยตีความสนธิสัญญาไว้โดยตรงเสมือนกฎภายใน แต่ก็ยังไม่สามารถเป็นบรรทัดฐานได้ ซึ่งหากรัฐมีความต้องการให้ความคุ้มครองงานของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ควรแก้ไขมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 โดยให้ครอบคลุมถึงงานดังกล่าวด้วย สิทธิในการแปลซึ่งหนังสือต่างประเทศของไทย ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 5 วรรค 2 ของพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไข เพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2526 โดยใช้ระบบสิบปี ตามข้อสงวนที่ 3 ที่ขอใช้มาตรา 1 วรรค 3 ของ Paris Act, ค.ศ. 1896 และมาตรา 5 วรรค 2,3 และ 4 ของ Berne Convention, ค.ศ. 1886 แทนมาตรา 8 ของ Berlin Act, ค.ศ. 1908 โดยในงานวรรณกรรมหรือนาฏกรรม หากเจ้าของลิขสิทธิ์มิได้จัดให้มีหรืออนุญาตให้ผู้ใดจัดทำคำแปลเป็นภาษาไทย และโฆษณาคำแปลนั้นภายในราชอาณาจักรภายในสิบปี นับตั้งแต่วันสิ้นปีปฏิทินของปีที่ได้มีการโฆษณาวรรณกรรมหรือนาฏกรรมดังกล่าวเป็นครั้งแรก ให้ถือว่าสิทธิที่จะห้ามมิให้ทำการซ้ำ ดัดแปลง หรือโฆษณาซึ่งคำแปลภายในราชอาณาจักรเป็นอันสิ้นสุด ซึ่งมิได้บัญญัติถึงการสิ้นสุดลงของสิทธิในการแปลตามพันธกรณีระหว่างประเทศหรือเหมือนกับที่กฎหมายในประเทศอื่นๆ ใช้ นอกจากนั้นมิได้บัญญัติให้การคุ้มครองงานแปลได้รับความคุ้มครองเหมือนงานแรกเริ่มเท่าที่ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม และไม่อาจนำมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 มาบังคับใช้ได้ เพราะการแปลที่มิได้รับการอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์แต่ด้วยการอาศัยการตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และทฤษฎีพื้นฐานของกฎหมายลิขสิทธิ์จึงทำให้บทบัญญัติทั้งสองมีความสอดคล้องพันธกรณีระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม หากผลของการตีความในชั้นศาลยุติธรรมเป็นไปในทางตรงข้าม ก็ควรจะมีการแก้ไขกฎหมายเสียใหม่ ส่วนในด้านของสิทธิในการทำซ้ำซึ่งหนังสือต่างประเทศของไทยนี้ ได้ใช้ระบบบทบัญญัติทั่วไป ซึ่งไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศทั้งในมาตรา 1 วรรค 4 ของ Paris Act, ค.ศ. 1896 (ข้อสงวนข้อที่ 4) และมาตรา 9 ของ Berlin Act, ค.ศ. 1908 ซึ่งใช้ระบบบทบัญญัติเฉพาะงาน แต่บทบัญญัติของไทยนี้ เป็นการให้ความคุ้มครองมากกว่าความผูกพันตามพันธกรณีดังกล่าว จึงไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับพันธกรณีตามอนุสัญญาเบอร์น หากประเทศไทยต้องการใช้สิทธิในการทำซ้ำในระบบบทบัญญัติเฉพาะงานก็ควรแก้กฎหมายเสียใหม่ ส่วนในด้านของสิทธิในการแปลและการทำซ้ำซึ่งหนังสือต่างประเทศ ในระบบต่างๆ ตามอนุสัญญาเบอร์นนี้ ประเทศไทยน่าจะนำสิทธิในการแปลในระบบสิบปี และสิทธิในการทำซ้ำในระบบออกใบอนุญาตทำซ้ำมาใช้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย สำหรับในด้านอนุสัญญาลิขสิทธิ์สากล ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยยังมิได้เป็นภาคีสมาชิก หากประเทศไทยมีความต้องการเข้าเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาลิขสิทธิ์สากล ก็น่าจะใช้สิทธิในการแปลและการทำซ้ำซึ่งในหนังสือในระบบบัญญัติยกเว้นสำหรับประเทศกำลังพัฒนา แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงพันธกรณีหรือผูกพันใหม่จะต้องพิจารณาในด้านอื่นๆ ประกอบด้วยเพราะวิทยานิพนธ์นี้ทำการวิจัยเฉพาะด้านของลิขสิทธิ์ในการแปลและการทำซ้ำซึ่งหนังสือเท่านั้น
Other Abstract: Copyright, A category of intellectual property, is a, rule to protect authors' rights by national law in many countries for the purpose of full protection in. the expression of literary and artistic works, as far interest- is not affected, and to promote creation of works which will be beneficial to the of the country. International Copyright meant to extend the protection of copyright to national of other countries according to the agreed obligation. Nowadays, it is known as the International Convention: The Berne Convention for Protection of Literary and Artistic Works and The Universal Copyright Convention. They, themselves protect the copyright of the contracting states in other contracting states by the rule of reciprocity But they still have some different provisions about the condition of copyright. However, hawing taken into consideration that-developing countries have to apply works of developed countries for their countries development, therefore, the conventions provide for compulsory licensing to translation end reproduction rights of developing countries. Thailand is a member of The Berne Convention. There are two parts that Thailand adheres to: The Berlin Act, 1908 completed by the additional Protocol, 1914 (with six reservations) including the translation and reproduction rights (in substance course) and Paris Act, 1971 (in administration course). The present Thai copyright law is The Copyright Act, 2521. It protects any copyrighted work under the law of other contracting state of a convention which Thailand is also a contracting state. It extends such protection reciprocally but subject to a Royal Decree. However, The Royal Decree provides only a limitation or exception of protection. Without that, the act itself, can be used and is deemed to fulfill spirit of the said Act in protecting foreign copyright. The works of international organization are also protected under The Copyright Act, B.E. 2521 because a condition of protection was not provided in The Royal Decree. In addition, Thailand has obligation under The Treaty of Amity and Economic Relations between The Kingdom of Thailand and The United States of America. Since Thailand follows the dualistic doctrine the Treaty cannot directly be applied as law of the land and it cannot claim to be within the provision of article 42 of The Copyright Act, B.E. 2521. However the court has ever decided that a treaty may be applied has national law. But precedent is still to be set. If the government prefers to extend protection .to work of nationals of the United States it should revise article 42 of The Copyright Act, B.E. 2521 to include those works. The Thai's translation right of books follows the ten years system of the third reservation, according to article 1 paragraph 3 of The Paris Act, 1896 and article 5 paragraph 2, 3 and 4 of The Berne Convention, 1886 instead of article 8 of The Berlin Act, 1908. It is provided in article 5 paragraph 2 of The Royal Decree: if the owner of copyright of literary or dramatic works does not make or authorize the translation in Thai language and publish in the Kingdom within ten years from the last day of the year of the first publication of such works, the exclusive right of reproduction, adaptation or publication of the translation in the Kingdom shall be deemed extinguished. This article does not provide for extinction of the translation right as provided in the convention or domestic laws of other country. In addition, The Copyright Act, B.E. 2521 does not provide for protection of a translation as original works without prejudice to the right of the author of the original works. Article 9 of the said Act cannot be applied here because it is not an authorized translation. However by virtue of interpretation according to the spirit of legislation and the fundamental doctrine of copyright law the provision can be applied to follow the international obligation. However a revision of the law is still necessary if the court does not interpret in the above mentioned manner. In the part of reproduction right, Thailand uses the general provision system (no limitation). It is different from those provisions under article 1 paragraph 4 of The Paris Act, 1896 (the fourth reservations) and article 9 of The Berlin Act, 1908. It has protected more than what is required under the convention. If the Government wants to use exclusive work system (article 1 paragraph 4 of the Paris Act, 1896) it should revise the law. Under The Berne Convention, Thailand should use the ten years system for the translation right and the compulsory licensing system for the reproduction right. Regarding to The Universal Copyright Convention, which Thailand is not a member yet, it should apply the compulsory licensing system for the translation and reproduction right, when the government wants to become a member of this convention. However, other factor have to be taken into consideration if a change an international obligation should be introduced. This thesis limit itself to the right to translation and the Right of to reproduction.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20919
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongsak_Ki_front.pdf587.97 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_Ki_ch1.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Pongsak_Ki_ch2.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Pongsak_Ki_ch3.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Pongsak_Ki_ch4.pdf989.93 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_Ki_ch5.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open
Pongsak_Ki_ch6.pdf779.33 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_Ki_back.pdf309.39 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.