Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22271
Title: อิทธิพลของการจัดระเบียบข้อความที่มีต่อการระลึกได้ในบุคคล ที่มีแบบการคิดต่างกัน
Other Titles: The effect of prose organization on recall among individuals with diffrent cognitive styles
Authors: สมคิด บุญเรือง
Advisors: โยธิน คันสนยุทธ
สวัสดิ์ ประทุมราช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ความจำ
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เกี่ยวกับแบบการคิดและการจัดระเบียบข้อความที่มีผลต่อความจำกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน จังหวัดชลบุรี ที่เรียนวิชาจิตวิทยาในชีวิตประจำวันกับจิตวิทยาพัฒนาการจำนวน 172 คน ผู้เข้ารับการทดลอง 172 คน ถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีแบบการคิดทั้ง 3 ชนิด และได้อ่านข้อความสองเรื่องห่างกัน 2 สัปดาห์ เรื่องแรกเป็นข้อความเรื่องปลาสมมติ ซึ่งผู้วิจัยแปลและดัดแปลงมาจากข้อความของ ฟรีดแมน และไกรท์เซอร์ (Friedman and Greitzer, 1977) เรื่องที่สองเป็นเรื่องประเทศสมมติที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ข้อความทั้งสองเรื่องมีการจัดระเบียบข้อความเหมือนกันคือ ข้อความที่จดระเบียบโดยลักษณะข้อความที่จัดระเบียบโดยชื่อ และข้อความที่จัดระเบียบโดยประโยคเชิงเดี่ยวแต่ละกลุ่มอ่านข้อความที่มีการจัดระเบียบอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวผู้รับการทดลองมีเวลาในการอ่านข้อความ 3 นาที แล้วทำกิจกรรมแทรก 1 นาที จากนั้นให้ผู้รับการทดลองระลึกข้อความที่ได้อ่านตามตัวแนะโดยใช้เวลา 5 นาที นำผลความจำที่ได้จากการระลึกตามตัวแนะไปวิเคราะห์ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีแบบการคิดต่างกันเมื่อได้อ่านข้อความเรื่องปลาสมมติที่กำหนดให้แล้วไม่ทำให้คะแนนการระลึกตามตัวแนะแตกต่างกัน แต่การจัดระเบียบข้อความต่างชนิดกันทำให้คะแนนการระลึกตามตัวแนะของกลุ่มตัวอย่างแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ได้อ่านข้อความที่จัดระเบียบโดยลักษณะมีคะแนนการระลึกตามตัวแนะสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างได้อ่านข้อความมี่จัดระเบียบโดยชื่อ และโดยประโยคเชิงเดี่ยว นอกจากนั้นยังพบว่าแบบการคิดกับการจัดระเบียบข้อความมีการกระทำร่วมกันต่อคะแนนการระลึกตามตัวแนะของข้อความเรื่องประเทศสมมติ และพบความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการระลึกตามตัวแนะ จากการอ่านข้อความเรื่องปลาสมมติกับประเทศสมมติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอีกด้วย
Other Abstract: This study was an investigation of the effects of cognitive styles and prose organization on memory. The sample consisted of 172 undergraduate students who registered in the two course of study, Psychology in Everyday Life and Developmental Psychology, at the Eastern campus of Srinakharinwirot University at Bengsaen, Chonburi, This sample of 172 students was separated into three groups according to the three different types of cognitive styles : Analytical style, Relational style and Categorical style. All students were asked to read two articles. They were to read the first article two weeks before reading the second article. The first article, The Fictitious Fish, was adapted from the article written by Friedman and Greitzer (Friedman and Greitzer, 1977). The second article, The Fictitious Countries, was written by the investigator. These two articles had the same prose organization. They had attribute organization, name organization and simple sentence organization. Students in each of the three groups were asked to read the two articles of the same type of prose organization. They were allowed three minutes of reading and one minute of intervening activity for each article. Then the students were asked to do the test on memory, the cue recall, in five minutes. The scores on the cue recall were analyzed by the two – way analysis of variance. The findings indicated that there were no significant differences of scores on the cue recall of the Fictitious Fish among the three groups of different cognitive styles. There were, however, significant differences of scores on the cue recall among groups of students who read articles of attribute organization were significantly higher than those of the two groups of students who read articles of name organization and simple sentence organization. The findings also indicated that there were interaction effects of the cognitive styles and prose organization on the scores on the cue recall of The Fictitious Countries. There was also a significant correlation between scores on the cue recall of the Fictitious Fish and Those of The Fictitious Countries.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22271
ISBN: 9745616214
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somkid_Boo_front.pdf483.4 kBAdobe PDFView/Open
Somkid_Boo_ch1.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open
Somkid_Boo_ch2.pdf858.2 kBAdobe PDFView/Open
Somkid_Boo_ch3.pdf592.71 kBAdobe PDFView/Open
Somkid_Boo_ch4.pdf513.55 kBAdobe PDFView/Open
Somkid_Boo_ch5.pdf307.7 kBAdobe PDFView/Open
Somkid_Boo_back.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.