Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22467
Title: Effects of aerobic exercise training combined with vitamin C supplement on cytokines and symptoms in allergic rhinitis patients
Other Titles: ผลของการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับการเสริมวิตามินซี ที่มีต่อไซโตไคน์และอาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ
Authors: Wannaporn Tongtako
Advisors: Daroonwan Suksom
Jettanong Klaewsongkram
Mickleborough, Timothy D.
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Sports Science
Advisor's Email: Daroonwan.S@Chula.ac.th
Jettanong.K@Chula.ac.th
no information provided
Subjects: Aerobic exercises
Vitamin C
Cytokines
Hay fever
แอโรบิก (กายบริหาร)
วิตามินซี
ไซโตไคน์
เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
Issue Date: 2011
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: To determine the effects of exercise training combined with vitamin C supplementation on the cytokine response and rhinitis symptoms in allergic rhinitis patients. Nineteen volunteered patients with allergic rhinitis, aged 18-45 years old, were recruited. They were randomized into 3 groups: control group (CON; n=6), exercise group (EX; n=6) and exercise combined with vitamin C group (EX + Vit. C; n=7). The exercise training protocol consisted of walking - running on a treadmill at 65-70% HRR 30 minutes per session 3 times a week. The EX + Vit. C group ingested vitamin C 2,000 mg per day. Physiological characteristics, blood chemical data, cytokines level in nasal secretion and allergic rhinitis symptoms were analyzed during pre-test and post-test. The dependent variables between pre-test and post-test were analyzed by a paired t-test. One way analysis of covariance (one-way ANCOVA) was used to compare the variables among group, one-way repeated measure ANOVA was used to analyze between each time after nasal challenge. Differences were considered to be significant at p < .05. The results of the present study were as follow : 1. After 8 weeks, resting heart rate in both EX and EX + Vit. C were significantly decreased and Vo2max were significantly increased and higher than the CON group (p < .05). 2. After 8 weeks, total immunoglobulin E (IgE) level in the EX + Vit. C was significantly lower than the CON and EX (p < .05). However, there were no significant differences in specific IgE (D. pteronyssinus) between pre and post-test and among all groups of subjects. Additionally, malondialdehyde (MDA) levels of the both EX and EX + Vit. C were significantly lower than pre-test and the CON group (p < .05). 3. After 8 weeks, the both EX and EX + Vit. C had significantly decrease of interleukin (IL)-4 levels. Moreover, the percent difference of IL-2 was significantly higher than the CON (p < .05) and the percent difference of IL-4 was significantly lower than the CON (p < .05). After nasal challenge by house dust mite (D.pteronyssinus), the percent difference of IL-4 and IL-13 in the both EX and EX + Vit. C were significantly lower than the CON (p < .05), but the percent difference of IL-2 in the both EX and EX + Vit. C were significantly higher than the CON (p < .05). 4. After 8 weeks, the percent difference of peak nasal inspiratory flow (PNIF) were significantly higher while those of nasal blood flow were significantly lower in the both EX and EX + Vit. C comparing to the CON (p < .05). Moreover, the both EX and EX + Vit. C had a significantly higher PNIF after nasal challenge 60 minutes comparing to pre-test (p < .05). The total rhinitis symptoms score of congestion, itching, sneezing and rhinorrhea at baseline and following nasal challenge were significantly decreased in the both EX and EX + Vit. C (p < .05). In conclusion, the present findings demonstrated that without vitamin C supplementation, only moderate exercise training had beneficial effects in allergic rhinitis by improving cardiorespiratory fitness, attenuating the inflammatory response and reducing symptoms in patients with allergic rhinitis.
Other Abstract: ศึกษาผลของการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับการเสริมวิตามินซี ที่มีต่อไซโตไคน์และอาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ จำนวน 19 คน อายุ 18-45 ปี แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม จำนวน 6 คน กลุ่มออกกำลังกายอย่างเดียว จำนวน 6 คน และกลุ่มออกกำลังกายร่วมกับการเสริมวิตามินซี จำนวน 7 คน โปรแกรมการออกกำลังกายประกอบด้วยการเดิน-วิ่งบนลู่วิ่งที่ความหนัก 65-70% ของอัตราการเต้นหัวใจสำรอง ครั้งละ 30 นาที 3 ครั้ง/สัปดาห์ กลุ่มเสริมวิตามินซี รับประทานวิตามินซีวันละ 2,000 มิลลิกรัม ก่อนและหลัง 8 สัปดาห์ ทำการเก็บข้อมูลตัวแปรทางสรีรวิทยา สารชีวเคมีในเลือด ระดับไซโตไคน์ในสารคัดหลั่งทางจมูก และอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลอง โดยการวิเคราะห์ค่าทีแบบรายคู่ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเวลาหลังจากถูกกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1. หลังจาก 8 สัปดาห์ กลุ่มออกกำลังกายและกลุ่มออกกำลังกายร่วมกับการรับประทานวิตามินซี มีการลดลงของอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก และมีการเพิ่มขึ้นของสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด แตกต่างจากก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังจาก 8 สัปดาห์ กลุ่มออกกำลังกายร่วมกับการรับประทานวิตามินซีมีการลดลงของระดับอิมมูโนโกบุลินอีโดยรวม มากกว่าทั้งในกลุ่มควบคุมและกลุ่มออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างของระดับอิมมูโนโกบุลินอีที่จำเพาะต่อไรฝุ่น ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง และระหว่างกลุ่มทดลอง นอกจากนั้น กลุ่มออกกำลังกายและกลุ่มออกกำลังกายร่วมกับการรับประทานวิตามินซี มีการลดลงของระดับของมาลอนไดอัลดีไฮด์ แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. หลังจาก 8 สัปดาห์ กลุ่มออกกำลังกายและกลุ่มออกกำลังกายร่วมกับการรับประทานวิตามินซี มีการลดลงของไซโตไคน์อินเตอร์ลูคินโฟร์ แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้น กลุ่มออกกำลังกายทั้ง 2 กลุ่มมีค่าไซโตไคน์อินเตอร์ลูคินทูสูงกว่ากลุ่มควบคุม และไซโตไคน์อินเตอร์ลูคินโฟร์น้อยกว่ากลุ่มควบคุม แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังจากพ่นสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นไรฝุ่นเข้าไปในจมูก พบว่า กลุ่มออกกำลังกายและกลุ่มออกกำลังกายร่วมกับการรับประทานวิตามินซี มีเปอร์เซ็นต์การเพิ่มขึ้นของไซโตไคน์อินเตอร์ลูคินทู แต่มีการลดลงของไซโตไคน์อินเตอร์ลูคินโฟร์ และไซโตไคน์อินเตอร์ลูคินโฟร์เทอร์ทีน แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. หลังจาก 8 สัปดาห์ กลุ่มออกกำลังกายและกลุ่มออกกำลังกายร่วมกับการรับประทานวิตามินซีมีการเพิ่มขึ้นของ ปริมาตรการไหลของอาการสูงสุดในโพรงจมูก และมีการลดลงของการไหลของเลือดในโพรงจมูก แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้น หลังจากถูกพ่นสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นไรฝุ่นเข้าไปในจมูก 60 นาที พบว่ากลุ่มออกกำลังกายและกลุ่มออกกำลังกายร่วมกับการรับประทานวิตามินซี มีการลดลงของปริมาตรการไหลของอาการสูงสุดในโพรงจมูก แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ พบว่า อาการโดยรวม อารการคัดจมูก อาการคันจมูก อาการจาม และอาการน้ำมูกไหล ของกลุ่มออกกำลังกายและกลุ่มออกกำลังกายร่วมกับการรับประทานวิตามินซี มีการลดลงแตกต่างจากก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุบได้ว่า การฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกความหนักระดับปานกลางโดยปราศจากการเสริมวิตามินซี มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โดยช่วยพัฒนาสมรรถภาพของระบบหัวใจและหายใจ ลดการตอบสนองของการอักเสบ และอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2011
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Sports Science
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22467
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1652
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1652
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wannaporn_to.pdf19.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.