Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21488
Title: การวิเคราะห์กิจกรรมการนิเทศ ของพยาบาลหัวหน้าฝ่ายสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภาคเหนือ กระทรวงสาธารณสุข
Other Titles: An analysis of supervisory activities of the section chief nurses in provincial health offices northern region ministry of publi health
Authors: เพ็ญพิศ เล่าเรียนดี
Advisors: ประนอม โอทกานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: พยาบาล
การนิเทศการศึกษา
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์กิจกรรมการนิเทศด้านการวางแผนการปฏิบัติตามแผน และการติดตามประเมินผลของพยาบาลหัวหน้าฝ่าย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภาคเหนือ และเปรียบเทียบการปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศตามการรับรู้ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกลุ่ม ก คือ จังหวัดที่มีปริงานสูงมาก กลุ่ม ข คือจังหวัดที่มีปริมาณงานปานกลาง และกลุ่ม ค คือจังหวัดที่มีปริมาณงานต่ำ การศึกษาครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ประชากรซึ่งเป็นพยาบาลหัวหน้าฝ่ายจำนวนทั้งสิ้น 51 คน และจากการสอบถามตัวอย่างประชากรซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขรวมทั้งสิ้น 198 คน แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามมีความตรงตามเนื้อหาและมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ความเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าเอฟ “การให้เจ้าหน้าที่มีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน” และ “การชี้แจงเรื่องการประเมินพร้อมทั้งให้โอกาสเจ้าหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าฝ่าย” 4. หัวหน้าฝ่าย กลุ่ม ค จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ปฏิบัติกิจกรรมด้านการวางแผนให้หัวข้อ “การรู้จักเจ้าหน้าที่ในฝ่าย” และ “การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่” ด้านการติดตามประเมินผลในหัวข้อ “การยกย่องชมเชยพิจารณาความดีความชอบของเจ้าหน้าที่ในฝ่าย” กิจกรรมที่มีผู้ปฏิบัติน้อยที่สุดเป็นกิจกรรมด้านการปฏิบัติในหัวข้อ “การให้เจ้าหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเองและเพื่อนร่วมงาน” ด้านการติดตามประเมินผลในหัวข้อ “การชี้แจงเรื่องการประเมินผลและให้โอกาสเจ้าหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าฝ่าย” 5. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข กลุ่ม ก กลุ่ม ข และ กลุ่ม ค รับรู้ต่อการปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศของพยาบาลหัวหน้าฝ่ายโดยส่วนรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการวางแผนในข้อที่ 1 (การรู้จักเจ้าหน้าที่ในฝ่าย) และด้านการปฏิบัติในข้อ 21 (การจัดหรือร่วมจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการสาธารณสุข) ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. ปัญหาและอุปสรรคที่พบมากที่สุดคือปัญหาอุปสรรคด้านการปฏิบัติ ในหัวข้องบประมาณสนับสนุนจำกัด อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ และหัวหน้าฝ่ายต้องรับผิดชอบงานมาก ผลการวิจัย การปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศของพยาบาลหัวหน้าฝ่ายสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 1. หัวหน้าฝ่ายจำนวนทั้งหมด 51 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ปฏิบัติกิจกรรมด้านการวางแผนในหัวข้อ “การรู้จักเจ้าหน้าที่ในฝ่าย” ด้านการติดตามประเมินผลในหัวข้อ “การยกย่องชมเชยพิจารณาความดีความชอบ” กิจกรรมที่มีจำนวนหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติน้อยที่สุดคือกิจกรรมด้านการปฏิบัติในหัวข้อ “การให้โอกาสเจ้าหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเองและเพื่อนร่วมงาน” ด้านการติดตามประเมินผลในหัวข้อ “ การชี้แจงเรื่องการประเมินผลและให้โอกาสเจ้าหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าฝ่าย” 2. หัวหน้าฝ่าย กลุ่ม ก จำนวนทั้งหมด 15 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ปฏิบัติกิจกรรมด้านการวางแผน 2 ข้อ ด้านการปฏิบัติ 7 ข้อ และด้านการติดตามประเมินผล 1 ข้อ ได้แก่หัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ ด้านการวางแผน “การรู้จักเจ้าหน้าที่ในฝ่าย” และ “การเห็นความสำคัญของปัญหาที่พบในการนิเทศ” ด้านการปฏิบัติ “การให้การปฐมนิเทศเจ้าหน้าที่ใหม่” “การแนะแนวทางและให้โอกาสเจ้าหน้าที่ปรึกษาปัญหาการปฏิบัติงาน” การจัดระบบการเก็บรวบรวมข้อมูลรายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่” “การประชุมชี้แจงแผนเป้าแผนและนโยบายการปฏิบัติงาน” “การจัดหรือร่วมจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการสาธารณสุข” “การจัดประชุมฝ่ายเพื่อให้เจ้าหน้าที่ร่วมเสนอความคิดเห็นและแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน” และ “การชี้แจงข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน” ด้านการติดตามประเมินผล “การยกย่องชมเชยพิจารณาความดีความชอบของเจ้าหน้าที่ในฝ่าย” กิจกรรมที่หัวหน้าฝ่ายได้ปฏิบัติจำนวนน้อยที่สุด คือ “การให้เจ้าหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเองและเพื่อนร่วมงาน” 3. หัวหน้าฝ่ายกลุ่ม ข จำนวนทั้งหมด 18 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ปฏิบัติกิจกรรมด้านการวางแผนในหัวข้อ “การรู้จักเจ้าหน้าที่ในฝ่าย” ด้านการปฏิบัติในหัวข้อ “การปฐมนิเทศเจ้าหน้าที่ใหม่” และ “การประชุมชี้แจงแผนเป้าหมายนโยบายการปฏิบัติงานของฝ่าย” กิจกรรมที่มีผู้ปฏิบัติน้อยที่สุด คือด้านการติดตามประเมินผลในหัวข้อ
Other Abstract: This research was designed to analysis the supervisory activities concerning planning, implementing and evaluation of the section chief nurses. The study also designed to compare the perception of supervisory activities of the section chief nurses among three groups of public health officers. The data obtained from interviewing of 51 chief nurses and sending questionnaire to 198 public health officers. The instrument for obtaining data had been tested for content validity and reliability. It’s reliability was equal to .92. The statistic utilized for analysis of data was arithmetic mean, standard deviation and ANOVA. The results of study were as follow. 1. All of the chief nurses performed planning activity in the item of staff acquaintance. The activity of evaluation was in the item of staff appraisal. The activity performed the least was the activity of implementation in the item staff participation in appraisal their own job and their colleagues; the activity of evaluation was in the item of providing staff for the opportunity of appraisal the chief nurses performance. 2. All of the chief nurses group A. performed planning activity in the item of staff acquaintance and awareness of problems in supervision. They also performed the activity of implementation in 7 items. These items were defined as staff orientation, staff consultation, reporting staff performance, explaining aims and policies of the job, health education exhibition, discussing means for solving the problems, guiding for job development and staff appreciation. The activity which performed the least in the activity of implementation was staff participation in appraisal their own job and their colleagues 3.All of the chief nurses in group B. performed planning activity in the item of staff orientation, explaining aims and policies of the job There were two items which performed the least in the evaluation activity. These two items were staff participation in setting the standard of the job, and providing staff for the opportunity of appraisal chief nurses performance. 4. All of the chief nurses in group C. performed planning activity in the item of staff acquaintance and providing facility. They also performed activity of evaluation in the item of staff appreciation. There were two items which performed the least in the activity of implementation. These two items were defined as staff participation in appraisal their own job and their colleagues, and providing staff for the opportunity in appraisal the chief nurses performance. 5. There was no significant difference among the public health officers group A., group B. and group C. concerning the perception of supervisory activities whether taken as a whole devided into separate categories at .05level. There was significant difference among these three groups of public health officers concerning the activity of planning in the item of staff acquaintance and the activity of implementation in the item of health education exhibition at .05 level. As perceived by the chief nurses, the problems and obstacles of supervisory activities were limited budget, shortage of personal and the chief nurses have varieties of responsibility.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21488
ISBN: 9745641626
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Penpit_Lo_front.pdf628.51 kBAdobe PDFView/Open
Penpit_Lo_ch1.pdf467.47 kBAdobe PDFView/Open
Penpit_Lo_ch2.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Penpit_Lo_ch3.pdf500.83 kBAdobe PDFView/Open
Penpit_Lo_ch4.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Penpit_Lo_ch5.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Penpit_Lo_back.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.