Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22484
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศักดิ์ชัย ศิรินทร์ภาณุ-
dc.contributor.authorเสาวลักษณ์ ไสยวรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-10-09T07:06:22Z-
dc.date.available2012-10-09T07:06:22Z-
dc.date.issued2525-
dc.identifier.isbn9745608157-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22484-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractอำเภอเมืองนนทบุรีมีอาญาเขตติดต่อกับกรุงเทพฯ จึงได้รับอิทธิพลการขยายตัวด้านประชากร และการใช้พื้นที่ของกรุงเทพฯโดยตรง ก่อให้เกิดการขยายตัวของบริเวณพักอาศัยอย่างกว้างขวางในอำเภอเมืองนนทบุรี ลักษณะดังกล่าวย่อมมีผลกระทบต่อการใช้ที่ดินของอำเภอเมืองนนทบุรี โดยเฉพาะการใช้ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย และยังก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาเช่น ปัญหาการให้บริการสาธารณูปโภค สาธารณูปการแก่ผู้อยู่อาศัย ปัญหาสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยของชุมชนเป็นต้น จุดมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ก็เพื่อการศึกษาถึงการใช้พื้นที่เพื่ออาศัยในอำเภอเมืองนนทบุรี ตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่เพื่ออยู่อาศัยเหล่านี้ และวิเคราะห์แนวโน้มการใช้พื้นที่เพื่อยู่อาศัยในอนาคต โดยการศึกษาสภาพทั่วไปของผู้อยู่อาศัย และลักษณะด้านกายภาพของชุมชนในอำเภอนนทบุรี ด้วยการออกแบบสอบถามโดยวิธีสุ่มตัวอย่าง Stratified Sampling และการสำรวจภาคสนามประกอบกับข้อมูลด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากผลของการศึกษาว่า อำเภอเมืองนนทบุรีเป็นที่ตั้งของเทศบาลเมืองนนทบุรีซึ่งเป็นศูนย์กลางชุมชนที่สำคัญของจังหวัด อันเป็นแหล่งที่ตั้งของธุรกิจการค้า อุตสาหกรรม บริการและอื่น ๆ ซึ่งเป็นสาขาการผลิตหลักที่ทำรายได้ให้แก่จังหวัดนนทบุรี นอกจากนั้น อำเภอเมืองด้านฝั่งตะวันออกยังมีลักษณะเป็นชุมชนเมือง โดยมีการใช้พื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนเป็นพื้นที่เพื่ออยู่อาศัย เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพฯ และมีการคมนาคมถึงกันได้สะดวกทั้งทางบกและทางน้ำ จึงทำให้ได้รับอิทธิพลการขยายตัวของประชากรจากเขตต่าง ๆ ของกรุงเทพฯ โดยเฉพาะเขตดุสิต พญาไท บางเขน บางกอกน้อย และพระนคร อพยพเข้าไปยังอำเภอนนทบุรี โดยมีความเหมาะสมของอำเภอเมืองนนทบุรีเองในการที่จะใช้เป็นที่ตั้งของที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยดึงดูด และมีความต้องการที่อยู่อาศัยของประชากรในกรุงเทพฯที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนข้อจำกัดด้านการใช้พื้นที่ของเขตพระนคร พญาไท ดุสิต บางกอกน้อย บางเขน และความเป็นไปได้ด้านกายภาพของการขยายตัวของพื้นที่พักอาศัยของกรุงเทพฯ เข้าไปยังอำเภอเมืองนนทบุรี เป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดการอพยพออกจากกรุงเทพฯ เพื่อเข้าไปยังอำเภอเมืองนนทบุรี จากปัจจัยดึงดูดและปัจจัยผลักดันเหล่านี้ ทำให้คาดได้ว่าโอกาสการขยายตัวของบริเวณพักอาศัยในอำเภอเมืองนนทบุรีจะยังมีอีกมากพอสมควร โดยมีแนวโน้มซึ่งเป็นผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ การขยายตัวที่สำคัญอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองด้านฝั่งตะวันออก กล่าวคือ บริเวณที่มีแนวโน้มการขยายตัวสูงสุด จะเป็นแนวยาวขนานไปตามสองฟากถนนงามวงศ์วาน ติวานนท์ กรุงเทพฯ-นนทบุรี พิบูล สงคราม ประชาชื่น และสนามบินน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นถนนสายประธาน โดยครอบคลุมพื้นที่จากถนนเข้าไป 1 กิโลเมตร ส่วนบริเวณที่มีแนวโน้มการขายตัวปานกลางคือ พื้นที่อยู่ถัดบริเวณที่มีแนวโน้มการขยายตัวสูงสุดเข้าไป สำหรับบริเวณที่มีแนวโน้มการขยายตัวต่ำสุดคือ พื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอเมืองด้านฝั่งตะวันตก และจากการคาดประมาณการใช้ที่ดินของอำเภอเมืองนนทบุรี ปรากฏว่า อำเภอเมืองด้านฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นบริเวณที่มีแนวโน้มการขยายตัวสูงสุดและปานกลางเป็นส่วนใหญ่ จะยังคงมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขยายตัวของชุมชนได้ถึง พ.ศ. 2533 นอกจากนั้น จาการศึกษายังทำให้ทราบถึงปัญหาที่ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนปัญหาที่เกี่ยวเนื่องไปในอนาคตด้วยดังนี้คือ ปัญหาด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ พบว่า จำเป็นจะต้องจัดบริการให้เพียงพอและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ปัญหาการใช้ที่ดิน จำเป็นจะต้องมีการนำมาตรการทางกฎหมายมาควบคุมการใช้ที่ดินในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี ตลอดจนข้อเสนออื่น ๆ เกี่ยวกับการใช้ที่ดิน เช่น ปรับปรุงโครงข่ายของถนนให้เหมาะสมเพื่อเปิดพื้นที่ภายในให้ได้รับการพัฒนาได้ทั่วถึง และจัดบริการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อดึงดูดให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ดังกล่าว จัดรวบรวมบริเวณพักอาศัยให้เป็น Neighborhood รวมทั้งการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรมให้มีสภาพแวดล้อมดีขึ้น กำหนดพื้นที่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้น และการขยายสถานที่ซึ่งเป็นอันตรายออกไปจากชุมชนเป็นต้น ปัญหาการขยายตัวของชุมชน ควรมีการขยายเขตเทศบาลออกไปครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองด้านฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นบริเวณที่มีการขยายตัวของชุมชนที่สำคัญ จากปัญหาและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เหล่านี้ เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนาอำเภอเมืองนนทบุรีเป็นพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยต่อไป-
dc.description.abstractalternativeAs sharing the district boundary with Bangkok, Amphoe Muang Nonthaburi has been directly influenced in terms of urban expansion from that city. The increase in population flowing from Bangkok has caused the invasion of urban land uses, especially the residential one, into the area of Amphoe Muang Nonthaburi. Such situation changes the landuse pattern of Nonthaburi and brings about some problems, for examples, the inadequacy of urban utilities and facilities, the community insecurity and the environmental problems as well. The study of residential landuses in Amphoe Muang Nonthaburi is the main purpose of this research. The important task is the investigation to the existing condition of residential zone, the factors influencing its changes, together with an analysis of the residential landuse demand in future. To carry on the purpose, the general situation of Nonthaburi residents as well as the physical aspects of the residential zone have been recorded. The stratified sampling, the field surveys and the analysis of secondary data from the related governmental offices are the adopted method in this research. The result of the study indicates the importance of Amphoe Muang Nonthaburi as the highest-ordered community center in the province. It is the place where the business, commercial, industrial and the other service activities have been located and generated the most income to the province. The east of Amphoe Muang can be indentified and urban area with the high proportion of the residential landuse. This phenomena can be explained with the adjoining boundary to Bangkok and the much convenience in both land and water transport. The overpopulation of Bangkok, especially, in the districts of Dusit, Phaya-Thai, Bangkok-Noi and Phranakorn, including the need for residential areas which cannot been fulfilled in those districts due to the land limitation has formed the push factor for the out-migration from Bangkok. At the same time, the suitability of Amphoe Muang Nonthaburi as the residential zone makes the pull factor to attract such migration. According to the trends derived from the statistical method, the most attractive area for residential development will be at the east of the Amphoe Muang where the residential zone will appear in the form of ribbon development of one kilometer width, along the presidential roads namely : Ngarm–Wongwan, Tiwanon, Bangkok-Nonthaburi, Pibunsongkram, Prachachuen and Saname-bin-Nam. The moderate residential expansion will be on the area next to the first one while the lowest has the tendency to be mostly in the west Nonthaburi. However, the carrying capacity for residences of the eastern side of Amphoe Muang is estimated to be until the year 2090 (2533 B.E.). In additions, the problems in the study area, for examples, the problems of infrastructure and landuses have been reported in the research together with the tentative suggestion for the future improvement. The strong landuse control by law has been advised as well as the increase in essential facilities in the district. The residential development in the pattern of neighbourhood should be more suitable. Finally, the further expansion of the municipal boundary to cover the eastern part of Amphoe Muang has been strongly recommended. With the results of the study as they have been discussed, the thesis is expected to be advantages for the planning of residential areas in Amphoe Muang Nonthaburi in future.-
dc.format.extent675479 bytes-
dc.format.extent338445 bytes-
dc.format.extent581278 bytes-
dc.format.extent2092640 bytes-
dc.format.extent1077241 bytes-
dc.format.extent4223947 bytes-
dc.format.extent589924 bytes-
dc.format.extent274063 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการพัฒนาพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยในอำเภอเมืองนนทบุรีen
dc.title.alternativeResidential development areas in Amphoe Muang Nonthaburien
dc.typeThesises
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวางผังเมืองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saowalack_Sa_front.pdf659.65 kBAdobe PDFView/Open
Saowalack_Sa_ch1.pdf330.51 kBAdobe PDFView/Open
Saowalack_Sa_ch2.pdf567.65 kBAdobe PDFView/Open
Saowalack_Sa_ch3.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open
Saowalack_Sa_ch4.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Saowalack_Sa_ch5.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open
Saowalack_Sa_ch6.pdf576.1 kBAdobe PDFView/Open
Saowalack_Sa_back.pdf267.64 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.