Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/223
Title: การศึกษาการกำจัดสารโครเมียมออกจากน้ำทิ้งโรงงานชุบโครเมียม โดยใช้พอลิอิเล็กโตรไลต์ : รายงานฉบับสมบูรณ์
Authors: จินตนา สายวรรณ์
Email: chintana.sa@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
Subjects: โพลิอิเล็กทรอไลต์
น้ำเสีย--การบำบัด
โครเมียม
อัลตราฟิลเตรชัน
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการกำจัดสารโครเมียมในน้ำทิ้งจากโรงงานชุบโครเมียม ได้ทำโดยใช้พอลิอิเล็กโตรไลต์ที่มีประจุบวก คือ พอลิไดอัลลิลไดเมทธิลแอมโมเนียมคลอไรด์ (น้ำหนักโมเลกุลมากกว่า 10,000 ดาลตัน) จับกับสารโรเมียมซึ่งอยู่ในรูปโครเมตแอนไอออน เกิดเป็นสารเชิงซ้อนโมเลกุลใหญ่ของพอลิอิเล็กโตรไลต์-โครเมต พอลิอิเล็กโตรไลต์เพิ่มการกรองโครเมตแบบอัลตราฟิลเตรชัน เมิ่นนำไปกรองด้วยอัลตราฟิลเตรชันที่ใช้เมมเบรนมีค่าการตัดทิ้งน้ำหนักโมเลกุล เท่ากับ 10,000 ดาลตัน ให้ค่ารีเจ็คชันได้ดีถึง 99.78% เมื่อใช้อัตราส่วนของ พอลิอิเล็กไตรไลต์ ต่อ โครเมต เท่า กับ 20:1 การศึกาาผลกระทบของไอออนอื่นๆ ที่มีอยู่ในน้ำทิ้งมีต่อค่ารีเจ็คชันของเมมเบรนในการกรองโครเมต การทดลองกับน้ำเสียสังเคราะห์ได้ทำกับแคทไอออนทองแดง เหล็ก นิเกิล และสังกะสี โดยใช้ความเข้มข้น 20, 40, และ 100 มก. ต่อ ลิตร และแอนไอออนคลอไรด์ ไนเตรท และ ซัลเฟต มีความเข้มข้น 1000, 3000, และ 6000 มก. ต่อ ลิตร พบว่า แคท ไอออนทองแดง และเหล็ก ตกตะกอนกับโครเมต สังกะสีตกตะกอนเมื่อความเข้มข้นมีค่าสูง ส่วน นิเกิลไม่ตกตะกอนที่ทุกความเข้มข้น ตะกอนที่เกิดขึ้นอยู่ในรีเทนเทดไม่มีผลกระทบต่อค่ารีเจ็คชันหรือเวลาของการกรอง ยกเว้นตะกอนของไอออนเหล็กทำให้เวลาการกรองเพิ่มขึ้นมาก ผลกระทบของแอนไอออน ทำให้ค่ารีเจ็คชันลดลงตามความเข้มจข้นของแอนไอออนที่เพิ่มขึ้น ความเข้มข้นของไอออนที่มีประจุหนึ่งหรือสองลบในเพอมิเอทไม่มีความแตกต่างกัน แต่ทว่าไอออนสองลบของซัลเฟตทำให้เวลาของการกรองอัลตราฟิลเตรชันนานขึ้นกว่าไอออนหนึ่งลบ การกรองโครเมตในตัวอย่างน้ำทิ้งจากโรงงานชุบโครเมียม ใช้อัตราส่วนของพอลิอิเล็กโตรไลต์ต่อโครเมตเริ่มต้น 20:1 เพียงครั้งเดียว แต่การกรองได้ทำโดยเติมน้ำเสียลงไปเท่าปริมาตรเริ่มต้นถึง 4 ครั้ง ในตัวอย่างชุดเดียวกัน ได้ค่ารีเจ็คชันเฉลี่ย 99.5% ของการเติมน้ำเสีย 4 ครั้ง นอกจากนี้ การกรองอัลตราฟิลเตรชันของตัวอย่างน้ำเสียจริงไม่มีตะกอนของไอออนเกิดขึ้นเหมือนการศึกษาน้ำเสียสังเคราะห์ และซัลเฟตไอออน 60-77% ถูกจับอยู่ใรรีเทนเทต แต่ไอออนอื่นถูกจับไว้น้อย เนื่องจากตัวอย่างน้ำเสียมีความเป็นกรดมากกว่าน้ำเสียสังเคราะห์
Other Abstract: Study of chromium removal from chromium plating waste was done by using cationic polyelectrolyte, poly (diallyl dimethyl ammonium chloride) (MWCO > 10 k Daltons) binding to chromate to from polyelectrolyte-chromate complex molecules. Polyelectrolyte enhanced-ultrafitration of chromate give 99.78% rejection when the ratio of polyelectrolyte to chromate is 20:1. Effect of other ions in the waste on the rejection of chromate was studied using synthetic waste. Concentrations of ions studied were 20, 40, and 100 ppm of Cu+2 , Fe+3, Ni+2, and Zn+2 and 1000, 3000, and 600 ppm for Cl-1 No-3, and SO4-2. It is found that Cu+2 and Fe+3 precipitate with chromate while Zn+2 occurs at high concentration but Ni+2 does not precipitate at all concentrations. However, the precipitation do not affect the chromate rejections and permeation times, except the precipitation of ferric chromate. The results of all anions show that the chromate rejections decrease as the concentrations of ions increase. Single or double charges of anions give similar result, however, the double charge of sulfate ion gives longer permeation time. Ultrafiltration of chromate from plating waste was operated in a single run by mixing polyelectrolyte to chromate at a ratio of 20:1 and adding the waste for 4 times. The ultrafiltration of the actual waste does not show precipitation of any ions as occuring in the synthetic waste. Furthermore, 60-77% sulfate, but samllo amount of other ions are retained in the retentate, because the solution is more acidic than the synthetic wast.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/223
Type: Technical Report
Appears in Collections:Petro - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jintana(mwco).pdf9.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.