Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22304
Title: การพัฒนาการบริหารของการไฟฟ้านครหลวง
Other Titles: Management development of metropolitan electricity authority
Authors: ศุภมาศ อุมารี
Advisors: ขำนาญ ธรรมาธิคม
ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การไฟฟ้านครหลวง -- การบริหาร
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อศึกษาถึงกระบวนการในการพัฒนาการบริหารของการไฟฟ้านครหลวง อันประกอบด้วยการวางแผนและจัดทำโครงการด้านการพัฒนาการบริหารการลงมือปฏิบัติตามแผนและโครงการพัฒนาการบริหาร ตลอดจนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการต่าง ๆ ระเบียบวิธีการที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีกลุ่มประชากรเป็นพนักงานระดับบริหารที่ดำรงตำแหน่งหลักตั้งแต่หัวหน้าแผนกจนถึงผู้ว่าการ จำนวน 258 คน ปรากฏผลการวิจัยดังนี้ 1. ลักษณะการจัดทำโครงสร้างขององค์การโดยส่วนรวม และการจัดโครงสร้างองค์การของแต่ละหน่วยงานต้นสังกัด มีความเหมาะสมในระดับปานกลางเท่านั้น และจากการประเมินของนักบริหารมีความเห็นว่าการจัดโครงสร้างองค์การของการไฟฟ้านครหลวงยังขาดการวางแผนระยะยาวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และในบางครั้งการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อการขยายหน่วยงานต่าง ๆ ยังยึดหลักเหตุผลและความจำเป็นในงานน้อย อย่างไรก็ตามจากผลการวิจัยพบว่า อัตรากำลังของพนักงานระดับบริหารมีเพียงพอแล้วสำหรับการควบคุมบังคับบัญชางานให้สามารถดำเนินการได้อย่างบรรลุวัตถุประสงค์ในสภาพการณ์ปัจจุบัน จากการทดสอบสมมุติฐานปรากฏผลว่า ลักษณะการจัดโครงสร้างขององค์การ สามารถสนองตอบความต้องการของหน่วยงานต้นสังกัดได้ในระดับปานกลาง ส่วนอัตรากำลังของพนักงานระดับบริหารสามารถสนองตอบความต้องการของหน่วยงานต้นสังกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. แผนในการพัฒนาการบริหารมีความสัมพันธ์กับแผนหลัก และแผนวิสาหกิจตามที่ได้ตั้งสมมุติฐานไว้ แต่ปรากฎว่าแผนในการพัฒนาการบริหารมีความสัมพันธ์กับแผนกำลังคนเพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากแผนกำลังคนของการไฟฟ้านครหลวง มิได้ครอบคลุมถึงโครงการปฏิบัติทางด้านกำลังคนอย่างครบถ้วน 3. โครงการพัฒนาการบริหารของการไฟฟ้านครหลวง ที่ได้ดำเนินการมาแล้วนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการมุ่งเน้นที่การจัดโครงการฝึกอบรมและสัมมนาทางด้านการบริหาร เพื่อคาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านการบริหาร ปรากฏว่าจากการประเมินถึงความสามารถของนักบริหารในการนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานโดยมีตัวแปรวัดจำนวน 13 ตัว ซึ่งเป็นตัวชี้ถึงลักษณะการบริหารที่สำคัญ มีการเปลี่ยนแปลงเพียง 6 ใน 13 ตัวแปร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 46.15 เท่านั้น จากการทดสอบสมมุติฐานปรากฎผลว่า โครงการพัฒนาการบริหารเป็นสาเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานด้านบริหารในองค์การเพียงบางกิจกรรมเท่านั้น 4. ในการวิเคราะห์ผลการประเมินการปฏิบัติงานด้านบริหารของนักบริหาร ปรากฏผลการประเมินที่สามารถพิสูจน์สมมุติฐานได้ว่าหัวหน้าหน่วยงานสูงสุด สามารถปฏิบัติงานด้านบริหารได้สอดคล้องกับคำบรรยายลักษณะงาน ส่วนหัวหน้ากอง/เทียบเท่า และหัวหน้าแผนก/เทียบเท่า สามารถปฏิบัติงานด้านบริหารได้สอดคล้องกับคำบรรยายลักษณะงานและปฏิบัติสูงกว่ามาตรฐาน
Other Abstract: The prime objective of this thesis was to study the management development process of Metropolitan Electricity Authority ( M. E.A. ). The emphasis was on planning and implementation of management development projects , including effectiveness evaluation of various programs. The methodology was survey research. The population was 258 employees in management levels from first – line managers up to the general manager. The results of the research revealed the following : 1. The organizational and suborganizational structuring was moderately appropriate. According to the assesment, M.E.A. managers thought that the M.E.A. organizational structuring was implemented without systematic long range planning and that sometimes the structural improvements for organizational expansion were aimed at personal advantages instead of rationality and organizational necessity. However , it was found that the manpower of supervising in order to achieve objectives under the present circumstances. After testing the hypothesis, it was found that organizational structuring moderately fulfills the needs of organization, and the manpower of managerial level employees fulfills the needs of the organization efficiently. 2. The management development plans were related to the M.E.A. master plan and corporate plan, according to the hypothesis. But the management development plans were slightly concerned with the manpower plan since the M.E.A. manpower plan did not also cover the manpower action programs systematically. 3. The implemented M.E.A. management development programs emphasized organizing training programs and seminars on management for the purpose of changes in managerial behavior. According to the assessment of managerial ability in applying knowledge and skills in working, there were 13 variables that indicated the important characteristics of management. Only 6 out of 13 variables, or 46.15 per cent, were changed. After testing the hypothesis, it was found that management development projects slightly improve management implementation of the organization. 4. In analyzing the assessment results of management practice, it occurred that the top managers were able to perform management practice relevant to the job description. The division and section managers were able to perform management practice relevant to the job descriptions; in addition , they could perform above the standard.
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22304
ISBN: 9745662704
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suppamas_Um_front.pdf561.92 kBAdobe PDFView/Open
Suppamas_Um_ch1.pdf433.63 kBAdobe PDFView/Open
Suppamas_Um_ch2.pdf529.58 kBAdobe PDFView/Open
Suppamas_Um_ch3.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Suppamas_Um_ch4.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open
Suppamas_Um_ch5.pdf635.79 kBAdobe PDFView/Open
Suppamas_Um_back.pdf866 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.