Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22503
Title: การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.2325-2394)
Other Titles: The revival of Buddhism during the early Bangkok period 1782-1851
Authors: อัจฉรา กาญจโนมัย
Advisors: สุนทร ณ รังษี
ปิยนาถ บุนนาค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งวิจัยถึงสาเหตุการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นระหว่าง พ.ศ. 2325 – 2394 และศึกษารายละเอียดของการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาตลอดจนพิจารณาถึงอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจ และการปกครอง ในการวิเคราะห์ ได้ศึกษาถึงพื้นฐานทางสังคม และแนวความคิดที่มีผลต่อการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นเหตุผลของผู้นำการปรกตรอง ระดับรายได้ และอิทธิพลบางประการควบคู่กับความเชื่อและแนวความคิดของผู้นำประเทศและประชาชนทั่วไปที่มีส่วนผลักดันให้มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั้งในด้านวัตถุและบุคคล ในด้านวัตถุ คือ การสร้างและปฏิสังขรณ์วัดซึ่งได้ทำการก่อสร้างเป็นการใหญ่ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ ได้ศึกษาถึงสาเหตุที่ทำให้มีการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดทั้งในด้านสังคมและการเมือง พิจารณาวิธีดำเนินการในการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดด้งกล่าวซึ่งมีผลต่อสภาพสิ่งแวดล้อม และประชากรที่อยู่อาศัยภายในวัด สำหรับในด้านบุคคลคือ พระสงฆ์ได้ศึกษาถึงการอุปภชถัมภ์พระสงฆ์ของรัฐในรูปแบบต่างๆ ศึกษาสถานภาพของพระสงฆ์โดยดูจากสาเหตุการเข้ามาบวช ตลอดจนการดำเนินชีวิตและความประพฤติของพระสงฆ์ รวมตลอดถึงได้ค้นคว้ารายละเอียดเกี่ยวกับการก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งถือกันว่าเป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาครั้งสำคัญ จากการวิจัยพบวานาสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระพุทธศาสนาได้รับการทำนุบำรุงจากบุคคลหลายกลุ่มในสังคม แต่มีข้อน่าสังเกตว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาจากการที่ผ่ายอาณาจักรเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูอย่างใกล้ชิด ทำให้รูปแบบการปกครองในฝ่ายพุทธจักรบางประการคล้ายคลึงกับรูปแบบการปกครองของรัฐ อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ด้วยว่า การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในสมัยนี้มุ่งในการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดเป็นสำคัญ จึงทำให้เกิดวัดวาอารามเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการที่วัดมีที่ดินและแรงงานข้าคน ทำให้วัดมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลให้สถาบันพุทธศาสนาสามารถทำหน้าที่ทางสังคมได้ดี เหตุนี้พระสงฆ์จึงมีบทบาทในฐานะเป็นที่พึ่งพิงของชาวไทยในสมัยนั้นโดยทั่วไป
Other Abstract: This thesis is an analysis of the revival of Buddhism during the early Bangkok period 1781 – 1851 AD. The research is intended to study the social originality and philosophical concepts of the elites and the people which affected the revival of Buddhism both in material aspects and monastic personages. The material aspects of the revival were the monastery construction and restoration which were mostly done in the early Bangkok period. In this connection emphasis is made on the following considerations: political and social causes, the process of the construction and restoration and its effects on the environment and people surrounding the monastery. As regards monastic personages emphasis is made on the government support in various forms, their status, their ways of life and behaviours. The Study is also focused on the establishment of the Dhammayuttika Nikaya in the reign of King Rama III which is believed to be a very important event in the history of Buddhism in Thailand. The research reveals that the revival of Buddhism in this period was carried out by people of various classes; however, the role of the king was distance. It may be said that the major aspect of the revival was concentrated on the monastery construction and restoration, this led to the coming into being of a great number of the monasteries. With their lands and other properties donated by many people the monasteries had a sound economic stability which provided them with the strength to serve The Thai community of that time materially and spiritually.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22503
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Achara_Ka_front.pdf438.99 kBAdobe PDFView/Open
Achara_Ka_ch1.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Achara_Ka_ch2.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Achara_Ka_ch3.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open
Achara_Ka_ch4.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open
Achara_Ka_back.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.