Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21084
Title: การศึกษาเพื่อประกอบการวางแผนโครงสร้างในการพัฒนาจังหวัดตรัง
Other Titles: A study for structural development planning of Trang province
Authors: ปาลีรัฐ อัจฉริยะเสถียร
Advisors: จารุวรรณ ลิมปเสนีย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Charuwan.L@chula.ac.th
Subjects: แผนพัฒนาจังหวัด
คมนาคม -- ไทย (ภาคใต้)
ตรัง -- ผังเมือง
ตรัง -- ภาวะเศรษฐกิจ
ไทย (ภาคใต้) -- ภาวะเศรษฐกิจ
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการวางแผนโครงสร้างเพื่อพัฒนาจังหวัดตรัง โดยคำนึงถึงสภาพการณ์และปัญหาของท้องถิ่น ผนวกประสานกับนโยบายระดับชาติกระบวนการศึกษาวิจัยเริ่มต้นจากการศึกษา วิเคราะห์สถานภาพทั่วไปทางด้านที่ตั้ง ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ เศรษฐกิจมหาภาค การเกษตร อุตสาหกรรม การค้า ประชากร ชุมชนเมือง การคมนาคมขนส่ง โครงข่ายไฟฟ้า บริการน้ำบริโภค อุปโภค การศึกษา สาธารณสุข ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะชี้ให้เห็นถึงสภาพการณ์ ปัญหา หรือุปสรรคต่างๆ ต่อการพัฒนาพื้นที่ของจังหวัด เพื่อจะได้จัดหาวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านั้นได้อย่างตรงตามข้อเท็จจริงต่อไป ผลของการวิเคราะห์สภาพการทั่วไป พบว่าจังหวัดตรังมีบทบาทและปัญหา 3 ประการดังนี้คือประการที่ 1 บทบาทจังหวัดตรังในระดับภาค จังหวัดตรังเป็นเมืองที่มีบทบาทความสำคัญทางด้านการผลิตสินค้าเกษตรบางชนิด ได้แก่ ยางพารา สินค้าประมงทะเล และป่าไม้ ประการที่ 2 จังหวัดตรังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเนื่องจากผลผลิตขึ้นกับการผลิตภาคปฐมภูมิ เพียงไม่กี่ชนิด โดยการขาดการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มอื่นๆ ประการที่ 3 พื้นที่บางแห่งของจังหวัดตรัง เป็นพื้นที่ที่ต้องการพัฒนาโดยเร็วเนื่องจากเป็นพื้นที่ชนบทห่างไกล ที่ขาดแคลนทางด้านบริการสาธารณะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิ่งอำเภอสิเกา จากสภาพการณ์ที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนา ชี้ให้เห็นถึงสภาพการณ์ของปัญหาที่จะนำมากำหนดเป็นนโยบายและข้อเสนอแนะในการพัฒนาต่อไป ทั้งนี้ กรอบนโยบายในการพัฒนานั้นจะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมๆ กับที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่น เป็นหลักสำคัญผลการศึกษาได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนา ดังต่อไปนี้ ก. การแก้ไขปัญหาระยะยาว โดยเน้นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อมุ่งให้มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น นอกเหนือจากการเกษตรกรรม ด้วยการ - พัฒนาโครงการสร้างเกษตรกรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานการผลิตของจังหวัด -ขยายเศรษฐกิจใหม่ ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตร และส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว ข. การแก้ไขปัญหาระยะสั้น ได้แก่การพัฒนาการบริการสาธารณะสุขต่างๆ โดยทั่วถึง โดยกำหนดให้อำเภอสิเกา และกิ่งอำเภอวังวิเศษเป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาเป็นอันดับแรก ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดความแตกต่างเหลื่อมล้ำกันระหว่างพื้นที่ให้หมดไป การเสนอแนะต่างๆ ของการวิจัยครั้งนี้เป็นการเสนอแนะแนวทางการพัฒนาที่ควรจะเป็น โดยพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของนโยบายระดับรัฐบาล และพยายามเน้นให้มีความร่วมกันระหว่างจังหวัดใกล้เคียงในด้านของการจัดทำแผน
Other Abstract: The research has its main objective to be a guideline for Trang Province Structure Plan, on the basis of understanding the specific conditions of the study area in accordance with the National Plan which is higher level policy. The first task of this study is to examine the general conditions of location, topography, climate, macro-economic, agriculture, industry, trade, population, urban centres, communication, electricity network, water, education and public health. These data will show character and problem or constraint of the area which provide the researcher enough information for further planning. Three distinguished characteristics of Trang have been found as follows:- Firstly, role of Trang in the region is an agriculture town with lead products, i.e., rubber, fishery and wood. Secondly, Trang is facing with decreasing economic problem for its less economic base depending on 2-3 kind of products without value added of other products. Thirdly, there are some places in the province, i.e., Wang Wisate and Sikao District, which face with constraints of physical, facility and eocnomic more than others. For the above-mentioned constraints, the research proposes the development guideline under 3 conditions as follows:- 1. The policy and development guideline must be in accordance with the National Plan. 2. The policy and development guideline must concentrate on the problem area. Therefore, the plan for Tranq will compose of 2 main policies as follows:- A. Long range plan : It is concentrated on economic development by: - Improving agriculural structure. - Extending economic base, i.e., agro-industry and tourism. B. Short term plan : It is concentrated on improving the infrastructure of the study area. The first target of development should be to poorest part of the province in order to reduce differences among districts of the province. Lastly, the research will stop its study at the above-mentioned guidelines. For further study, it is suggested a cooperation among provinces in the western coast of Andaman Sea, in planning a unique by the concept of agglomeration.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21084
ISBN: 9745668354
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paleerat_Ac_front.pdf568.48 kBAdobe PDFView/Open
Paleerat_Ac_ch1.pdf290.88 kBAdobe PDFView/Open
Paleerat_Ac_ch2.pdf739.86 kBAdobe PDFView/Open
Paleerat_Ac_ch3.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Paleerat_Ac_ch4.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open
Paleerat_Ac_ch5.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Paleerat_Ac_ch6.pdf675.3 kBAdobe PDFView/Open
Paleerat_Ac_back.pdf268.32 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.