Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21789
Title: ความผิดต่อส่วนตัว : ศึกษาปัญหาการดำเนินคดีในศาล
Other Titles: Compoundable offences : studies of problems at trial
Authors: พงศ์อิทธิ ภูษิตโภยไคย
Advisors: ปารีณา ศรีวนิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Pareena.S@Chula.ac.th
Subjects: ความผิดอันยอมความได้ -- การพิจารณาและตัดสินคดี
กฎหมายอาญา -- ความผิด
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ เป็นความผิดที่ความเสียหายเกิดขึ้นกับเอกชนเป็นการเฉพาะตัว ซึ่งรัฐจะเข้ามามีส่วนในการดำเนินคดีนั้นเมื่อมีความประสงค์จากเอกชนเท่านั้น การดำเนินคดีความผิดต่อส่วนตัวที่มีลักษณะเฉพาะนี้ ยังมีปัญหาในชั้นการดำเนินคดีของศาลหลายประการ อาทิ กรณีที่ผู้เสียหายในความผิดต่อส่วนตัวถึงแก่ความตายก่อนแจ้งความร้องทุกข์ จะมีผู้ใดสามารถเข้ามาดำเนินการแทนผู้เสียหายต่อไปได้หรือไม่ หรือในกรณีที่ผู้แทนนิติบุคคลกระทำผิดในฐานความผิดต่อส่วนตัวต่อนิติบุคคลเสียเอง ใครจะเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีกับผู้แทนนิติบุคคลเหล่านั้น หรือกรณีที่ความผิดกรรมหนึ่งมีผู้เสียหายหลายคน หากผู้เสียหายคนหนึ่งสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ จะมีผลถึงผู้เสียหายคนอื่นหรือไม่ หรือในกรณีที่อัยการฟ้องคดีต่อศาลเป็นคดีความผิดต่อแผ่นดิน แต่ในชั้นพิจารณาของศาลกลับเห็นว่า ความผิดตามฟ้องเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อปรากฏว่าในชั้นสอบสวนมีเพียงการกล่าวโทษ มิได้มีการร้องทุกข์ตามระเบียบ ศาลจะพิพากษาคดีต่อไปอย่างไร ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับอำนาจฟ้องคดีของโจทก์ หรือกรณีที่ศาลอ่านคำพิพากษาฎีกาไปแล้ว ต่อมามีการอุทธรณ์หรือฎีกาคำร้องขอให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ระหว่างนั้นโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดี ก็เกิดปัญหาว่าสามารถถอนฟ้องได้หรือไม่ หรือปัญหาเรื่องการที่ผู้เสียหายที่เป็นเอกชนฟ้องคดีต่อศาลด้วยตนเอง โดยมิได้แจ้งความร้องทุกข์มาก่อน จะมีอายุความในการฟ้องคดีเพียงใด ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้เกิดการตีความกฎหมายแตกต่างกันไป ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย จากการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศในประเด็นปัญหาดังกล่าว พบว่า สำหรับประเทศไทย หากมีการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นในการดำเนินคดีในศาลแล้ว โดยการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรณีผู้แทนนิติบุคคลกระทำผิดต่อนิติบุคคล กรณีการให้สิทธิร้องทุกข์หรือถอนคำร้องทุกข์ตกทอดแก่ทายาทในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ รวมถึงประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันก็จะทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้รับการแก้ไข ได้แก่ การยุติคดีภายหลังจากที่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา การแจ้งความร้องทุกข์ในชั้นสอบสวน อายุความฟ้องคดีของเอกชนผู้เสียหาย สิทธิในการดำเนินคดีอาญาในความผิดที่มีผู้เสียหายหลายคน ก็จะนำไปสู่การที่ศาลสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาไปด้วยความเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่ายอย่างแท้จริง
Other Abstract: A Compoundable offence is an offence in which damages incurred by a private individual. In such circumstances, the State will only take part in ensuring criminal proceedings upon the request of the private individual. There are several problems in respect to the court proceedings for compoundable offences. These include (1) in case of the injured person’s death prior to filing the complaint, whether there should be anyone to act on behalf of the victim; (2) in the case whereby a juristic person’s representative commits an offence against a juristic person, whether there should be anyone to prosecute such representative; (3) in the case of multiple injured persons, whether the prosecution right of an injured person would be affected by the legal right of the other injured persons; (4) how to rule in case the prosecution starts as a public office, in which the formal complaint is not required, and later the court proceedings such case turns out to be a compoundable one but there is no formal complaint filed in the inquiry process; (5) whether the plaintiff should be permitted to file a motion to withdraw the case after the Supreme Court judgment is rendered but there is a motion to revoke the reading of such judgment; and (6) how the prescription of litigation should be considered in case the injured person files a lawsuit by himself without making a complaint. This thesis, after conducting comparative studies, finds that there should be amendments to laws and court procedures to solve all those legal problems to provide fair and equitable for all parties.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21789
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.482
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.482
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phongitt_ph.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.