Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22710
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรอนงค์ อร่ามวิทย์ | - |
dc.contributor.advisor | พรพรหม เมืองแมน | - |
dc.contributor.author | นันทพร นามวิริยะโชติ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-10-17T07:52:18Z | - |
dc.date.available | 2012-10-17T07:52:18Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22710 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาผลการรักษาแผลไหม้ที่มีความหนาบางส่วนของครีม ที่มีสารกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนังที่มี Epidermal Growth Factor (EGF) ร่วมกับซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน โดยคัดเลือกลุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วยที่มีแผลไหม้ความหนาบางส่วน ที่เข้ารับการรักษา ณ หอผู้ป่วย ตึกอุบัติเหตุ ชั้น 4 (หน่วยไฟลวก) โรงพยาบาลศิริราช ระหว่างเดือนธันวาคม 2554 ถึงเดือนเมษายน 2555 จำนวนทั้งสิ้น 34 คน หลังจากนั้นถูกสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยครีมที่มีสารกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนังที่มี EGF ความเข้มข้น 6% ร่วมกับซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน ความเข้มข้น 1% หรือกลุ่มศึกษา และกลุ่มที่ได้รับการรักษาแผลไหม้ด้วยครีมซิลเวอร์ซิงค์ซัลฟาไดอาซีน ความเข้มข้น 1% หรือกลุ่มควบคุม โดยพิจารณาระยะเวลาการปิดบาดแผลเป็นหลัก สำหรับการประเมินร้อยละการเจริญของเซลล์ผิวหนัง ระดับอาการปวด อาการคัน ปริมาณยาระงับอาการปวด อาการคันที่ผู้ป่วยได้รับและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะได้รับการประเมินทุกสัปดาห์จนกระทั่งบาดแผลปิดสนิท ด้วยกระบวนการเจริญของเซลล์ผิวหนัง ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีข้อมูลทั่วไป ข้อมูลพื้นฐานของแผลไหม้ สัญญาณชีพแรกรับ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) จากการศึกษาพบว่า บาดแผลไหม้กลุ่มศึกษามีระยะเวลาการปิดบาดแผลเฉลี่ยน้อยกว่าบาดแผลไหม้กลุ่มควบคุม และมีร้อยละการเจริญของเซลล์ผิวหนังโดยรวมมากกว่าบาดแผลไหม้กลุ่มควบคุม ในทุกระยะการประเมินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ในขณะที่ร้อยละการหดรั้งของแผล ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) คะแนนการประเมินอาการปวดและปริมาณยาระงับอาการปวด ที่ผู้ป่วยได้รับชนิดมอร์ฟีนและพาราเซตามอลน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่คะแนนประเมินอาการคันและปริมาณยาระงับอาการคันมีความแตกต่าง อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในระหว่างสองกลุ่ม ข้อมูลด้านความปลอดภัย ไม่พบความผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณบาดแผล หรือความผิดปกติเกี่ยวกับปริมาณสารเคมีในเลือด ที่แสดงถึงการทำงานของตับและไต ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับอัลบูมินระหว่างสองกลุ่ม (p > 0.05) ข้อมูลด้านค่าใช้จ่ายในการรักษา กลุ่มศึกษามีระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาลน้อยกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่มีความแตกต่างด้านค่าใช้จ่ายจากการรักษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การวิจัยนี้สรุปได้ว่า การใช้ครีมที่มีสารกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนังร่วมกับซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน สามารถเร่งการหายของบาดแผลไหม้ที่มีความหนาบางส่วน โดยไม่ก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง จึงอาจเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการรักษาแผลไหม้ที่มีความหนาบางส่วนต่อไป | en |
dc.description.abstractalternative | The primary purpose of this study was to investigate the effect of Epidermal Growth Factor (EGF) plus silver sulfadiazine (SSD) cream for treatment of burn wound. The research study focused in the 34 patients who have partial thickness burn wounds and admitted at Burn Unit, Siriraj hospital during December 2011 to April 2012. All patients were randomly divided into 2 groups receiving the topical treatment either 6% EGF plus 1% SSD cream group (study group) or 1% silver zinc sulfadiazine cream (control group). The study end point was the time of completely wound closure. Area of wound measurement and wound dressing was done every day. Percentage of epithelialization, pain and itching score, pain and itch medication used and chemistry laboratory results were evaluated every week until completely wound closure by epithelialization. The demographic data of both groups was similar with regards to sex, age, weight, social history, vital sign and wound characteristics (p > 0.05). From this study, we found that the study group had significantly shorter healing time than of the control group. The study group also had higher percentage of epithelialization at every time points (p < 0.05). However, there was no significant difference in percentage of wound contraction between both groups (p > 0.05). Pain score and doses of pain-relieved medication used (paracetamol and morphine) in study group was significantly lower than in the control group. There was no difference in itching evaluation and itch-relieved medication used and blood chemistry parameters (p > 0.05). The cost of treatment was similar in both groups even length of stay in study group was less compared to control group. We concluded that the topical EGF plus silver sulfadiazine enhances wound healing in partial thickness burn wounds by reduced time of wound closure without any serious side effects. EGF application may be a new option for burn wound care in the future. | en |
dc.format.extent | 4147560 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.957 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | แผลไหม้ | en |
dc.subject | ซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน | en |
dc.subject | สารกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนัง | en |
dc.subject | Burns and scalds | en |
dc.subject | Silver sulfadiazine | en |
dc.subject | Epidermal growth factor | en |
dc.title | ผลของครีมที่มีสารกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนังร่วมกับซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน เปรียบเทียบกับครีมซิลเวอร์ซิงค์ซัลฟาไดอาซีนต่อการเร่งการหายของบาดแผลไฟไหม้ที่มีความหนาบางส่วน | en |
dc.title.alternative | The effect of cream containing epidermal growth factor plus silver sulfadiazine compared with silver zinc sulfadiazine cream on acceleration of healing in partial thickness burn wound | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เภสัชกรรมคลินิก | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Pornanong.A@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.957 | - |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nantaporn_na.pdf | 4.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.